moo2010 โพสต์ 2012-7-11 12:29:12

พระประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย moo2010 เมื่อ 2012-7-11 12:30

สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา




http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/d/d4/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%9E_%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5.jpg/220px-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%9E_%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5.jpg
พระอิสริยยศพระวรราชชายา
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
ข้อมูลส่วนพระองค์
ประสูติ10 มิถุนายน พ.ศ. 2445
บ้านปากคลองด่าน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ไทย
สิ้นพระชนม์30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518
โรงพยาบาลศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ไทย
พระบิดาเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล)
พระมารดาท่านผู้หญิงสุธรรมมนตรี (กิมไล้ สุจริตกุล)
พระราชสวามีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(พ.ศ. 2464 - 2468)


พันโทหญิง สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา (10 มิถุนายน พ.ศ. 2445 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518) พระวรราชชายาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิม คือ ประไพ สุจริตกุล เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) กับท่านผู้หญิงสุธรรมมนตรี (กิมไล้ สุจริตกุล) เข้ารับราชการฝ่ายในในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศสูงสุดที่ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้ออกการออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาแทน พระองค์สิ้นพระชนม์ ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 สิริพระชนมายุได้ 73 พรรษา

เนื้อหา [ซ่อน]

[*]1 พระประวัติ
[*]2 เข้ารับราชการฝ่ายใน
[*]3 ลดพระอิสริยยศ
[*]4 สิ้นพระชนม์
[*]5 พระกรุณาธิคุณ
[*]6 พระเกียรติยศ

[*]6.1 พระอิสริยยศ
[*]6.2 พระยศทางทหาร
[*]6.3 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[*]7 สถานที่อันเนื่องด้วยพระนามาภิไธย



[แก้] พระประวัติสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ทรงถือกำเนิดเป็นสามัญชน ชื่อว่า ประไพ สุจริตกุล ที่บ้านคลองด่าน ปากน้ำภาษีเจริญ ซึ่งเป็นบ้านของเจ้าคุณปู่คือ พระยาราชภักดี (โค สุจริตกุล) ซึ่งพระยาราชภักดีนี้เป็นน้องชายแท้ๆของ เจ้าจอมมารดาเปี่ยมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าในราชวงศ์จักรีเมื่อถึงอนิจกรรมไปแล้วขึ้นเป็น สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา เนื่องจากทรงเป็นพระชนนีในสมเด็จพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึง 3 พระองค์ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น สมเด็จพระปิยมาวดีฯ ก็ทรงอยู่ในฐานะ พระอัยยิกาเจ้า ดังนั้น พระยาราชภักดีผู้เป็นน้องชายแท้ ๆ รวมทั้งบุตรหลานจึงมีความเกี่ยวข้องกับพระบรมราชจักรีวงศ์ในฐานะราชินิกุลที่ใกล้ชิดอย่างยิ่ง
ประไพ สุจริตกุลเป็นธิดาคนที่ 5 ของ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) กับท่านผู้หญิงสุธรรมมนตรี (กิมไล้ สุจริตกุล) เป็นน้องสาวของพระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) ซึ่งพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกท่านหนึ่ง และเป็นน้องสาวของท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมนเทียร (พัว สุจริตกุล มารดานายแก้วขวัญ-ขวัญแก้ว วัชโรทัย) ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนราชินี เมื่อ พ.ศ. 2454 เจ้าพระยาสุธรรมมนตรีได้นำเข้าเฝ้าถวายตัวต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
[แก้] เข้ารับราชการฝ่ายในhttp://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/b/be/Princessconsortofkingramasixth.jpghttp://bits.wikimedia.org/static-1.20wmf6/skins/common/images/magnify-clip.png
สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ทรงฉลองพระองค์ด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์


คุณประไพ ได้รับราชการฝ่ายในในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอภิเษกสมรส และโปรดเกล้าฯให้ท่านดำรงตำแหน่งพระสนมเอก มีราชทินนามว่า พระอินทราณี (ซึ่งเป็นนามเรียกใหม่ในสมัยนั้น เพราะในรัชกาลก่อนๆมา พระสนมจะมีคำเรียกนำหน้านามว่า เจ้าจอม เท่านั้น ถ้ามีพระราชบุตรถึงจะได้เป็น เจ้าจอมมารดา ในกรณีพิเศษจริงๆ ก็จะได้รับสถาปนาขึ้นเป็น เจ้าคุณจอมมารดา การที่ทรงพระราชทานยศชั้น"พระ"แก่พระสนมครั้งนี้จึงเป็นของใหม่ในเวลานั้นอย่างยิ่ง) พระราชพิธีอภิเษกสมรสมีขึ้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2464 ทรงโปรดฯ ให้คุณท้าวภัณฑสารานุรักษ์ หัวหน้าคลังฝ่ายในนำเงินไปพระราชทานตามพระราชประเพณีเป็นเงิน 4,000 บาท โดยพระนาม อินทราณี เป็นพระนามหนึ่งของพระชายาของพระอินทร์
จากนั้นในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2465 ทรงสถาปนาให้ประไพ สุจริตกุล ขึ้นดำรงพระยศเจ้านายตำแหน่งมเหสีพระองค์หนึ่ง มีพระนามเรียกขานกันว่า พระวรราชชายาเธอ พระอินทรศักดิศจี พร้อมกับพระราชทานตราปฐมจุลจอมเกล้าอันเป็นตราชั้นสูงสุดสำหรับฝ่ายในแก่พระวรราชชายาเธอในโอกาสด้วย โดยพระนามอินทรศักดิศจี มีความหมายว่า "พระนางศจีผู้เป็นพระชายาของพระอินทร์"
ในเวลาต่อมา พระวรราชชายาเธอ พระอินทรศักดิศจี ทรงพระครรภ์ จึงเป็นสาเหตุให้ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี ตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสี เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2465 มีพระบรมราชโองการว่า
"พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระวรราชชายาเธอ พระอินทรศักดิ์ศจี ได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณมาโดยซื่อสัตย์กตเวที มีความจงรักภักดีในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ทรงตระหนักในพระราชหฤทัยว่า จะทรงสถาปนายกย่องขึ้นให้มีพระอิสริยยศสูงในตำแหน่งพระราชินีก็ควรแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศ พระวรราชชายาเธอ พระอินทรศักดิศจี ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี"
[แก้] ลดพระอิสริยยศhttp://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/d/d3/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87.gif/220px-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87.gif.jpeghttp://bits.wikimedia.org/static-1.20wmf6/skins/common/images/magnify-clip.png
พระสุจริตสุดา (ซ้าย), สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา (กลาง) และท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมนเทียร (ขวา) ในปี พ.ศ. 2517


สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี มิได้ทรงพระครรภ์จนครบกำหนดประสูติ แต่ได้ทรงตก(แท้ง)เสียก่อนที่จะประสูติถึง 2 ครั้ง (บางตำรากล่าวว่า 3 ครั้ง) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการว่าด้วยการออกพระนาม โดยโปรดให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาแทน เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2468 และโปรดฯ ให้เสด็จไปประทับยังพระที่นั่งวิมานเมฆ ภายในพระราชวังดุสิต
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ดำรงตำแหน่งสภานายิกา ของโรงพยาบาลที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและพระราชทานนามว่า วชิรพยาบาล
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. 2468 สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี ทรงย้ายไปประทับยังพระตำหนักสวนนกไม้ ในพระราชวังดุสิต ต่อมาจึงทรงย้ายไปประทับที่วังคลองภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรีซึ่งเป็นบ้านของท่านเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี พระบิดานั่นเอง เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาเสด็จมาประทับเป็นการถาวรแล้ว พระบิดาจึงกั้นบริเวณที่ดินว่างเปล่าด้านหลังของบ้านซึ่งเป็นที่กว้างขวาง ให้เป็นที่ประทับกับให้สร้างพระตำหนักสไตล์ยุโรปงดงาม เป็นพระตำหนักที่ประทับ โดยมีทางเชื่อมต่อกับตึกใหญ่ของท่านเจ้าพระยาสุธรรมมนตรีและท่านผู้หญิงสุธรรมมนตรีอีกด้วย สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาได้ประทับอยู่ ณ วังภาษีเจริญนี้มาโดยตลอดท่ามกลางพระประยูรญาติอย่างอบอุ่นต่อมาอีกกว่า 40 ปี
สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาตลอดพระชนมชีพ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2505 พระชนมายุครบ 5 รอบ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เฝ้าพระราชทานน้ำพระมหาสังข์และทรงเจิม เมื่อพระชนมายุครบ 6 รอบ ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ในการบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชนมายุ ณ อุโบสถวัดราชาธิวาส และโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ ทรงเจิมและรับพระราชทานน้ำพระมหาสังข์ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
[แก้] สิ้นพระชนม์สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา สิ้นพระชนม์ด้วยโรคพระหทัยวายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 เวลา 07.55 นาฬิกา สิริพระชนมายุ 73 พรรษา ณ โรงพยาบาลศิริราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทานพระโกศกุดั่นน้อย (ต่อมาทรงเลื่อนเป็นพระโกศทองน้อย) ฉัตรตาดทอง 5 ชั้นกางกั้นเหนือพระโกศพระศพ ประดิษฐานเหนือชั้นแว่นฟ้าลายสลัก ณ ศาลาสหทัยสมาคมในพระบรมมหาราชวัง มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมทั้งกลางวัน กลางคืน รับพระราชทานฉันเช้าวันละ 8 รูป ฉันเพลวันละ 4 รูป และไว้ทุกข์ในพระราชสำนักกำหนด 15 วัน เมื่อถึงวาระการบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน 50 วัน และ 100 วัน ก็เสด็จพระราชดำเนินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลด้วยพระองค์เอง (7 วัน) และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ (50 วัน) และ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เสด็จแทนพระองค์ (100 วัน) เมื่อถึงวาระพระราชทานเพลิงพระศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
[แก้] พระกรุณาธิคุณสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ทรงได้รับพระราชทานพระราชมรดกบางส่วนจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่บ้านยาง ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม และพระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงพระราชทานพระตำหนักและที่ดินส่วนพระองค์สร้างเป็นโรงเรียนเพื่อให้กุลบุตร กุลธิดาชาวกำแพงแสนและประชาชนที่ต้องการให้บุตรหลานได้ศึกษาเล่าเรียน พร้อมยังพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนการศึกษา และที่ดินบางส่วนสร้างหน่วยงานราชการต่างๆในบริเวณใกล้เคียง
ชาวอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ทราบซึ้งในพระกรุณาธิคุณ และได้ร่วมกันขอพระราชานุญาตสร้าง พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาฯ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระองค์ และได้กำหนดให้วันที่ 30 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น วันสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา อีกด้วย
[แก้] พระเกียรติยศhttp://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/6/66/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%B5.gif/120px-%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%B5.gif.jpeghttp://bits.wikimedia.org/static-1.20wmf6/skins/common/images/magnify-clip.png
ตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์


[แก้] พระอิสริยยศ
[*]ประไพ สุจริตกุล (10 มิถุนายน พ.ศ. 2445 - 12 มกราคม พ.ศ. 2464)
[*]พระอินทราณี (12 มกราคม พ.ศ. 2464 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2464)
[*]พระวรราชชายาเธอ พระอินทรศักดิศจี (10 มิถุนายน พ.ศ. 2464 - 1 มกราคม พ.ศ. 2465)
[*]สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี (1 มกราคม พ.ศ. 2465 - 15 กันยายน พ.ศ. 2468)
[*]สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา (15 กันยายน พ.ศ. 2468 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518)
[แก้] พระยศทางทหาร
[*]สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาทรงได้รับพระราชทานยศพันโท (พ.ศ. 2465)
[*]ผู้บังคับการพิเศษกองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และกรมทหารบราบที่ 11 รักษาพระองค์
[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้

[*]http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/d/d4/Order_of_the_Royal_House_of_Chakri_%28Thailand%29_ribbon.JPG/80px-Order_of_the_Royal_House_of_Chakri_%28Thailand%29_ribbon.JPG เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ฝ่ายใน)
[*]http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/2/2f/Order_of_the_Nine_Gems.JPG/80px-Order_of_the_Nine_Gems.JPG เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (ฝ่ายใน)
[*]http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/55/Ratana_Varabhorn_Order_of_Merit_ribbon.png/80px-Ratana_Varabhorn_Order_of_Merit_ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ฝ่ายใน)
[*]http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4e/Order_of_Chula_Chom_Klao_-_1st_Class_%28Thailand%29_ribbon.png/80px-Order_of_Chula_Chom_Klao_-_1st_Class_%28Thailand%29_ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าปฐมจุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน)
[*]http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e5/Order_of_the_Crown_of_Thailand_-_Special_Class_%28Thailand%29_ribbon.png/80px-Order_of_the_Crown_of_Thailand_-_Special_Class_%28Thailand%29_ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ
[*]http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/99/King_Rama_VI_Royal_Cypher_Medal_%28Thailand%29_ribbon.png/80px-King_Rama_VI_Royal_Cypher_Medal_%28Thailand%29_ribbon.png เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1
[*]http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/60/King_Rama_VII_Royal_Cypher_Medal_%28Thailand%29_ribbon.png/80px-King_Rama_VII_Royal_Cypher_Medal_%28Thailand%29_ribbon.png เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 2
[แก้] สถานที่อันเนื่องด้วยพระนามาภิไธย
[*]วันสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา วันที่ 30 พฤศจิกายนของทุกปี
[*]พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
[*]มูลนิธิสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
[*]โรงเรียนอินทรศักดิ์ศึกษาลัย (บ้านยาง) ตำบลทุ่งกระพังโหม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม


หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: พระประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี