ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
ดู: 1364|ตอบกลับ: 4

พิสูจน์แล้วดินบนดาวอังคารคล้ายกับหินบะซอลล์บนโลก

[คัดลอกลิงก์]

มาเฟียนักศึกษา

กระทู้
11
พลังน้ำใจ
9620
Zenny
44
ออนไลน์
950 ชั่วโมง
องค์การนาซา (NASA) ได้เปิดเผยข้อมูลการสำรวจของยานคิวริออสชิต้ี (Curiosity) เกี่ยวกับความคืบหน้าของการวิเคราะห์องค์ประกอบของดินบนดาวอังคาร ซึ่งจากผลการวิจัยของทีมงานนักวิจัยจากศูนย์วิจัยในรัฐแคลิฟอร์เนีย ระบุว่าดินบนดาวอังคารนั้นมีองค์ประกอบและโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งสมบัติทางเคมีกับคุณสมบัติของแร่ที่มีความคล้ายคลึงกับหินบะซอลต์ (Basalt) ที่พบบนโลก แถบบริเวณที่เกิดการระเบิดของภูเขาไฟ
ภาพกราฟิกขณะฉายรังสีเอกซ์เรย์ลงบนตัวอย่างดินบนดาวอังคารโดยเทคนิค เอกซ์อาร์ดี (XRD : X-Ray diffraction)
ชุดการทดลองนี้ถูกบรรจุอยู่ในชุดเครื่องมือที่เรียกว่า เคมิน (CheMin : Chemistry and Mineralogy )
ภาพโดย : ห้องปฏิบัติการเจพีแอล ขององค์การนาซา (NASA/JPL-Caltech/Ames )

                   ด้วยความล้ำหน้าทางเทคโนโล ยีีของเครื่องมืิอวิทยาศาสตร์ที่ถูกออกแบบและรวบรวมอยู่บนยานคิวริออสซิตี้ (Curiosity) ทำให้ยานลำนี้มีความสามารถพิเศษที่หลายหลายและนับได้ว่าเป็นยานอวกาศที่มี ศักยภาพสูงมากอีกลำหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความหวังของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกในการไขความลับของ สภาพแวดล้อมบนดาวอังคารในอดีต
          ในการวิเคราะห์ดินบนดาวอังคารครั้งนี้ใช้วิธีการฉายรังสีเอ็กซ์ (X-Ray) ที่มีความยาวคลื่นชัดเจน ลงบนตัวอย่างดิน (Source) เมื่อรังสีเอ็กซ์เดินทางไปยังอนุภาคภายในของตัวอย่าง จะเกิดการเลี้ยวเบน (Diffraction) ในมุมที่แตกต่างกัน (สารประกอบของธาตุต่างชนิดกันจะมีโครงสร้างที่แตกต่างกันทำให้รังสีเกิดการ เลี้ยวเบนในมุมที่ไม่เท่ากัน) ซึ่งจะมีหัววัดรังสี (Detecter) ทำหน้าที่เป็นตัวรับข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลว่าดินตัวอย่างจากดาวอังคารประ กอบด้วยแร่ธาตุชนิดใดบ้าง นอกจากนี้ยังทำให้ทราบถึงปริมาณความเป็นผลึก ขนาดของผลึก ความสมบูรณ์ของผลึก เป็นต้น วิธีการดังกล่าวเรียกว่าเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกซ์ชัน (X-Ray diffraction : XRD)  เมื่อทราบองค์ประกอบพื้นฐานของดิินตัวอย่างแล้วนักวิทยาศาสตร์สามารถ วิเคราะห์ถึงกระบวนการและกลไกการเกิดรวมถึงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลให้เกิด ปัจจัยดังกล่าวขึ้น
          ในการทดลองหาองค์ประกอบและโครงสร้างของธาตุบนโลกนั้น นักธรณีวิทยาก็ใช้กระบวนการและวิธีการเช่นเดียวกันคือ เทคนิคเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกซ์ชัน (X-Ray diffraction : XRD) แต่ต่างกันที่เครื่องมือวิทยาศาสตร์ชุดนี้ที่มีอยู่บนโลกนั้นถูกติดตั้งอยู่ ในห้องทดลองขนาดใหญ่ นับเป็นความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีของนักวิทยาศาสตร์และนัก วิศวกรที่สามารถย่อขนาดของห้องทดลองขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กอยู่บนยานคิวริออ สซิตี้ (Curiosity) และที่สำคัญกว่านั้น ประสิทธิภาพในการทำงานก็ไม่ได้ด้อยไปกว่ากันเลย
          จากการสำรวจและวิเคราะห์ของยานคิวริออสซิตี้ (Curiosity) พบว่าดินตัวอย่างบนดาวอังคารนั้นประกอบด้วยแร่โอลีวีน (Olivine) แร่เฟลด์สปาร์ (Feldspar) และแร่ไพรอกซีน (Pyroxene) ซึ่งแร่เหล่านี้จะเป็นส่วนประกอบของหินอัคนี ที่พบในบริเวณที่มีการระเบิดของภูเขาไฟบนโลกเช่นเดียวกับหินบะซอลล์ (Basalt) ที่พบบริเวณเกาะฮาวาย ผลจากการวิจัยครั้งน้ีทำให้เรามีฐานข้อมูลเกี่ยวกับธรณีสัณฐานบนดาวอังคาร เพิ่มมากขึ้นและคาดว่าในอนาคตเราจะมีข้อมูลเกี่ยวกับดาวอังคารเพิ่มขึ้นจาก เดิมหลายเท่าตัว ด้วยศักยภาพของเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่บนยานคิวริออสซิตี้

ภาพแสดง ลักษณะของพื้นที่ๆ ทำการเก็บตัวอย่างดินมาทำการวิเคราะห์โครงสร้างและองค์ประกอบของดินบนดาว อังคาร ภาพทั้งสองนี้ถูกถ่ายจากกล้องถ่ายภาพที่ติดอยู่บนแขนของยานคิวริออสซิตี้ (Curiosity) ภาพซ้ายเป็นภาพถ่ายที่ถูกบันทึกในสภาพแสงจริงบนดาวอังคารจะเห็นฝุ่นเป็นสี แดง ส่วนภาพขวานั้นเป็นภาพถ่ายในพื้นที่เดียวกันแต่ทำการปรับสมดุลแสงขาวให้มี สภาพแสงใกล้เคียงกับแสงบนโลก
ภาพโดย : ห้องปฏิบัติการเจพีแอล ขององค์การนาซา (NASA/JPL-Caltech/Ames )

ภาพแสดงการเก็บตัวอย่างดินเพื่อทำการวิเคราะห์โครงสร้างและองค์ประกอบ ซึ่งตัวอย่างดินที่นำมาวิเคราะห์นั้นถูกเก็บรวบรวมมาจาก 3 บริเวณ ได้แก่พื้นที่หมายเลย 61,69 และ 71 เมื่อวันที่ 7,15 และ 17 ตุลาคม 2555 ตามลำดับ ภาพโดย : ห้องปฏิบัติการเจพีแอล ขององค์การนาซา (NASA/JPL-Caltech/Ames )

คะแนน

จำนวนผู้เข้าร่วม 1พลังน้ำใจ +10 ย่อ เหตุผล
เอกครับ + 10 ชอบคนโพส

ดูบันทึกคะแนน

มาเฟียนักศึกษา

กระทู้
11
พลังน้ำใจ
9620
Zenny
44
ออนไลน์
950 ชั่วโมง
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-23 03:36:07 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว..ถ้าหากโลกแตกเราอาจจะมีแหล่งที่อยู่ใหม่ก็ได้ แต่ปัญหาคือมีวีธีการอพยพมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่บนโลกอย่างไรเพื่อให้ทันต่อเวลา

คะแนน

จำนวนผู้เข้าร่วม 1Zenny +50 ย่อ เหตุผล
hanagawow + 50 ทันเหตุการณ์ครับ.

ดูบันทึกคะแนน

นักศึกษาหน้าใหม่

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
24
Zenny
70
ออนไลน์
0 ชั่วโมง
โพสต์ 2013-4-23 22:34:02 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณครับ

พี่ว้ากตัวร้าย

กระทู้
3
พลังน้ำใจ
730
Zenny
1310
ออนไลน์
455 ชั่วโมง
โพสต์ 2013-4-26 11:16:46 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แล้วถ้าเราจะอพยพไปดาวดวงใหม่  ผมขออาสาไปเจรจากับมนุษย์ต่างดาวเองนะครับ

ขอบคุณครับสำหรับบทความ

นิสิตสัมพันธ์

กระทู้
172
พลังน้ำใจ
11517
Zenny
63204
ออนไลน์
1588 ชั่วโมง
โพสต์ 2015-9-25 07:16:52 จากอุปกรณ์พกพา | ดูโพสต์ทั้งหมด
มันมีอากาศให้เราหายใจใช่ไหมคับ?
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม

ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-11-21 17:17 , Processed in 0.134533 second(s), 26 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้