องค์การนาซา (NASA) ได้เปิดเผยข้อมูลการสำรวจของยานคิวริออสชิต้ี (Curiosity) เกี่ยวกับความคืบหน้าของการวิเคราะห์องค์ประกอบของดินบนดาวอังคาร ซึ่งจากผลการวิจัยของทีมงานนักวิจัยจากศูนย์วิจัยในรัฐแคลิฟอร์เนีย ระบุว่าดินบนดาวอังคารนั้นมีองค์ประกอบและโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งสมบัติทางเคมีกับคุณสมบัติของแร่ที่มีความคล้ายคลึงกับหินบะซอลต์ (Basalt) ที่พบบนโลก แถบบริเวณที่เกิดการระเบิดของภูเขาไฟ
ภาพกราฟิกขณะฉายรังสีเอกซ์เรย์ลงบนตัวอย่างดินบนดาวอังคารโดยเทคนิค เอกซ์อาร์ดี (XRD : X-Ray diffraction)
ชุดการทดลองนี้ถูกบรรจุอยู่ในชุดเครื่องมือที่เรียกว่า เคมิน (CheMin : Chemistry and Mineralogy ) ภาพโดย : ห้องปฏิบัติการเจพีแอล ขององค์การนาซา (NASA/JPL-Caltech/Ames )
ด้วยความล้ำหน้าทางเทคโนโล ยีีของเครื่องมืิอวิทยาศาสตร์ที่ถูกออกแบบและรวบรวมอยู่บนยานคิวริออสซิตี้ (Curiosity) ทำให้ยานลำนี้มีความสามารถพิเศษที่หลายหลายและนับได้ว่าเป็นยานอวกาศที่มี ศักยภาพสูงมากอีกลำหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความหวังของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกในการไขความลับของ สภาพแวดล้อมบนดาวอังคารในอดีต
ในการวิเคราะห์ดินบนดาวอังคารครั้งนี้ใช้วิธีการฉายรังสีเอ็กซ์ (X-Ray) ที่มีความยาวคลื่นชัดเจน ลงบนตัวอย่างดิน (Source) เมื่อรังสีเอ็กซ์เดินทางไปยังอนุภาคภายในของตัวอย่าง จะเกิดการเลี้ยวเบน (Diffraction) ในมุมที่แตกต่างกัน (สารประกอบของธาตุต่างชนิดกันจะมีโครงสร้างที่แตกต่างกันทำให้รังสีเกิดการ เลี้ยวเบนในมุมที่ไม่เท่ากัน) ซึ่งจะมีหัววัดรังสี (Detecter) ทำหน้าที่เป็นตัวรับข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลว่าดินตัวอย่างจากดาวอังคารประ กอบด้วยแร่ธาตุชนิดใดบ้าง นอกจากนี้ยังทำให้ทราบถึงปริมาณความเป็นผลึก ขนาดของผลึก ความสมบูรณ์ของผลึก เป็นต้น วิธีการดังกล่าวเรียกว่าเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกซ์ชัน (X-Ray diffraction : XRD) เมื่อทราบองค์ประกอบพื้นฐานของดิินตัวอย่างแล้วนักวิทยาศาสตร์สามารถ วิเคราะห์ถึงกระบวนการและกลไกการเกิดรวมถึงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลให้เกิด ปัจจัยดังกล่าวขึ้น
ในการทดลองหาองค์ประกอบและโครงสร้างของธาตุบนโลกนั้น นักธรณีวิทยาก็ใช้กระบวนการและวิธีการเช่นเดียวกันคือ เทคนิคเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกซ์ชัน (X-Ray diffraction : XRD) แต่ต่างกันที่เครื่องมือวิทยาศาสตร์ชุดนี้ที่มีอยู่บนโลกนั้นถูกติดตั้งอยู่ ในห้องทดลองขนาดใหญ่ นับเป็นความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีของนักวิทยาศาสตร์และนัก วิศวกรที่สามารถย่อขนาดของห้องทดลองขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กอยู่บนยานคิวริออ สซิตี้ (Curiosity) และที่สำคัญกว่านั้น ประสิทธิภาพในการทำงานก็ไม่ได้ด้อยไปกว่ากันเลย
จากการสำรวจและวิเคราะห์ของยานคิวริออสซิตี้ (Curiosity) พบว่าดินตัวอย่างบนดาวอังคารนั้นประกอบด้วยแร่โอลีวีน (Olivine) แร่เฟลด์สปาร์ (Feldspar) และแร่ไพรอกซีน (Pyroxene) ซึ่งแร่เหล่านี้จะเป็นส่วนประกอบของหินอัคนี ที่พบในบริเวณที่มีการระเบิดของภูเขาไฟบนโลกเช่นเดียวกับหินบะซอลล์ (Basalt) ที่พบบริเวณเกาะฮาวาย ผลจากการวิจัยครั้งน้ีทำให้เรามีฐานข้อมูลเกี่ยวกับธรณีสัณฐานบนดาวอังคาร เพิ่มมากขึ้นและคาดว่าในอนาคตเราจะมีข้อมูลเกี่ยวกับดาวอังคารเพิ่มขึ้นจาก เดิมหลายเท่าตัว ด้วยศักยภาพของเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่บนยานคิวริออสซิตี้
ภาพแสดง ลักษณะของพื้นที่ๆ ทำการเก็บตัวอย่างดินมาทำการวิเคราะห์โครงสร้างและองค์ประกอบของดินบนดาว อังคาร ภาพทั้งสองนี้ถูกถ่ายจากกล้องถ่ายภาพที่ติดอยู่บนแขนของยานคิวริออสซิตี้ (Curiosity) ภาพซ้ายเป็นภาพถ่ายที่ถูกบันทึกในสภาพแสงจริงบนดาวอังคารจะเห็นฝุ่นเป็นสี แดง ส่วนภาพขวานั้นเป็นภาพถ่ายในพื้นที่เดียวกันแต่ทำการปรับสมดุลแสงขาวให้มี สภาพแสงใกล้เคียงกับแสงบนโลก ภาพโดย : ห้องปฏิบัติการเจพีแอล ขององค์การนาซา (NASA/JPL-Caltech/Ames )
ภาพแสดงการเก็บตัวอย่างดินเพื่อทำการวิเคราะห์โครงสร้างและองค์ประกอบ ซึ่งตัวอย่างดินที่นำมาวิเคราะห์นั้นถูกเก็บรวบรวมมาจาก 3 บริเวณ ได้แก่พื้นที่หมายเลย 61,69 และ 71 เมื่อวันที่ 7,15 และ 17 ตุลาคม 2555 ตามลำดับ ภาพโดย : ห้องปฏิบัติการเจพีแอล ขององค์การนาซา (NASA/JPL-Caltech/Ames ) |