sand โพสต์ 2012-11-13 09:32:27

ผลไม้รักษาโรคหัวใจ (S-1223)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย sand เมื่อ 2012-11-13 14:56

{:5_119:}ผลไม้รักษาโรคหัวใจ (S-1223){:5_119:}


(เรื่องอย่างนี้ก็มีด้วย)









**** Hidden Message *****



dgb โพสต์ 2012-11-13 11:37:08

ขอบคุณมากครับ

antarctica โพสต์ 2012-11-13 12:18:26

ขอบคุณครับ

GunGuy โพสต์ 2012-11-13 13:36:05


อะไรยังไง.. ขออ่านหน่อยนะครับขอบคุณครับ

athit โพสต์ 2012-12-25 15:11:21

{:5_137:}กินผลไม้มีประโยชน์หลายอย่างครับแต่ที่มีการแนะนำให้กินผลไม้ขณะท้องว่างจะดีที่สุด
ซึ่งหลายต่อหลายตำราก็แนะนำต่างกันไปผลไม้เราต้องเลือกกินให้ถูกเรียนรู้จักสิ่งที่เราจะกินให้ดี
เช่นสัปรดมีกรดสูงคนส่วนใหญ่ใช้กินลดน้ำหนักแต่กินมากกรดกัดกระเพาะเป็นแผลอีก วิธีลดกรม
ของผลไม้นี้ง่าย ๆ กินกับเกลือหวานอมเปรี้ยวและเค็มนิด ๆหลายคนส่วนใหญ่คนขายผลไม้จะเอา
ไปแช่น้ำเกลือจริงแล้วมันช่วยลดกรดในตัวสัปรดไม่ให้กัดกระเพาะอันบอบบางของเรา   
การที่กินผลไม้ก่อนอาหารหรือท้องว่างเพราะว่าอาหารที่เรากินเข้าไปกว่าจะย่อยในกระเพาะอาหาร
มันต้องใช้เวลานานเรานึกดูว่าผลไม้เราปล่อยทิ้งไว้ธรรมดาไม่นานมันก็จะเสียแล้วร่างกายเรามี
อุณหภูมิตั้ง 37 องศาทำผลไม้จะเน่าเสียเร็วกว่าปกติทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร

รู้จักกินเรียนรู้ซักนิดจะได้รับประโยชน์จากสิ่งที่เราใช้อย่างเต็มที่{:5_135:}

sand โพสต์ 2012-12-25 18:51:13

โปรโมชั่นพิเศษดูฟรีปีใหม่ครับผม http://www.g4guys.com/thread-54499-1-1.html

nokky โพสต์ 2012-12-31 17:50:16

โรคหัวใจ เป็นอีกโรคหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับเรื่องอาหารการกินค่อนข้างมาก ถ้าในแต่ละมื้อประกอบด้วยอาหารจาก 8 กลุ่มต่อไปนี้ ก็จะเป็นการช่วยป้องกันโรคหัวใจได้อีกทางหนึ่ง

         1.ปลาทะเล หรือปลาน้ำจืด ที่มีไขมัน (Oily Fish) เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาช่อน ปลาดุก จะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 (EPA และDHA) อยู่มาก ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และลดความเสี่ยงจากการอุดตันของหลอดเลือด

         2.ใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว ประกอบอาหารแทนน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง อย่างน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ก็จะช่วยลดคอเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL-C) ลงได้ โดยที่ไม่ลดคอเลสเตอรอลตัวดี (HDL-C)

         3.ผัก ผลไม้หลากสี จะให้สารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก ช่วยป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นของ LDL-C ที่จะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้น จนเป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจตีบได้

         4.ไฟเบอร์ที่ได้จากธัญพืชที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี รวมทั้งซีเรียลจากธัญพืชต่าง ๆ และขนมปังโฮลวีท จะช่วยให้หัวใจแข็งแรง และป้องกันความเสี่ยงจากโรคหัวใจวายได้มากกว่าไฟเบอร์จากผักผลไม้

         5.ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วลิสง อัลมอนด์ วอลนัท นอกจากมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวค่อนข้างสูงที่ช่วยลด LDL-C แล้ว ยังมีกรดอะมิโนอาร์จินีนสูง ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของหลอดเลือด และช่วยลดความดันเลือด

         6.วิตามินอีจากอาหารธรรมชาติ จะทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินอีในรูปอาหารเสริมช่วยป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นของ LDL-C จึงช่วยลดความเสี่ยงของการอุดตันในผนังหลอดเลือดแดง อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี ได้แก่ อโวคาโด ผักสีเขียวแก่ ธัญพืชไม่ขัดสี และน้ำมันพืช โดยเฉพาะน้ำมันรำข้าว มีวิตามินอีถึง 2 กลุ่ม คือ โทโคฟีรอลและโทโคไตรอีนอล

         7.สมุนไพรและเครื่องเทศ เช่น กระเทียมสด จะมีสารอัลลิซิน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และสารแคปไซซินในพริก จะช่วยชะลอการเกาะตัวของลิ่มเลือด และเพิ่มการละลายลิ่มเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย

         8.อาหารที่มี Plant Sterols หรือ Phytosterols สูง ได้แก่ ธัญพืชและถั่วต่าง ๆ เช่น งา จมูกข้าว เมล็ดทานตะวัน ถั่วพิสตาชิโอ รวมทั้งน้ำมันพืชบางชนิดอย่างน้ำมันรำข้าว ปริมาณเพียง 1 ช้อนโต๊ะจะมี Phytosterols สูงถึง 250 มิลลิกรัม ซึ่ง Phytosterols จะช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้เล็ก ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลรวมและ LDL-C ลดลง
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ผลไม้รักษาโรคหัวใจ (S-1223)