การนวดเท้า
ความเป็นมาของการนวดเท้านั้นการนวดกดจุดฝ่าเท้าน่าเกิดขึ้นมาพร้อมกับการกดจุดฝั่งเข็ม จนเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วทวีปเอเชีย
ยุโรป และอเมริกา และยอมรับหลักวิชาการนี้เป็นวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยการนวดเท้าเพื่อสุขภาพได้ประยุกต์มาจากการนวดจีน
วัตถุประสงค์และประโยชน์การนวดเท้า
เท้าเป็นอวัยวะสำคัญของมนุษย์ เป็นที่รับน้ำหนักและรักษาภาวะสมดุลการทรงตัวในอิริยาบถต่าง ๆ ของร่างกายการนวดเท้าเป็นหลัก
ทฤษฎีตอบสนองจากการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต มีผลดีในด้านการส่งเสริมสุขภาพและสุขภาพจิต อีกทั้งการบำบัดรักษาโรค
บางอย่างได้ด้วย
การนวดเท้ามีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันรักษาโรค โดยการนวดกดจุดสะท้อน (Reflex Points) เพื่อ
กระตุ้นการตอบสนองของอวัยวะหรือระบบต่างๆ ในร่างกายให้ตื่นตัวฟื้นฟูตนเอง และบำบัดรักษาด้วยตนเองเมื่ออวัยวะนั้นหรือระบบ
นั้นๆ อ่อนแอ หรือเจ็บป่วย
วิชาพื้นฐานองการนวดเท้า
การนวดเท้าแบบไทยจึงมีวิธีการนวด และการกดจุดบนเท้าซึ่งผลที่อวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลได้ และเป็นการนวด โดยรวมเพื่อกระตุ้นตาม
แนวเส้นเอ็น 10 เส้น ที่มีความสำคัญต่อสุขภาพเพื่อกระตุ้นเส้นสายให้ลมเดินสะดวก โดยเริ่มจากฝ่าเท้า หลังเท้าแล้วไปที่ขา โดยใช้หลัก
ทฤษฎีเกี่ยวกับการนวดเท้า 3 ทฤษฎี
-ทฤษฎีเซลล์คู่แฝด
-ทฤษฎีเส้นพลังงาน
-ทฤษฎีการติดตั้งปั๊มหัวที่ 2 ที่ฝ่าเท้า
ประโยชน์ที่ได้รับจากการนวดเท้า
-ช่วยส่งเสริมสุขภาพโดยการกระตุ้นการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายให้ทำงานสมดุล
-ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย อ่อนเพลียของร่างกาย
-ช่วยส่งผลดีต่อสุขภาพจิต ทำให้รู้สึกสบายลดอาการตึงเครียด
-ช่วยบรรเทาโรคบางอย่าง เช่น ท้องผูก หืด ปวดหัว โรคไต นิ่วในถุงน้ำดี โรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ โรคเครียด ไมเกรน และไซนัส
เป็นต้น
วัตถุประสงค์ที่ใช้ในการนวดเท้า
-ชุดเก้าอี้นวด
-ไม้กดจุด
-ผ้าขนหนูสำหรับห่อพันเท้า
-ผ้าเย็นทำความสะอาดเท้า
-ครีมนวดเท้า
-ยาหม่องสำหรับนวดเท้า
ขั้นตอนในการให้บริการนวดเท้า
1.การเตรียมเท้า เพื่อนวดเท้าที่แข็งให้อ่อนลงและ เท้าที่เย็นให้อุ่นขึ้น
2.การขีดฝ่าเท้าด้วยไม่กดจุด เพื่อขีดนวดกระตุ้นบริเวณส่วนที่เป็นรายละเอียดของนิ้วซึ่งเป็นจุดสะท้อนบริเวณศีรษะ และใบหน้าทั้งหมด
3.การนวดกระตุ้นจุดสะท้อนที่เท้าด้วยมือ โดยนวดกระตุ้นจุดสะท้อนของอวัยวะต่างๆ ในร่างการทั้งหมดที่กลางฝ่าเท้า หลังเท้า และนวด
เท้าบริเวณนิ้วโป้ง
4.การกดจุดฝ่าเท้าด้วยไม้กดจุด หลักสำคัญคือตำแหน่งที่กดถูกต้อง น้ำที่กดเหมาะสม
5.การนวดขา และเข่าด้วยมือเป็นขั้นตอนเสริมเข้ามาเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยข้อต่อ เท้า เข่า น่อง
ข้อควรระวังองการให้บริการนวดเท้า
-ร่างการผู้ถูกนวดต้องอยู่ในสภาพผ่อนคลายมากที่สุด
-สถานที่นวดควรมีอากาศอบอุ่น
-ก่อนได้รับการนวดเท้า ผู้รับการนวดต้องล้างมือล้างเท้า
-ห้ามนวดหลังรับประทานอาหารอื่นๆ ใหม่ หลังดื่มสุรา หลังอาบน้ำเสร็จ ควรรอให้ร่างกายปรับเข้าสู่ภาวะปกติก่อน ผู้มีการเหนื่อยหอบ
ร่างกายอ่อนเพลียมาก ผู้เป็นโรคความดันโลหิต โรคหลอดเลือด หลอดน้ำเหลืองอักเสบหรืออุดตัน ผู้ที่มีโรคติดเชื้อ หรือมีไข้สูง สตรีมีครรภ์
หรือระหว่างมีประจำเดือน ผู้ที่มีกระดูกเท้าหัก ผิดรูป ผู้เป็นโรคหลอดเลือด หลอดน้ำเหลืองอักเสบ หรืออุดตัน ผู้ที่เป็นโรคผิวหนัง หรือมีแผลสด
แผลเปื่อยบริเวณเท้าถึงเข่า และผู้ที่มีกระดูกเท้าหัก หรือผิวรูป
ยาไทยกับการนวดไทย
การนวดไทย เป็นการดูแลสุขภาพโดยไม่ใช้ยาเป็นหลัก แต่ในบางกรณีจำเป็นต้องใช้ยาไทยประกอบนวด ไทยจึงจำเป็นต้องเรียนรู้หลักเภสัช
กรรมไทยเบื้องต้น และการใช้ยาไทยที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้
หลักเภสัชกรรมไทย
การศึกษาเภสัชกรรมไทย มีหลักสำคัญที่ต้องเรียนรู้อยู่ 4 ประการ ได้แก่
1.เภสัชวัตถุ (ตัวยา) วัตถุที่นำมาปรุงยา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1.1 พืชวัตถุ คือ พืชที่สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นยา เช่น ต้น ใบ เปลือก กระพี้ แก่น ราก เหง้า ดอกผล และเมล็ด ฯลฯ
1.2 สัตว์วัตถุ คือ ส่วนของสัตว์ที่สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นยา เช่น หนัง ขน กระดูก เขา เลือด ดี ฯลฯ
1.3 ธาตุวัตถุ คือแร่ธาตุที่สามารถนำมาใช้ประงเป็นยา การศึกษาเภสัชวัตถุต้องรู้จักถึง ชื่อ และลักษณะทางกายภาพเภสัชวัตถุ อันได้แก่
รูปร่าง สี กลิ่น และรส
2.สรรพคุณเภสัช (สรรพคุณยา) ในหลักของเภสัชกรรมไทยจำแนกฤทธิ์และสรรพคุณของตัวยาตามรสยา 9 รส รสฝาด หวาน เมาเบื่อ
ขม เผ็ด มัน หอมเย็น เค็ม และเปรี้ยว
3.คณาเภสัช
4.เภสัชกรรม
การอบ/ประคมสมุนไพร
การอบสมุนไพร เป็นการอบตัวด้วยไอน้ำที่ได้จากการต้มสมุนไพร เป็นวิธการบำบัดรักษาที่ต้น จากประสบการณ์การนั่งกระโจมอบ และสูด
ดมไอน้ำสมุนไพรในหลังคลอด ต่อมาเป็นที่นิยมทั่วไป จึงได้มีการอบตัวด้วยสมุนไพร 2 แบบคือ
อบแห้ง หรือซาวน่า (Sauna) ซึ่งคล้ายคลึงกับการอยู่ไฟของไทย
การอบเปียก โดยการพัฒนาการอบเข้ากระโจมมาเป็นห้องอบไอน้ำสมุนไพร โดยใช้หม้อต้อมสมุนไพรที่มีท่อส่งไอน้ำเข้าไปยังห้องอบ
การอบสมุนไพรช่วยให้การไหลเวียนของโลหิต น้ำเหลือง บริเวณผิวหนังดีขึ้น ส่วนไอน้ำจากสมุนไพรมีสรรพคุณตามคุณสมบัติของสมุนไพร
นั้นๆ
สมุนไพรที่อบ
สมุนไพรที่ใช้อบที่นิยมใช้มี 4 กลุ่มดังนี้
-สมุนไพรที่มีกลิ่มหอม เช่น ไพล ขมิ้น ผิวมะกรูด ต้นตะไคร้ ฯลฯ ซึ่งให้ประโยชน์ในการรักษาโรคอาการต่างๆ เช่น อาการคัดจมูก ปวดเมื่อย
และเวียนศีรษะ เป็นต้น
-สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว เช่น ใบมะขาม ใบและฝักส้มป่อย ผลมะกรูด สมุนไพรกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ วยชำระล้างสิ่งสกปรก บำรุงผิวพรรณ
-สมุนไพรที่เป็นสารประกอบที่ระเหยเมื่อผ่านความร้อนและมีกลิ่นหอม เช่น การบูร พิมเสน ช่วยรักษาอาการหวัด คัดจมูก เป็นต้น
-สมุนไพรที่ใช้รักษาเฉพาะโรค และอาการต่างๆ เช่น เหงือกปลาหมอ ทองพันชั่ง ช่วยรักษาโรคผิวหนังผื่นคัน เป็นต้น
ประโยชน์ของการอบสมุนไพร
-ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย คลายความตึงเครียด
-ช่วยชำระล้าง และขับของเสียออกจากร่างกายทางผิวหนัง
-ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น บรรเทาอาการบวม ปวดเมื่อย เหน็บชา ลมพิษ
-ช่วยทำให้ระบบการหายใจดีขึ้น และบรรเทาอาการโรคภูมิแพ้
-ช่วยบำรุงผิวพรรณ บรรเทาอาการผดผื่นคัน
-ช่วยบรรเทาปวดประจำเดือน
-ช่วยสตรีหลังคลอดให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น
-ช่วยป้องกันโรคหืด และอาการบางอย่าง เช่น ยอก เกาต์ อัมพฤต
ข้อควรระวังของการอบสมุนไพร
-ห้ามอบสมุนไพรหลังกินอาหารอิมใหม่ๆ ควรกินอาหารก่อนเข้าอบอย่างน้อย 30 นาที
-ห้ามอบสมุนไพรขณะมีไข้สูง หรือ หลังฟื้นไข้ใหม่ๆ
-ห้ามบุคคลเหล่านี้เข้าอบสมุนไพร เช่น วัณโรค โรคไวรัสตับอักเสบ ผู้ที่มีโรคประจำ เช่นโรคไต หัวใจ ลมชัก หอบหืด ระบบทางเดินหายใจ
โรคติดเชื้อ โรคความดันโลหิตสูง สตรีมีครรภ์ หรือขณะมีประเดือน ผู้ที่มีอาการอักเสบจากบาดแผล