มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขึ้นชื่อว่าเป็น “เมืองของการศึกษา ” เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศ และได้รับการยอมรับให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชนอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ใครจะรู้ว่าพื้นที่ของรอบรั้วมหาวิทยาลัยนี้เคยมี ตำนานหลอน ที่เล่าขานกันมานักต่อนักแล้ว…. วันนี้แคมปัส-สตาร์ รวบรวม 4 เรื่องราว ตำนานหลอน สุดเฮี้ยนมาให้ชาว มมส. ได้อ่านกัน ใครเคยเจอมาเข้ามาแชร์ประสบการณ์กันได้เลยนะ! 1. ตายคาลิฟท์ตึก RNเรื่องมันเกิดตอน ช่วงปิดเทอมในช่วงซัมเมอร์เมื่อ 20 กว่าปีมาแล้วมีนักศึกษาหญิงคนหนึ่ง ได้ลงลิฟท์ในช่วงเวลาหนึ่งทุ่มกว่าๆ หลังจากสอบเสร็จในวิชาสุดท้ายจากชั้น 7 ของตึกที่เรียนรวม ทำให้นักศึกษาตัดสินใจลงลิฟท์แทนการขึ้นลงบันไดเพื่อจะกลับบ้าน ในขณะเดียวกัน รปภ.ที่เฝ้าดูแลตึกนี้ได้กดสวิชต์ตัดไฟ เพราะคิดว่านิสิตได้ลงมาจากตึกจนหมดแล้ว ทำให้ไฟในลิฟท์หยุดชะงักนักศึกษาหญิงคนดังกล่าวได้ติดอยู่ในลิฟท์และขาดอากาศหายใจ เสียไปในที่สุด ช่วงเวลาเปิดเทอมการเริ่มต้นในการศึกษาถือว่าเป็นข่าวที่ดังในรอบหลายๆ ปีเพราะศพของนักศึกษาหญิงคนดังกล่าวถูกติดแหง็กอยู่ในลิฟท์จนแห้ง หลังจากพิสูจน์หลักฐานพบว่า ช่วงเวลาที่นักศึกษาคนดังกล่าวติดอยู่ในลิฟท์เป็นเวลา ถึง 3 เดือนในวันสุดท้ายของการสอบ ตลอดระยะเวลาไม่มีใครสอบว่ามีนิสิตติดในลิฟท์ จนไม่ได้รับการช่วยเหลือถึงแก่ชีวิต ปัจจุบันถึงแม้ลิฟท์ดังกล่าวจะถูกถอนออกไปแล้วแต่บริเวณพื้นที่ลิฟท์ก็ถูกสั่งปิดตายห้ามขึ้นใช้ในบริเวณฝั่งซ้ายเพื่อไว้อาลัยแกนักศึกษาหญิง วันดีคืนดีอาจารย์ บุคลากร รวมทั้งนิสิตที่มีเรียนในช่วงตอนดึกจะเห็นมีผู้หญิงยืนหน้าลิฟท์ส่งเสียงร้องว่าช่วยด้วยจนในปัจจุบัน ถ้าเกินสี่โมงเย็นเป็นต้นไปจะเห็นว่าทั้งอาจารย์ บุคลากรรวมทั้งนิสิตเองนั้นถึงม้จะมีเรียนชั้น 7 -8 ก็จะเดินขึ้นบันไดและหลบหลีกบริเวณลิฟท์ดังกล่าวเพราะต่างหวาดกลัวกับความหลอนของนิสิตสาวที่มีจิตผูกติดในสถานที่นั้น 2. ซอยหนองไผ่เดิมทีซอยหนองไผ่เดิมทีเป็นทางเกวียนเล็กๆ ใช้สำหรับลำเลียงศพเพื่อนำไปฝังที่กลางป่าช้า ซึ่งปัจจุบันป่าช้าได้ถูกถางออกปรับเปลี่ยนเป็นแปลงปลูกหม่อนข้างคอนโดอาจารย์ ตามคติความเชื่อของคนภาคอีสาน เด็กที่ยังอายุไม่ถึง 12 ปี จะถูกนำไปฝังซึ่งที่ฝังปัจจุบัน ก็คือป่าหม่อนข้างคอนโดอาจารย์ ส่วนศพที่ต้องการไปเผา ก็จะนำไปเผาที่เชิงตะกอนชายป่าช้า ซึ่งเป็นที่ตั้งของ อบต.ขามเรียง ในปัจจุบัน ซอยหนองไผ่ อยู่บริเวณข้างร้านซ้อมมอเตอร์ไซค์โพธิ์ฯ จากปากซอยจนไปถึงหอหลังแรกของซอยมีระยะทางประมาณเกือบ 200 เมตร จากทางเข้าด้านซ้ายมือจะเป็นหนองน้ำ ส่วนด้านขวามือจะเป็นป่าละเมาะ เรื่องที่จะเตือนต่อไปนี้ จะเป็นเรื่องของ 200 เมตร ที่จะชี้ชะตาคุณ ว่า ถ้าคุณไม่ปฏิบัติตามคำเตือนคุณจะพบกับอะไรบ้าง 3. อุโมงค์ผีผ่านว่ากันว่า อุโมงค์ มอเก่า สร้างขึ้นเพื่อให้ คนเดินลอดข้ามฝั่ง ได้ปลอดภัย เพราะเวลาผู้ปกครองมาส่งลูกหลาน ทั้งตัวผู้ปกครองเอง และเด็กนักเรียนเอง ถูกรถชน ทั้งบาดเจ็บและเสียชีวิตบ่อยครั้ง ทั้งนิสิตเอง ที่จะข้ามไปเรียน ระหว่างตึกก็เช่นเดียวกัน ทางการจึงได้สร้างอุโมงค์ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ แต่ในทางกลับกันการสร้างอุโมงค์เพื่อแก้ปัญหากลับสร้างอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตของคนเพิ่มมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อนสิบกว่าปีตอนที่ช็อปปั้นของศิลปกรรมยังอยู่ที่มอเก่า ตอนที่กำลังสร้างอุโมงค์ เจ้าหน้าที่ขุดทางเป็นช่องแล้วแต่ยังไม่ได้ปิดถนนด้านบน (ลักษณะเหมือนถนนขาด) มีมอเตอร์ไซค์ขับมาเร็วมาก เบรคไม่ทัน!! ตกลงไปคอหักตาย!! รุ่นพี่วิ่งไปดูเห็นกับตา ตายคาที่ อีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ประมาณปี 2553 มีเหตุนิสิตหญิงคณะการบัญชีและการจัดการ ประสบอุบัติเหตุ 2 คนเป็นพี่น้องกัน ขี่มอไชต์มาจากทางวิทยาลัยพลศึกษามาถึงตรง ยูเทิร์น หน้ามอเก่ามีรถยนต์มาขับมาด้วยความเร็วยูเทิร์นรถพอดีและด้วยความที่ไม่ทันระวังจึงชนเข้ากับสองพี่น้องนั้นอย่างแรง คนแรกเสียชีวิตทันที คนที่สองเสียชีวิตระหว่างนำส่งโรงพยาบาล และเหตุการณ์สุดท้ายที่ต้องทำให้ อุโมงค์นี้ถูกปิดไปพักใหญ่คือเหตุการณ์ที่มีนิสิตหญิง ถูกฆ่าปาดคอใต้อุโมงค์ เมื่อประมาณปี 2554 ขณะนั้นมีเสียล่ำลือกันถึงเงาผู้หญิงใต้อุโมงค์กันเป็นจำนวนมาก เป็นหญิงสาวที่วิญญาณยังคงวนเวียนอยู่บริเวณนั้นเพื่ออยากจะบอกกับคนที่ผ่านไปผ่านมาว่าเธอยังอยู่ที่นี้ มหาวิทยาลัยจึงต้องปิดปรับปรุงอุโมงค์นี้ ด้วยเหตุผลที่ว่า ซ่อมแซมอุโมงค์ ทั้งๆ ที่ อุโมงค์นี้ไม่ได้มีอะไรเสียหายเลย ความเฮี้ยนถูกเล่าต่อกันมารุ่นต่อรุ่นจงเป็นที่ติดปากกันว่า ” อุโมงค์อาถรรพ์ ” 4. ตำนาน บ้านอีสานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หรือที่เด็ก มมส. เรียกกันว่า บ้านอีสาน เป็นสถานที่รวบรวมเด็กหลายคณะมาใช้เวลาว่างในการพักผ่อน รวมทั้งใช้ในการซ้อมการเปิดตัว ก่อนทำการแสดงของคณะศิลปกรรม คณะดุริยางค์ศิลป์อยู่บ่อยๆ ใครจะรู้ว่าสถานที่ที่เราคุ้นเคยเช่นนี้จะมีที่มาที่ชวนขนหัวลุก พิพิธภัณฑ์ มมส. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2542 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสื่อสารถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากเดิมทีที่เจ้าของบ้านดังกล่าวได้เสียชีวิตในบริเวณของพื้นที่มหาวิทยาลัย ทางมมส.เลยขอซื้อสถานที่ดังกล่าวเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ จากนั้นมหาวิทยาลัยก็ได้ขอจัดซื้อเข้ามาอยู่ในพิพิธภัณฑ์ จริงๆ มีอยู่ สองสถานที่ที่มีบ้านโบราณนี้อยู่นั้นคือ สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช ทางพระธาตุนาดูน กับ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่ ) บ้านหลังใหญ่นั้นส่วนใหญ่เป็นของเจ้านายในสมัยก่อน ส่วนหลังเล็กนั้นจะเป็นของบ่าวไพร่ และบริวารของเจ้านาย ทุกบ้านมีเจ้าของอยู่แล้วมีนิสิตบางคน เข้าไปสำรวจแล้วมักจะเจอสิ่งแปลกประหลาดกลับมาทุกครั้ง มักจะเจอเหมือนมีคนเสมือนว่าอยู่ในบ้าน ทำโน้นทำนี้ แต่แท้ที่จริงแล้ว ไม่มีใครอยู่ในนั้นเลย ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เจอเป็นคนแก่ ผู้ชายบ้าง ผู้หญิงแก่บ้างแทบทั้งนั้น!! ยามที่อยู่บริเวณนั้น คอยดูแลยังพบเจออยู่ จึงมีการเปลี่ยนผลัดยามบ่อยๆครั้ง(ขอย้ายหรือลาออก) เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ถึงบ้านจะยังคงเก่า แต่เจ้าของบ้านยังคงรักและผูกพันธ์ ดูแลบ้านของตัวเอง หากใครไปทำข้าวของเสียหายหรือขโมยไปอาจจะต้องได้เจอดีกันทุกคน
|