pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:54:55
น้ำตกธารารักษ์หรือน้ำตกเจดีย์โคะ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ชั้นเดียว มีน้ำตลอดปี หน้าผาสูง 30 เมตร ข้างบนเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ อยู่ใกล้ตัวอำเภอพบพระ จ.ตากบนเส้นทาง 1206
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:53:54
น้ำตกสายฟ้าและน้ำตกสายรุ้ง เป็นน้ำตกที่มีน้ำตลอดปีอีกแห่งหนึ่ง มีละอองน้ำกระทบแสงแดดเหมือนรุ้งกินน้ำ
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:53:21
บ่อน้ำร้อนห้วยน้ำนัก เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติ มีอุณหภูมิประมาณ 60 องศาเซลเซียส เดินทางได้จากทางหลวงหมายเลข 1206 สายพบพระ-บ้านช่องแคบ
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:52:56
อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ เป็นอุทยานแห่งชาติในอำเภอพบพระ จังหวัดตาก เป็นอุทยานแห่งชาติที่ครอบคลุมพื้นที่กว้าง จุดท่องเที่ยวแต่ละแห่งอยู่ห่างกันพอสมควร โดยอยู่ถนนเส้นทางหลัก สาย 1090 อุ้มผาง-พบพระ และสาย 1206 แม่สอด-พบพระ
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:51:15
น้ำตกเซเซด (ภาษาลาว: ນ້ຳຕົກເຊເຊດ) ตั้งอยู่ในเขตบ้านแบ่ง ห่างจากตัวเมืองมาทางทิศใต้ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางจากสถานีขนส่งแขวงสาละวันโดยรถยนต์ได้ เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงของแขวงสาละวัน สูงประมาณ 5 เมตร เป็นต้นน้ำของแม่น้ำเซเซดที่เป็นสาขาของแม่น้ำเซโดน
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:50:50
น้ำตกตาดเลาะ (ภาษาลาว: ນ້ຳຕົກຕາດເລາະ) อยู่ห่างจากเมืองสาละวันทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 28 กิโลเมตร เกิดจากการไหลของแม่น้ำเซเซดลงสู่ด้านล่าง เป็นน้ำตกที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในลาวและจำหน่ายให้ประเทศไทย ตัวน้ำตกสูง 10 เมตร มีน้ำตกที่อยู่ด้านบนของน้ำตกตาดเลาะคือน้ำตกจาดลัง มีรีสอร์ทสำหรับให้บริการนักท่องเที่ยว
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:50:26
น้ำตกตาดชะเนาะ (ลาว: ນ້ຳຕົກຕາດຊະເນາະ) เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในแขวงเวียงจันทน์ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลหินเหิบไปตามถนนหมายเลข 13 ทางเหนือ 20 กิโลเมตร ทางเข้าเป็นถนนดินลูกรัง ตัวน้ำตกตกจากหน้าผาสูง 80 เมตร มี 3 ชั้น บริเวณรอบข้างเป็นป่าที่ยังอุดมสมบูรณ์ ชาวลาวนิยมไปเที่ยวในช่วงวันหยุดและงานบุญสำคัญ
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:49:49
น้ำตกคอนพะเพ็ง (อังกฤษ: Khone Phapheng Falls; ลาว: ນ້ຳຕົກຕາດຄອນພະເພັງ) เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในภูมิภาคอินโดจีน น้ำตกคอนพะเพ็งเป็นน้ำตกที่มีหลายชั้น ตั้งอยู่บนแก่งหินขนาดใหญ่ขวางกั้นเส้นทางการไหลของแม่น้ำโขงทั้งสาย มีลักษณะต่างระดับกันสูงประมาณ 10 เมตร จัดเป็นน้ำตกที่ได้รับน้ำจากแม่น้ำโขงตอนล่าง
น้ำตกคอนพะเพ็งมีความสูง 21 เมตร (69 ฟุต) กระแสน้ำไหลเชี่ยว 9.7 กิโลเมตร (6.0 ไมล์) ปริมาณน้ำตกลงมาด้วยความเร็วประมาณ 11,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที (390,000 ลูกบาศก์ฟุต/วินาที) แม้ว่าปริมาณสูงสุดในบันทึกได้ถึงกว่า 49,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที (1,700,000 ลูกบาศก์ฟุต/วินาที)
น้ำตกคอนพะเพ็ง ได้รับฉายาว่า "ไนแองการาแห่งเอเชีย" ตั้งอยู่้ในแขวงจำปาสัก ประเทศลาว ห่างจากเมืองปากเซประมาณ 150 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อและสวยงามมากแห่งหนึ่งของประเทศลาว
โดยคำว่า "คอน" หมายถึง "แก่ง" หรือ "เกาะ" "พะเพ็ง" หมายถึง "พระจันทร์วันเพ็ญ"
นอกจากนี้แล้ว น้ำตกคอนพะเพ็งยังเป็นสถานที่อาศัยของสัตว์น้ำหายากหลายชนิด เ่ช่น ปลาค้อคอนพะเพ็ง ที่เป็นปลาค้อเฉพาะถิ่นที่พบได้ในแถบนี้เท่านั้น และเป็นแหล่้งอาศัยของโลมาหัวบาตร หรือ "ปลาข่า" (ປາຂ່າ) ในภาษาลาว โลมาเพียงไม่กี่ชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดได้ของโลก รวมถึงเป็นแหล่งกำเนิดของปลาบึก ซึ่งเป็นปลาหนังน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย เป็นต้น
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:47:22
น้ำตกไกย์เอตูร์ (อังกฤษ: Kaieteur falls) เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ เป็นน้ำตกของแม่น้ำโปตาโร ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติไกย์เอตูร์ ในเขตประเทศกายอานา
น้ำตกไกย์เอตูร์ เป็นน้ำตกชั้นเดียว มีความสูงถึง 741 ฟุต (226 เมตร) สูงกว่าน้ำตกไนแองการาถึง 4 เท่า และสูงกว่าน้ำตกวิกตอเรีย 2 เท่า น้ำตกไกย์เอตูร์เป็นน้ำตกที่มีการค้นพบหลังจากชาวตะวันตกได้เข้ามายึดครองอเมริกาใต้นานถึง 350 ปี
ปริมาณน้ำตกลงมาด้วยความเร็วประมาณ 663 คิวบิคเมตรต่อวินาที (23,400 คิวบิคฟุตต่อวินาที)
คำว่า "ไกย์เอตูร์" มีความหมายว่า "น้ำตกชายชรา"
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:46:43
น้ำตกวิกตอเรีย (อังกฤษ: Victoria Falls) หรือโมซิ-โอวา-ทุนยา (Mosi-oa-Tunya; ควันที่ส่งเสียงร้องคำราม)ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของประเทศแซมเบีย และ ประเทศซิมบับเว เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ถูกค้นพบครั้งแรกโดย ดร.เดวิด ลิฟวิงสโตน ในปี ค.ศ. 1855 ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อน้ำตกนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชินีวิกตอเรีย
น้ำตกวิกตอเรียเกิดจากแม่น้ำซัมเบซีซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดนของสองประเทศ ตกลงมาสู่แอ่งลึก น้ำตกมีขนาดกว้างกว่า 1690 เมตร สูงประมาณ 60-100 เมตร น้ำตกวิกตอเรียสามารถแบ่งเป็น 4 ส่วนย่อย ได้แก่ น้ำตกปีศาจ น้ำตกหลัก น้ำตกสายรุ้ง และน้ำตกตะวันออก ไอน้ำจากน้ำตกวิกตอเรียสามารถมองเห็นได้จากระยะทาง 20 กิโลเมตร
น้ำตกวิกตอเรียได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2532 ปัจจุบันน้ำตกวิกตอเรียเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญของประเทศแซมเบียและประเทศซิมบับเว จึงมีการสร้างโรงแรมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในทั้งสองประเทศ แต่การพัฒนาเหล่านี้ขาดการควบคุมจัดการที่ดีองค์การยูเนสโกจึงเคยพิจารณาจะถอนน้ำตกวิกตอเรียออกจากการเป็นมรดกโลก
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:45:38
ำตกเอนเจล (อังกฤษ: Angel Falls; สเปน: Salto Angel) เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่กลางป่าดงดิบในประเทศเวเนซุเอลา เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในโลก โดยสูงกว่าน้ำตกไนแอการา ถึง 18 เท่า มีความสูงกว่า 979 เมตร ซึ่งผู้ที่จะเข้าชมน้ำตกสามารถเข้าไปโดยทางเรือและเครื่องบินเท่านั้น ซึ่งชื่อน้ำตกมาจากนักบินชาวอเมริกัน จิมมี เอนเจล ผู้ค้บพบน้ำตกเป็นคนแรก เมื่อ ค.ศ. 1935
น้ำตกแห่งนี้มีชื่อเรียกในภาษาเปมอน ภาษาของคนพื้นเมืองเวเนซุเอลาว่า "ปาราคุปา-เวนา" (Parakupa-vena แปลว่า น้ำที่ตกจากจุดที่สูงที่สุด) หรือ "เคเรปาคุปาอิ เมรู" (Kerepakupai merú แปลว่า น้ำตกแห่งสถานที่ที่ลึกที่สุด) หรือ "ชูรุน เมรู" (Churun-meru แปลว่า น้ำตกสายฟ้า) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซแห่งเวเนซุเอลาได้ประกาศเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการของน้ำตกนี้เป็นชื่อพื้นเมืองดั้งเดิม คือ เคเรปาคุปาอิ เมรู โดยให้เหตุผลว่า "น้ำตกนี้เป็นของชาวเวเนซุเอลามานมนานก่อนที่ชาวอเมริกัน จิมมี แองเจิล จะมาพบ" น้ำตกนี้มีลักษณะประหลาดคือ น้ำไม่สามารถตกถึงพื้นได้ เนื่องจากความสูงของน้ำตกสูงมากทำให้กว่าน้ำตกถึงพื้นมันจะกลายเป็นหมอกไปซะก่อน ทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีหมอกหนาปกคลุมตลอดเวลา
เพิ่มเนื้อหา (2013-3-22 16:45):
ขอแก้ไขพอดีคำตกหล่นครับ ชื่อน้ำตกแอนเจิ้ล
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:44:44
น้ำตกอีกวาซู (อังกฤษ: Iguazu Falls; แปลว่า "สายน้ำอันยิ่งใหญ่") เป็นคำมาจากภาษากวารานี (Guarani) ชาวอินเดียนแดงเผ่าดั้งเดิม น้ำตกอีกวาซูตั้งอยู่บริเวณรอยต่อพรมแดนระหว่างประเทศบราซิลกับประเทศอาร์เจนตินา เป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และขึ้นชื่อว่าใหญ่ที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] โดยใหญ่กว่าน้ำตกไนแอการาประมาณ 30 เท่า อย่างไรก็ตามขนาดของน้ำตกใกล้เคียงกับน้ำตกวิกตอเรียในทวีปแอฟริกา
น้ำตกอีกวาซูเกิดจากแม่น้ำอีกวาซูซึ่งไหลมาจากที่ราบสูงปารานา ตกจากขอบที่ราบสูงขนาดใหญ่ลงสู่พื้นที่ราบต่ำกว่า จึงกลายเป็นน้ำตกขนาดใหญ่เป็นแนวยาวกว่า 4 กิโลเมตร สูงกว่า 269 ฟุต ประกอบด้วยน้ำตกน้อยใหญ่อีก 275 แห่ง ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคมปริมาณน้ำมีมากถึงกว่า 13.6 ล้านลิตรต่อวินาที แต่ในช่วงฤดูร้อน คือระหว่างเมษายนถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำจะลดลงเหลือ 2.3 ล้านลิตรต่อวินาที บริเวณรอบ ๆ น้ำตกจะเกิดละอองน้ำอยู่ตลอดเวลาและมีเสียงดังไปไกลกว่า 24 กิโลเมตร บนฝั่งประเทศบราซิลจะมองเห็นน้ำตกได้ทั่วถึงและงดงาม แต่ทางฝั่งประเทศอาร์เจนตินาสามารถเข้าชมน้ำตกได้ใกล้กว่า
เขตอุทยานแห่งชาติ
ประเทศบราซิลและประเทศอาร์เจนตินาต่างประกาศให้บริเวณพื้นที่ป่าริมน้ำตกเป็นเขตอุทยานแห่งชาติของทั้งสองประเทศ เพื่อคุ้มครองรักษาสัตว์ป่าเขตร้อนที่มีอยู่อย่างชุกชุม เช่น นกไทนามัส แมวป่าโอเซล เสือจากัวร์ สมเสร็จ เพ็คคารี และสัตว์นานาชนิดอีกมากมาย
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:44:04
น้ำตกชิระอิโตะ (ญี่ปุ่น: Shiraito Falls 白糸の滝 Shiraito-no-taki ?) เป็นน้ำตกตั้งอยู่ที่เมืองฟุจิโนะมิยะ จังหวัดชิซุโอะกะ ใกล้กับภูเขาไฟฟูจิ เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติฟุจิ-ฮะโกะเนะ-อิซุ และได้รับการอนุรักษ์ในฐานะอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936 น้ำตกชิระอิโตะถือเป็นน้ำตกที่ศักดิ์สิทธิ์ มีศาลเจ้าอะซะมะตั้งอยู่ ในบริเวณใกล้เคียงยังมีน้ำตกโอะโตะโดะเมะซึ่งใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 5 นาที
น้ำตกชิระอิโตะ ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน 1 ใน 100 น้ำตกในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น ในปี 1990
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:43:34
น้ำตกเคะงน (ญี่ปุ่น: 華厳滝 - เคะงน โนะ ทาคิ) ตั้งอยู่ที่ทะเลสาบชูเซ็นจิ (โดยเป็นแหล่งที่มาของแม่น้ำโอชิริ) ในอุทยานแห่งชาตินิกโกใกล้กับเมืองนิกโก จังหวัดโทจิงิ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งน้ำตกก่อตัวเมื่อแม่น้ำไดยะไหลเป็นเส้นจากการไหลของลาวา มีน้ำตกเล็กๆประมาณ 12 สายอยู่ทางด้านหลังและด้านข้างของน้ำตกเคะงน ซึ่งเกิดจากการรั่วไหลผ่านรอยแตกหลายแห่งระหว่างภูเขาและการไหลของลาวา
ที่ความสูงระดับ 97 เมตร ส่งผลให้น้ำตกแห่งนี้เป็นหนึ่งในสามของน้ำตกที่สูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ในฤดูใบไม้ร่วง การจราจรบนถนนจากเมืองนิกโกสู่ทะเลสาบชูเซ็นจิอาจช้าลงเนื่องด้วยผู้เข้าชมต่างมาเพื่อดูสีสันของน้ำตก
ใน ค.ศ. 1927 น้ำตกเคะงนได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งใน "แปดทิวทัศน์" ที่แสดงถึงความเป็นประเทศญี่ปุ่นและวัฒนธรรมในยุคโชวะที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง รวมทั้งได้รับการกล่าวว่าเป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงที่สุดของเมืองนิกโก
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:40:34
น้ำตกไนแอการา อังกฤษ: Niagara Falls ; ฝรั่งเศส: les Chutes du Niagara) เป็นน้ำตกขนาดใหญ่หลายแห่งประกอบกัน ตั้งอยู่บนแม่น้ำไนแอการาทางตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ บนพรมแดนระหว่างประเทศแคนาดากับสหรัฐอเมริกา น้ำตกไนแอการาประกอบด้วยน้ำตกสามแห่งที่แยกออกจากกัน คือ น้ำตกเกือกม้า (Horseshoe Falls บางครั้งก็เรียก น้ำตกแคนาดา) สูง 158 ฟุต, น้ำตกอเมริกาสูง 167 ฟุต, และน้ำตกขนาดเล็กกว่าที่อยู่ติดกัน คือน้ำตก Bridal Veil. แม้น้ำตกไนแอการาจะไม่สูงอย่างโดดเด่น แต่ก็กว้างมาก
น้ำตกไนแองการามีจุดชมวิวที่สวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของทั้ง 2 ประเทศมานานกว่าศตวรรษ
แม่น้ำไนแอการาไหลมาจากทะเลสาบอีรีไหลผ่านน้ำตกไนแอการาลงสู่ทะเลสาบออนตาริโอ เมืองสองฝั่งของน้ำตกในสองประเทศนั้นเป็นเมืองแฝด โดยในฝั่งแคนาดาคือ ไนแอการาฟอลส์ ออนตาริโอ ส่วนในฝั่งสหรัฐอเมริกาคือ ไนแอการาฟอลส์ มลรัฐนิวยอร์ก
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:39:31
น้ำตกหวางกว่อฉู้ น้ำตกหวางกว่อฉู้ (จีน: 黄果树瀑布; อังกฤษ: Huangguoshu Falls) อยู่ในมณฑลกุ้ยโจว เป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน น้ำตกกว้าง 50 เมตร สูงถึง 75 เมตร
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:27:17
น้ำตกทีลอซู
น้ำตกทีลอซู ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ห่างจากที่ทำการเขตฯ 3 กิโลเมตร ทีลอซู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า น้ำตกดำ มีลักษณะเป็นน้ำตกภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อท้อ ลำน้ำทั้งสายตกลงสู่หน้าผาสูงชัน มีน้ำไหลแรงตลอดปี ความกว้างของตัวน้ำตกประมาณ 500 เมตร ไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของเอเชีย[ต้องการอ้างอิง]
ตามความจริงต้องออกเสียงว่า "ทีลอชู" และเป็นคำนามในภาษากะเหรี่ยงแปลว่า "น้ำตก" ชื่อ "ทีลอซู" เป็นความพยายามแปลความหมายทีละคำ โดย "ที" หรือ "ทิ" แปลว่า "น้ำ" "ลอ" หรือ "ล่อ" แปลว่า "ตก" แต่ "ชู" ไม่มีความหมายใกล้เคียง ดังนั้น จึงมีความพยายามทำให้เป็นคำที่มีความหมาย เนื่องจาก "ซู" แปลว่า "ดำ" จึงนำไปสู่การเรียกว่า "ทีลอซู" และแปลว่า "น้ำตกดำ"
ทีลอซู ได้รับคำกล่าวขานถึงว่าเป็นน้ำตกที่สวยงาม และมีความสวยงามเป็นพิเศษในช่วงฤดูฝน ระหว่าง 1 มิ.ย. - 31 พ.ย. ปริมาณน้ำฝนที่มากจะเพิ่มปริมาณน้ำในลำธารทำให้สายน้ำตกกว้างใหญ่กว่าฤดูอื่น แต่เป็นช่วงที่ทางรถเข้าน้ำตกปิด เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้เส้นทางและถนอมสภาพทางไม่ให้เสียหาย นักท่องเที่ยวอาจเลี่ยงใช้เส้นทางนี้ได้ โดยการซื้อทัวร์กับบริษัทนำเที่ยวซึ่งจะเดินทางด้วยเรือยางและเดินป่าอีกราว 12 กม.แต่หากมาท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาว - ฤดูร้อนระหว่าง 1 ธ.ค. - 31 พ.ค. ก็สามารถใช้ทางรถยนต์เข้าน้ำตกได้ จึงเป็นช่วงเวลาที่เที่ยวได้สะดวกที่สุด ไม่ว่าจะเที่ยวแบบไปกลับหรือพักค้างแรม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้น้ำตกทีลอซู เป็นหนึ่งในเก้าตะวัน ตามโครงการมหัศจรรย์เมืองไทย 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน โดยมีจุดเด่นคือ "มหัศจรรย์รุ้งกินน้ำที่น้ำตกทีลอซู"
เนื้อหา
1 ประวัติน้ำตกทีลอซู
2 สิ่งที่น่าสนใจ
3 การเดินทาง
4 สถานที่พัก
5 อ้างอิง
6 แหล่งข้อมูลอื่น
ประวัติน้ำตกทีลอซู
ทีลอซู ได้รับการค้นพบโดยพรานชาวกะเหรี่ยงคนหนึ่งที่เดินเข้ามาล่าสัตว์ ก่อนที่ ตชด.ได้บินเข้ามาสำรวจในพื้นที่และได้พบน้ำตกทีลอชู ต่อมากรมป่าไม้จะประกาศให้บริเวณนี้เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง และหลังจากปี พ.ศ. 2528 ที่ อำเภอ ปรีชา อินทวงศ์ พาบุคลากรของนิตยสารท่องเที่ยวแคมปิง เข้าไปสำรวจน้ำตกทีลอซูและนำไปตีพิมพ์ลงนิตยสารจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนภายนอกรู้จัก
"ทีลอซู" หรือออกเสียงตามภาษาภาษาปะก่าหญอว่า "ที-หล่อ-ชู" ที แปลว่า น้ำ, หล่อ แปลว่า ไหล และ ชู แปลว่า ทิ้มแทง (หล่อ-ชู เป็น กิริยา หมายถึง การไหลลงมาอย่างแรงของน้ำปะทะกับพื้นเบื้องล่าง) ดังนั้นจึงแปลว่าน้ำตก (บางท่านบอกว่าแปลว่า น้ำตกดำ คำว่า "ดำ" ไม่ได้ออกเสียงว่า ซู แต่ออกเสียงคล้ายๆกัน ไม่รู้จะเขียนเป็นอักษรไทยอย่างไร เพราะเสียงนี้ไม่มีในภาษาไทย ต้องออกเสียงให้ฟังนะครับ ถึงจะแยกความแตกต่างได้) น้ำตกนี้ซ่อนอยู่ในหลืบผาอันกว้างใหญ่ สายน้ำเกิดจากห้วยกล้อทอซึ่งมีแดนกำเนิดอยู่บนดอยผะวี แล้วไหลลงแม่น้ำแม่กลองที่ ตำบล แม่ละมุ้ง อำเภอ อุ้มผาง
การค้นพบที่กล่าวถึงเป็นการพบของคนไทย จากงานของ ประชา แม่จัน ในหนังสือ "อุ้มผาง เบื้องหลังธรรมชาติ" เขียนถึง บริเวณที่ตั้งแคมป์ทีลอชู เป็นบ้านเก่าชาวปกากะญอ (กะเหรี่ยง) เรียกว่า "ว่าชื่อคี" บริเวณที่จอดรถเป็นที่นาเก่าของชาวบ้านที่นี่ การที่เป็นบ้านร้างเพราะชาวบ้านบางส่วนได้ย้ายไปอยู่บ้านโขะทะเพื่อเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่เหลือย้ายเข้ามาอยู่กับฝ่ายรัฐบาล ดังนั้น ชาวปกากะญอที่นี่รู้จักน้ำตกทีลอชูมาช้านานแล้ว
สิ่งที่น่าสนใจ
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะทาง 1.5 กม.ก่อนถึงน้ำตกจะผ่านป่าไผ่และป่าเบญจพรรณ มีดอกกระเจียวขึ้นตามพื้นป่าระหว่างทางมีป้ายสื่อความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติและพืชพันธุ์ตามจุดต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษา เมื่อถึงบริเวณน้ำตก จะเห็นละอองน้ำฟุ้งกระจายไปทั่วโขดหินเบื้องล่าง มองเห็นธารน้ำตกลงมาจากผาหินปูนซึ่งอยู่สูงประมาณ300ม. ตามแนวกว้างกว่า500 ม. ท่ามกลางป่าครึ้ม อาจแบ่งธารน้ำตกได้เป็นสามกลุ่ม คือกลุ่มด้านซ้ายมือ (เมื่อหันหน้าเข้าหาน้ำตก) เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดสูงที่สุด และเป็นด้านที่สวยที่สุด มีธารน้ำตกหลายสายไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นเชิง ส่วนกลุ่มตรงกลาง สายน้ำไหลลงมาจากหน้าผาสูงชันใกล้เคียงกบกลุ่มซ้ายมือแต่ไม่เป็นชั้นและแคบกว่า ส่วนหลุ่มทางขวามือ มีสายน้ำตกมากและหน้าผาเตี้ยกว่าสองกลุ่มแรก เมื่อมองทั้งสามกลุ่มรวมกันจะเห็น น้ำตกทีลอซู ที่ยิ่งใหญ่และสวยงาม บริเวณด้านล่างมีทางเดินไปยังจุดชมวิวทิวทัศน์บนยอดเขาฝั่งตรงกันข้าม เป็นจุดที่มองเห็น น้ำตกทีลอซู ได้สวยงามและชัดเจนขึ้น ใช้เวลาเดินไปกลับประมาณ 2 ชม.
การเดินทาง
การเดินทาง รถยนต์ จากอำเภออุ้มผางใช้เส้นทางสายอุ้มผาง-แม่สอด ถึงหลักกิโลเมตรที่ 161 มีทางแยกซ้ายที่บ้านแม่กลองใหม่ไปด่านเดลอ หรือจุดตรวจ “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง” เป็นระยะทาง 30 กิโลเมตร (สำหรับนักท่องเที่ยวที่ขับรถเข้าน้ำตกทีลอซูต้องติดต่อขอรับใบอนุญาตเข้าที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง (สป. ๗) ได้ที่ ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และอนุรักษ์อุ้มผางก่อนทุกครั้ง นักท่องเที่ยวต้องยื่น สป. 7 ที่ด่านเดลอ) จากนั้นเดินทางไปตามถนนลูกรังอีก 26 กิโลเมตร ถึงที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 3 ชั่วโมง เส้นทางช่วงนี้เป็นทางดิน ควรใช้รถปิคอัพ หรือรถขับเคลื่อน 4 ล้อที่ช่วงล่างมีความสูงมากพอสมควร ในฤดูฝนรถอาจเข้าไม่ได้ และจากที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร จึงถึงตัวน้ำตกทีลอซู
สถานที่พัก
สถานที่พักผ่อนทริปท่องเที่ยวน้ำตกทีลอซู มีให้เลือกหลายรูปแบบ
ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง (นอนเต้นท์)
ในตัวเมืองอุ้มผาง ทั้งที่ติดแม่น้ำและไม่ติดแม่น้ำ การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 1 สู่ จังหวัดตาก ก่อนถึง จังหวัดตาก ซ้ายมือมีทางแยกป้ายบอก
ทางเข้าสู่ อำเภอแม่สอด ระยะทางประมาณ 87 กิโลแมตร แล้วต่อจาก อำเภอแม่สอดไป อำเภออุ้มผาง เส้นทางนี้ ต้อง ระวังให้มาก เพราะเป็นเส้นถนนตัดผ่านเขาสลับซับซ้อนคดโค้งกว่าพันโค้ง ได้สัมญานามว่า"สายลอยฟ้า" ด้วยระยะทางประมาณ 164 กิโลเมตร กินเวลาประมาณ 4-5 ชั่งโมง ซึ่งไม่เบาเหมือนกัน ผู้ที่ขับรถไปเองต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ระหว่างทางทิวทัศน์ชวนให้หลงใหลเพลิดเพลินไปกับการเดินทาง จากเส้นทางอุ้มผางสู่น้ำตกทีลอซู ระยะทางประมาณ 43 กิโล ถึงเขตรักษาพันธุ์ฯ แล้วเดินเท้าเข้าไปที่น้ำตกอีก 1.8 กิโลก็จะถึงถึงน้ำตกทีลอซู ความเหน็ดเหนื่อยกับการเดินทางก็หมดสิ้นไป สายน้ำตกแห่งความอลังการทีลอซู รอการมาเยือนจากทุกท่าน ทุกวันเวลา
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:23:22
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
หรือ พระพิพัฒน์สัจจา คือ พระราชพิธีศรีสัจปานกาล คำว่า "ปานะ" แปลว่า "เครื่องดื่ม" หรือ "น้ำสำหรับดื่ม"
พิธีศรีสัจปานกาล ก็หมายถึงพิธีดื่มน้ำกระทำสัตย์สาบานเพื่อความสวัสดิมงคลตามวาระ โดยมากเรียกกันสั้นๆ ว่า "ถือน้ำ" คือ ผู้ที่เข้าร่วมในพิธี จะต้องดื่มน้ำล้างอาวุธของพระราชา เพื่อแสดงว่าจะจงรักภักดีต่อพระราชาธิบดีของตน หากผู้ใดมิได้รักษาคำสัตย์ปฏิญาณที่ได้กล่าวไว้ในพิธีนั้น ก็อาจจะต้องมีอันเป็นไปด้วยอาวุธหอกดาบอันใช้จุ่มในน้ำที่ตนดื่ม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ว่า พระราชพิธีนี้เป็นพระราชพิธีใหญ่สำหรับแผ่นดิน เป็นพระราชพิธีสำคัญตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์โดยไม่มีเว้นว่างเพราะมีคำอ้างถึงว่าเป็นพิธีระงับยุคเข็ญของบ้านเมือง
ที่พระองค์กล่าวว่า โบราณ นั้นก็สันนิษฐานกันว่าตั้งแต่สมัยอยุธยาลงมา ด้วยไม่ทราบแน่ชัดว่าในสมัยพระมหากษัตริย์องค์ใด แต่ไม่ใช่สมัยสุโขทัยเพราะเหตุว่าการที่จะเน้นอำนาจกษัตริย์อย่างสูงสุดนั้นสุโขทัยไม่ค่อยมี เพราะฉะนั้นน่าจะมีในสมัยอยุธยาจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 พิธีก็หมดสิ้นไป จนกระทั่งในรัชสมัยพระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาตามแบบโบราณราชประเพณี ผนวกเป็นการเดียวกับพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ .2512
วัตถุประสงค์อันสำคัญของพิธีนี้เพื่อหวังจะหล่อหลอมกล่อมขวัญของบรรดาข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนให้ตั้งอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต ตั้งหน้าปฏิบัติราชการแผ่นดินแต่ในทางที่ถูกที่ควร ไม่ว่าประเทศใดชาติใด หากผู้มีส่วนในการปฏิบัติราชการแผ่นดินปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีในชาติ ศาสนา และองค์พระประมุขอย่างแนบแน่นมั่นคงแล้วย่อมเป็นพลังขั้นมูลฐานที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับสร้างความรุ่งเรืองและมั่นคงให้แก่ชาติ ดังนั้นจึงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านที่เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นผู้นำในการการปฏิบัติราชการแผ่นดินในแขนงสำคัญต่างๆ
ประเพณีการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยานั้นมาจากตามแนวคิดที่ว่ากษัตริย์เป็นสมมติเทพ ก็คือมาจากอินเดียโดยตรง เนื่องจากทั้งพระเจ้าแผ่นดิน ผู้ปกครองประเทศแต่ก่อนก็ล้วนทรงเป็นนักรบ ดังนั้นจึงได้ยึดถือเอาการกระทำสัตย์ปฏิญาณตนด้วยวิธีดื่มน้ำชำระล้างอาวุธ หรืออีกนัยหนึ่งที่เรียกกันว่า
"พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา" เป็นพิธีสำคัญของบ้านเมืองมาแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานว่า ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ประเทศไทยได้รับเอาพิธีนี้มาเป็น
พิธีสำคัญของบ้านเมืองหรือยัง แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยามาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าอู่ทองเริ่มสร้างกรุงศรีอยุธยาทีเดียว และก็ถือว่าการถือน้ำเป็นพิธีสำคัญซึ่งบรรดาข้าราชการผู้มีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับความยุติธรรมแห่งบ้านเมืองจะขาดเสียไม่ได้ ถึงกับตราเป็นตัวบทไว้ในกฎมณเฑียรบาลไว้ว่า
ผู้ที่ขาดการถือน้ำพิพัฒน์สัตยามีโทษถึงตาย เว้นแต่ป่วยหนัก
ห้ามสวม "แหวนนากแหวนทอง" มาถือน้ำ
ห้ามบริโภคอาหารหรือน้ำก่อนดื่มน้ำพิพัฒน์
ดื่มน้ำแล้วห้ามยื่นน้ำที่เหลือให้แก่กัน
ดื่มแล้วต้องราดน้ำที่เหลือลงบนผมของตน
ข้อปฏิบัติดังกล่าว เป็นการระวางโทษไว้เหมือนหนึ่งว่า เป็นกบฎ คือโทษใกล้ความตาย และทั้งนี้เพื่อประสงค์จะให้น้ำพิพัฒน์สัตยาที่ทำขึ้นนั้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ และดื่มในโอกาสแรกของวันนั้น ต่อมาภายหลัง ปรากฏว่าวิธีการเช่นนั้น ทำความลำบากให้แก่ผู้เข้าร่วมพิธีโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ทนหิวไม่ได้จนอาจถึงกับมี อันเป็นไปก่อนได้ดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอนุญาตให้บริโภคอาหารมาก่อนได้และไม่ถือว่าเป็นกบฏ
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:17:19
น้ำกลิ้งบนใบบอน ความหมายของสำนวนนี้มักจะมีความหมายในทางลบหมายถึง คนที่ตลบตะแลง มิจิตใจไม่แน่นอน หรือเอาแน่อะไรไม่ได้
pom951
โพสต์ 2013-3-22 12:15:07
เรือนสามน้ำสี่ คุณสมบัติของกุลสตรีไทยทั่วทุกภาคที่ควรปฏิบัติ เพื่อเป็นการรักษาบ้านเรือนให้น่าอยู่ อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อการออกเหย้าออกเรือยชน เพื่อให้ครอบครัวที่ออกไปใหม่ มีความเพียบพร้อมด้วยความน่าอยู่
เรือนสามน้ำสี่ บางตำราก็กล่าวแบ่งแยกย่อย ว่า เรือน 3 อย่างนั้น มีอะไรกันบ้าง แต่โดยภาพรวมแล้วก็ไม่ได้ต่างกันไปนัก เพราะเป็นสิ่งดีๆทั้งนั้น ทางภาคอีสาน เรือนสามน้ำสี่ก็ต่างจากภาคกลาง ดังบทลำล่องข้างบน เป็นเรือนสามน้ำสี่ที่มาจากทางภาคอีสาน ส่วนภาคอื่นๆ จะขอกล่าวต่อไป
เรือนสามน้ำสี่ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
เรือนสาม
เรือน หรือ บ้าน หรือ ทางภาคอีสานจะเรียกว่า ฮ้าน หรือ เฮือน เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญต่อทุกๆก้าวอย่าง เป็นสถานที่ที่มีผลต่อความเป็นอยู่ บ้านคือปัจจัยสี่ที่สำคัญ แต่ภายในเรือน หรือฮ้านของผู้หญิง จะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นมา ซึ่งต้องดูแลให้ดี เพราะเป็นที่กุลสตรีไทยใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่นี่
เรือนที่ 1. เรือนนอน
ผู้หญิงย่อมมีโลกส่วนตัวของตัวเอง ที่นอนคือ สถานที่บอกได้ว่า คุณเป็นคนที่มีระเบียบมากน้อยเพียงใด การเข้านอนของผู้หญิง ที่นอนที่เป็นระเบียบ นำมาซึ่งการ
เรือนที่ 2. เรือนครัว
เรือนครัว คือ สถานที่ที่ผู้หญิงใช้ในการประกอบอาหาร อาหารจะดี อาหารจะอร่อย ก็มาจากส่วนนี้ แขกไปไทยมาจะต้องมีการเลี้ยงข้าวปลาอาหาร หากเรือนนี้ สกปรก รกรุงรัง หรือ ไม่สะอาด ก็ยากที่จะปรุงอาหารให้อร่อยได้ เรือนครัว ทั้งคนที่อยู่ในบ้าน เช่น พ่อแม่ หรือ สามี หรือแม้แต่แขกที่มาบ้าน ก็จะได้รับรู้ถึงเสน่ห์ปลายจวัก ได้กินอาหารที่สะอาด และอร่อย มีแต่คนชื่นชม
เรือนที่ 3. เรือนผม
คำว่า เรือนผม เป็นการกล่าวโดยรวม โดยยกตัวอย่างผมมาเป็นตัวแทนของความสวยความงาม ผู้หญิงที่มีผมงาม ถือว่าเป็นเบญจกัลยาณี
* เบญจกัลยาณี (แปลว่า ผู้มีความงาม 5 ประการ) หมายถึงสตรีผู้มีศุภลักษณ์หรือลักษณะที่งาม 5 ประการ คือ
1. ผมงาม คือมีผมเหมือนหางนกยูง เมื่อสยายออกทิ้งตัวลงมาถึงชายผ้า
2. เนื้องาม คือมีริมฝีปากแดงเหมือนลูกตำลึงสุก เรียบสนิทมิดชิดดี
3. ฟันงาม คือขาวเหมือนสังข์และเรียบเสมอเหมือนเพชรเรียง
4. ผิวงาม คือถ้าผิวดำก็ดำสม่ำเสมอเหมือนดอกอุบล ถ้าขาวก็ขาวเหมือนกลีบดอกกรรณิการ์
5. วัยงาม คืองามทุกวัย แม้คลอดบุตรมาแล้ว 10 ครั้งก็ยังดูสาวพริ้งอยู่
ตำนานว่า นางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นเบญจกัลยาณีคนหนึ่งในสมัยพุทธกาล
* จาก wikipedia
ผมของสตรี หากหวี หากสระ ให้สวย และสะอาดอยู่เสมอก็เป็นที่ดึงดูดใจของบรรดาหนุ่มๆ ให้มีคนดีๆมาให้ดูให้เลือก แขกไปไทยมาก็สดชื่น อยากคุยอยากเจรจา
สามเรือนผ่านไป คงไม่ยากเกินไปสำหรับหญิงไทย
มาดูน้ำสี่กันบ้าง
น้ำสี่
น้ำที่ 1. น้ำจิตน้ำใจ
น้ำใจ สตรีที่ดีต้องมีน้ำใจเอื้ออาทรแก่ผู้ที่อยู่ในบ้านเรือนของตน ตั้งแต่พ่อเรือนหรือสามีของตน ไปจนถึงบริวารในบ้าน การผูกพันกันด้วยน้ำใจนี้ ทำให้ครอบครัวมีความสุขแน่นแฟ้นอย่างที่เรียกกันว่า ล้อมรั้วด้วยรัก ซึ่งน้ำใจนี้ควรจะมีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไปถึงพ่อแม่และบุคคลในครอบครัวของสามีด้วย เพราะสังคมไทยต่างจากสังคมตะวันตก ที่เมื่อแต่งงานแล้วจะแยกครอบครัวออกจากพ่อแม่อย่างเด็ดขาด ในสังคมไทยการแต่งงานไม่ได้หมายถึงแต่งกับผู้ชายที่เป็นสามีของเราคนเดียว แต่หมายรวมไปถึงแต่งกับครอบครัวของเขาด้วย การที่ภรรยายอมรับและเป็นที่ยอมรับในครอบครัวของสามีได้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
น้ำที่ 2. น้ำดื่มน้ำกิน
น้ำดืม ทุกๆบ้าน หากขาดซึ่งสิ่งนี้แล้วหาได้เป็นบ้านไม่ เพราะไม่ว่า จะกินกรรมอะไรก็ต้องมีการกินการดื่ม การจัดเตรียมน้ำให้พอเพียงและสะอาดนั้น เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ทุกบ้านเมื่อรับประทานอาหารเสร็จ น้ำดื่มถือเป็นสิ่งจำเป็น หากข้าวติดคอ ไม่เตรียมน้ำดื่มไว้ อาจตายได้ และน้ำนี้แหละที่เอาไว้สำหรับปรุงอาหาร เพราะมีความสะอาด และรสชาดไม่จืดเกินไป
จากคำโบราณ ที่บอกว่า "เป็นธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ" สิ่งแรกที่จะให้กันได้ คือ การมีน้ำดื่มสักแก้วสักขัน เพื่อให้แขกได้พักผ่อน หรือก่อนที่จะเจรจากันต่อไป บ้านทุกบ้าน แม้ไม่ได้มีอะไรเลอเลิศ ขอเพียงน้ำดืมสักขันก็เพียงพอแล้ว
นอกจากนี้ ความสำคัญของภาชนะใส่น้ำก็สำคัญ บ้านบางหลังจะมีแอ่งน้ำ (น้ำที่บรรจุในภาชนะหม้อดิน) ซึ่งหม้อดินมีคุณสมบัติพิเศษคือ การถ่ายเทความร้อน น้ำในแอ่งน้ำจะเย็นกว่าใส่ในโอ่ง การรักษาระดับน้ำในแอ่งน้ำก็เป็นความจำเป็น บ่งบอกว่า ลูกสาวบ้านไหนขยัน หรือ ขี้เกียจ ปล่อยให้น้ำแห้งแอ้ง เป็นการแสดงความเอาใจใส่ด้วย แอ่งน้ำของสาวบางบ้าน มีตะใคร่น้ำขึ้นตลอด แต่ข้างในแอ่งนั้นสะอาด น้ำใส บ่งบอกว่า บ้านนั้นมีการเติมเต็มน้ำตลอด และมีการล้างแอ่งตลอด การมีตะใคร่น้ำ จะทำให้น้ำนั้นเย็นยิ่งขึ้นกว่าการไม่มีตะใคร่
สมัยก่อน สมัยที่ยังไม่มีน้ำประปา จะมีแอ่งบ้านไว้ให้แขกไปไทยมาที่หน้าบ้าน ใครใคร่กิน กิน ใครใคร่ตัก ก็ตัก แขกพ่อค้า ก็ได้อาศัยน้ำนี้แหละประทังชีวิตให้เดินขายของต่อไป
น้ำที่ 3. น้ำอาบ
น้ำอาบ หมายโดยรวมคือน้ำใช้ทั่วไป ทางภาคอีสาน จะเรียกว่า "น้ำเซอะ" คือ ใช้ในกิจการทั่วไป ใช้อาบใช้ล้างภาชนะ ใช้ทำความสะอาดบ้าน ก่อนขึ้นบ้านก็จะมีน้ำนี้ล้างเท้าก่อน เพื่อให้บ้านไม่เลอะคราบสกปรกจากการทำงาน น้ำอาบสตรีไทยต้องเตรียมไว้ เพื่อให้พ่อให้พี่ ให้ สามีได้อาบเพราะผู้ชายจะทำงานมาเหนื่อยๆไม่มีเวลาได้ไปตักน้ำมาให้อาบหรอก อย่าให้ขาด
สมัยนี้มีน้ำประปาก็ดีหน่อยแต่ความหมายของน้ำอาบ คือ การรักษาระดับน้ำใช้ให้เพียงพออยู่เสมอนั่นเอง
น้ำที่ 4. น้ำเต้าปรุง หรือ น้ำปรุง
น้ำชนิดนี้ เป็นน้ำที่ให้กับบรรพบุรุษหรือ ผู้ที่มีพระคุณ ที่คอยปกปักษ์รักษา บ้านทุกบ้านจะมีเทวดาประจำบ้าน บ้างก็ว่า ผีเหย้าผีเรือน บ้างกว่าว่า เจ้าที่เจ้าฐาน การมีน้ำชนิดนี้ไว้ในบ้าน อาจจะเป็นหิ้งพระ หรือ ศาลพระภูมิบ้าน ก็จะเป็นการดี กลางคืน เราไม่รู้หรอกว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะ ทุกคนต่างอยู่ในภาวะหลับไหล การรักษาบ้านของเทวดา ไม่จำเป็นที่ท่านจะช่วย เพียงแต่ให้เรารู้สึกตัว เมื่อมีเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ การมีน้ำเต้าปรุงไว้อาจจะใส่เครื่องหอม เช่น ขมิ้น แป้งหอม หรือ ดินสอพองบ้างก็จะดี เสมือนหนึ่งว่า เป็นน้ำทิพย์ให้ท่านเทวราช นั่นเอง
เรือนสามน้ำสี่ บางตำราจะบอกว่า เรือนสาม ประกอบไปด้วย บ้านเรือน เรือนผม เรือนกาย บางตำราก็ว่า บ้านเรือน เรือนชะตา เรือนผม บ้างก็ว่า เรือนที่อยู่อาศัย, เรือนหูกทอผ้า(เปลี่ยนจากเรือนชะตา) และเรือนผม
ส่วนน้ำสี่ ก็มีน้ำกิน น้ำใช้ น้ำใจ น้ำปูน (สมัยก่อนกินหมากเลยต้องมีของต้อนรับเป็นเชื่อนหมาก มีปูนด้วย) บ้างก็ว่า น้ำในโอ่งที่เก็บไว้กินใช้ประจำวัน, น้ำในขันที่ตักแบ่งจากน้ำอย่างแรกมาใช้, น้ำในหม้อปลาร้าที่เอาไว้ปรุงรสเป็นน้ำปลา และสุดท้ายก็น้ำใจเหมือนกันเพียงข้อนี้
ทั้งหมด คือ เรือนสามน้ำสี่ กุลสตรีของไทย ใครเอาไปใช้รับรองว่า จะมีแต่สิ่งดีๆเกิดขึ้นในชีวิต เป็นปราชญ์อย่างหนึ่งของบรรพบุรุษของเราที่ได้ให้ไว้ เป็นคติสอนใจ ให้รู้จักการการครองเรือน นี่เป็นตำราที่ข้าพเจ้ารวบรวม บางตำราก็แตกต่างกันไปบ้าง แต่เป้าหมายโดยรวม คือ ความเป็นกุลสตรที่งดงามนั้นเอง