guygoldy โพสต์ 2012-7-31 00:56:42

ID:guygoldy
เวลา:0.๓๓
วันที่:๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕
ความรู้:ระดับการใช้ภาษา
   ภาษาระดับแบ่งการใช้เป็น๕ระดับ ดังนี้
๑.ภาษาระดับพิธีการ
   ใช้สื่อสารในที่ประชุม ที่จัดเป็นพิธีการ ผู้ส่งสารมักเป็นบุคคลสำคัญ เช่น พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นสูง ส่วนผู้รับสารเป็นชนกลุ่มใหญ่ เช่น ผู้ฟังบรรยายการประชุม หรือประชาชน คำพวกนี้มักใช้ในพระราชพิธีต่างๆอีกด้วย
๒.ภาษาระดับมาตรฐานราชการ(ทางการ)
   ใช้บรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุมซึ่งต่อจากช่วงพิธีการ มักใช้ในการคุยทางราชการหรือวงการธุรกิจ ภาษาระดับนี้มุ่งให้ได้จุดประสงค์โดยเร็ว   
๓.ภาษาระดับกึ่งทางการ
   คล้ายกับภาษาระดับที่๒ แต่ลดความเป็นการเป็นงานลงบ้าง มักใช้ในการประชุมที่เล็กกว่าการประชุมที่ใช้ภาษาระดับทางการ เช่น การประชุมย่อย การบรรยายในห้องเรียน ใช้ภาษาที่คุ้นเคยกว่าภาษาระดับที่2
๔.ภาษาระดับสนทนา(ไม่เป็นทางการ)
   ใช้สนทนาระหว่างบุคคลไม่เกิน๔-๕คน ในสถานที่และโอกาสที่ไม่ใช่เป็นการส่วนตัว เช่น การเขียนจดหมายระหว่างเพืท่อน การรายงานข่าว ภาษาที่ใช้อาจมีถ้อยคำที่ใช้ในเฉพาะกลุ่ม
๕.ภาษาระดับกันเอง(ภาษาปาก)
   ใช้ในวงจำกัดที่เป็นการส่วนตัว เช่น ภายในเพื่อนหรือครอบครัว ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อควรคำนึงในการใช้    
   ๑.ฐานะทางสังคม
   ๒.กาลเทศะ หมายถึง เวลา โอกาส สถานที่
   ๓.เนื้อเรื่อง หมายถึง สารที่ต้องการพูดหรือเขียน
   ๔.วิธีการสื่อสาร ในกรณีการเขียนจะมีลักษณะปกปิด และเปิดเผย ลักษณะการปกปิดจะขึ้นอยู่กับฐานะทางสังคม กาลเทศะ และเนื้อหาของผู้ส่งสารกับผู้รับสาร

thefriday โพสต์ 2012-7-31 01:43:00

ชื่อผู้ใช้ : Thefriday
เวลา : ๐๑.๔๐ น.
วันที่ : ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕
ความรู้ : เรื่อง พยัญชนะท้ายในภาษาไทย
             อักษรไทยมีทั้งหมด ๔๔ ตัว แต่มีเพียง ๓๕ ตัว เท่านั้นที่สามารถนำมาใช้เป็นพยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) ได้
             ไม่นับ ข.ขวด กับ ค.คน (หาตัวอักษรบนแป้นพิมพ์ไม่เจออะครับ TT) เพราะปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว
             และมีพยัญชนะอีก ๗ ตัว ที่ไม่สามารถใช้เป็นตัวสะกดได้ หากเรียงตามลำดับอักษร ได้แก่ ฉฌผฝหอและ ฮ
             ซึ่งพยัญชนะทั้ง ๗ ตัวนี้ หากจะให้จดจำกันได้ง่ายๆ มีสูตรในการท่องอยู่ว่า
            
             ผีฝากเฌอเอมให้ฉันฮ่ะ

             เพียงเท่านี้ก็ง่ายแก่การจดจำแล้วครับ
             ในฐานะเจ้าของภาษา เวลาใครถามเราก็จะได้ตอบได้ถูก ว่าตัวอักษรใดบ้างที่ไม่สามารถนำมาเป็นตัวสะกดได้
             ถึงแม้จะเป็นเพียงเกร็ดเล็กๆน้อยๆ แต่หากเรารู้ไว้ก็ไม่เสียหายนะครับ
             เพราะถึงอย่างไร เราก็เป็นคนไทย ที่มีภาษาไทยเป็นภาษาแม่ และภาษาประจำชาติจริงไหมครับ : ))


thefriday โพสต์ 2012-7-31 02:49:59

ชื่อผู้ใช้ : Thefriday
เวลา : ๐๒.๓๐ น.
วันที่ : ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕
ความรู้ : เรื่อง ควบกล้ำอย่างไรเป็นไทยแท้
             เคยสังเกตกันไหมครับว่า คำควบกล้ำที่เราใช้กันในภาษาไทยทุกวันนี้ มีทั้งที่เป็นคำควบกล้ำไทยแท้
             และคำควบกล้ำที่มาจากภาษาอื่นเราจะแยกแยะได้อย่างไรครับว่า คำควบควบกล้ำใดบ้างที่เป็นคำไทยแท้
             มีวิธีสังเกตง่ายๆครับ คือ มักเป็นคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะต่อไปนี้ คือ   กคตปและพ
             โดยสูตรในการจำ คือ นำอักษรทั้ง ๕ ตัวมาเรียงใหม่ จะได้เป็น ตพปกค (ท่องจำว่า ตะพาบไปกินคน)

             คำที่เป็นคำควบกล้ำไทยแท้นั้น จะเกิดจาก ตพปกคx (คูณด้วย)ร ล ว
             ๕ ตัวอักษร x ๓ ตัวควบก็น่าจะได้เป็น ๑๕ ใช่ไหมครับ แต่ที่จริงแล้วจะได้ เพียง ๑๑ ตัว โดยจำแนกได้ดังนี้

                   ต       พ      ป      ก      ค      
             ร    ตร      พร       ปร       กร       คร
               ล   -       พล      ปล       กล      คล
               ว     -      -          -         กว      คว

             พอจะเข้าใจกันหรือเปล่าครับส่วนนอกเหนือจากตัวควบกล้ำ ๑๑ ตัวข้างต้นนั้น ก็จะเป็นคำควบกล้ำที่มาจากภาษาอื่นครับ

             ลองมาทดสอบกันดูนะครับ
             ตรอกพระปรุงกรุงใครพลาดแปลกเกลื่อนคลองแกว่งควาย ... คำเหล่านี้ ล้วนอยู่ในสูตรตัวควบทั้ง ๑๑ ตัว
             จึงถือเป็นคำควบกล้ำไทยแท้

             ขวานขลาดเขลาขรุยเผลอไผลผลีผลาม   ฟลุ๊ค ... เหล่านี้ ไม่ได้อยู่ใน สูตรตัวควบ ๑๑ ตัว จึงไม่ใช่คำควบกล้ำไทยแท้

             ** ปล.ถึงแม้บางคำจะอยู่ใน ๑๑ ตัวควบ แต่ก็อาจเป็นข้อยกเว้น ที่ไม่ใช่คำควบกล้ำไทยแท้ก็ได้
               โดยมากมักเป็นคำทับศัพท์ ซึ่งเราก็น่าจะรู้กันอยู่แล้วครับ เช่น คลินิกควีนปริ๊นท์เป็นต้น


            

            

tistkung09 โพสต์ 2012-7-31 07:14:00

ชื่อผู้ใช้ : tistkung09
เวลา : ๐๗ใ๑๓ น.
วันที่ : ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕
ความรู้ : ไม้ม้วน

ไม้ม้วนมีปรากฏในภาษาเขียนของไทย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในศิลาจารึกหลักที่หนึ่ง ของพ่อขุนรามคำแหง ในคำว่า ใคร ใคร่ ใด ใส ใหญ่ ใน ให้ ใช้ ใต้ ใศ่ ใว้ เป็นต้น เสียงสระของไม้ม้วนเดิมเป็นเสียงสระผสม อะ+อึ ซึ่งหายไปจากภาษามาตรฐาน แต่ก็ยังมีร่องรอยให้เห็นในภาษาไทยถิ่นและภาษาไทกลุ่มต่าง ๆ นอกประเทศไทย ภาษาไทยปัจจุบันออกเสียง อะ+ย เหมือนไม้มลาย (ไ) นอกจากภาษาไทยมาตรฐานแล้วยังมีภาษาไทกลุ่มอื่นเช่น ภาษาลาว และภาษาไทใหญ่ ที่ปรากฏไม้ม้วนในภาษาเขียน

บทกลอน (กาพย์ยานี) ที่สอนการใช้ไม้ม้วน ที่รู้จักกันดีจนปัจจุบัน ดังนี้
ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่        ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ        มิหลงใหลใครขอดู
จักใคร่ลงเรือใบ        ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้        มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว        หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง        ยี่สิบม้วนจำจงดี
หน้า: 1 [2]
ดูในรูปแบบกติ: วันภาษาไทย