พุกาม เมืองแห่งทะเลเจดีย์
พุกาม(Bagan) เมืองในประเทศพม่า เคยเป็นที่ตั้งอาณาจักรโบราณพุกามเป็นอาณาจักรแห่งแรกในประวัติศาสตร์พม่า พุกามเป็นเมืองที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ทั้ง ๆที่มีคุณสมบัติเต็มพร้อมปัจจุบันรัฐบาลทหารพม่ากำลังพยายามเร่งเสนอชื่อและเตรียมความพร้อมให้เป็นมรดกโลกทางศิลปวัฒนธรรมแห่งต่อไป อาณาจักรพุกาม (Pagan Kingdom) เป็นอาณาจักรโบราณในช่วง พ.ศ. 1587 - พ.ศ. 1830พุกามเป็นอาณาจักรและราชวงศ์แห่งแรกในประวัติศาสตร์พม่ามีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพุกามในปัจจุบัน เดิมมีชื่อว่า "ผิวคาม" (แปลว่าหมู่บ้านของชาวผิว) เป็นเมืองเล็ก ๆ ริมทิศตะวันออกของแม่น้ำอิระวดีสภาพส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายแห้งแล้ง เป็นที่อยู่ของชาวผิวซึ่งเป็นชนพื้นเมือง ในปี พ.ศ. 1587 พุกามถูกสถาปนาโดยพระเจ้าอโนรธามังช่อพระองค์ต้องทำสงครามกับชาวมอญที่อยู่ทางใต้จึงได้สถาปนาชื่ออย่างเป็นทางการของพุกามว่า "ตะริมันตระปุระ"(หมายความว่า เมืองที่ปราบศัตรูราบคาบ)
รอบ ๆ เมืองพุกาม มีหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อ "มินดาตุ" ซึ่งเป็นเขตเมืองโบราณ 4 แห่ง ล้อมรอบอยู่ด้วย ในรัชสมัยพระเจ้าจานสิตา กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พุกามเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดมอญที่อยู่ยังหงสาวดีทางตอนใต้ได้ทำสงครามชนะพุกามและครอบครองดินแดนของพุกามไว้ได้พระองค์จึงรวบรวมชาวพม่าและชาวมอญบางส่วนตีโต้คืนจึงสามารถยึดพุกามกลับมาไว้ได้ พุกามเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดทางด้านศิลปวิทยาการในสมัยพระเจ้าอลองสิธู ใน พ.ศ.1687 พระองค์ได้โปรดให้สร้างเจดีย์ชื่อ "ตะเบียงนิว" (แปลว่าเจดีย์แห่งความรู้) ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในพุกามไว้ด้วย
กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์พุกาม คือ พระเจ้านรสีหบดีสร้างเจดีย์องค์สุดท้ายแห่งพุกามเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 1819และเมื่อสร้างเจดีย์องค์นี้เสร็จ ได้มีผู้ทำนายว่าอาณาจักรพุกามจะถึงกาลอวสาน ซึ่งต่อมาก็เป็นจริงดังนั้นเมื่อกองทัพมองโกลยกทัพเข้ามาบุกในปี พ.ศ. 1827และพุกามถึงคราวล่มสลายในปี พ.ศ. 1830 รวมระยะเวลาแล้ว 243 ปีมีกษัตริย์อยู่ทั้งหมดทั้งสิ้น 11 พระองค์
พุกามปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Division) อยู่ห่างประมาณ 90ไมล์ หรือ 145 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมัณฑะเลย์ แบ่งออกเป็น 3ส่วน ได้แก่ เขตเมืองเก่า (เขตที่ตั้งอาณาจักรพุกาม) เขตเมืองใหม่(เขตที่อยู่อาศัยปัจจุบัน) และยองอู (เขตพาณิชยกรรมและเศรษฐกิจ)มีสนามบินชื่อ สนามบินยองอู เป็นสนามบินประจำเมือง รายได้หลักของเมืองคือการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์มีนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกมาเยือนที่นี่เสมอทุกช่วงปีโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากแถบเอเชียด้วยกัน
พุกามได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งทะเลเจดีย์ หรือ ดินแดนแห่งเจดีย์สี่พันองค์เพราะในสมัยรุ่งเรืองเคยมีเจดีย์มากมายถึง 4,446 องค์ปัจจุบันเหลือแค่เพียง 2,217 องค์ เจดีย์แห่งแรกของพุกามคือเจดีย์ชเวสิกอง สร้างโดยพระเจ้าอโนรธามังช่อ ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกามโดยธรรมเนียมการสร้างเจดีย์เจดีย์องค์ใหญ่สุดจะเป็นเจดีย์ที่กษัตริย์ทรงสร้างและองค์ที่มีขนาดเล็กถัดมา เป็นการสร้างโดยเหล่าขุนนาง อำมาตย์ลดหลั่นลงมาตามบรรดาศักดิ์
นอกจากเจดีย์ชเวสิกองแล้ว ยังมีเจดีย์สำคัญ ๆ อีกหลายองค์และวัดสำคัญ ๆอีกเช่น เจดีย์ชเวซันดอ, อานันทวิหาร, เจดีย์ตะเบียงนิว, วัดพะยาตองซูเป็นต้น
พุกาม(Bagan) เมืองในประเทศพม่า เคยเป็นที่ตั้งอาณาจักรโบราณพุกามเป็นอาณาจักรแห่งแรกในประวัติศาสตร์พม่า พุกามเป็นเมืองที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ทั้ง ๆที่มีคุณสมบัติเต็มพร้อมปัจจุบันรัฐบาลทหารพม่ากำลังพยายามเร่งเสนอชื่อและเตรียมความพร้อมให้เป็นมรดกโลกทางศิลปวัฒนธรรมแห่งต่อไป อาณาจักรพุกาม (Pagan Kingdom) เป็นอาณาจักรโบราณในช่วง พ.ศ. 1587 - พ.ศ. 1830พุกามเป็นอาณาจักรและราชวงศ์แห่งแรกในประวัติศาสตร์พม่ามีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพุกามในปัจจุบัน เดิมมีชื่อว่า "ผิวคาม" (แปลว่าหมู่บ้านของชาวผิว) เป็นเมืองเล็ก ๆ ริมทิศตะวันออกของแม่น้ำอิระวดีสภาพส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายแห้งแล้ง เป็นที่อยู่ของชาวผิวซึ่งเป็นชนพื้นเมือง ในปี พ.ศ. 1587 พุกามถูกสถาปนาโดยพระเจ้าอโนรธามังช่อพระองค์ต้องทำสงครามกับชาวมอญที่อยู่ทางใต้จึงได้สถาปนาชื่ออย่างเป็นทางการของพุกามว่า "ตะริมันตระปุระ"(หมายความว่า เมืองที่ปราบศัตรูราบคาบ)
รอบ ๆ เมืองพุกาม มีหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อ "มินดาตุ" ซึ่งเป็นเขตเมืองโบราณ 4 แห่ง ล้อมรอบอยู่ด้วย ในรัชสมัยพระเจ้าจานสิตา กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พุกามเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดมอญที่อยู่ยังหงสาวดีทางตอนใต้ได้ทำสงครามชนะพุกามและครอบครองดินแดนของพุกามไว้ได้พระองค์จึงรวบรวมชาวพม่าและชาวมอญบางส่วนตีโต้คืนจึงสามารถยึดพุกามกลับมาไว้ได้ พุกามเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดทางด้านศิลปวิทยาการในสมัยพระเจ้าอลองสิธู ใน พ.ศ.1687 พระองค์ได้โปรดให้สร้างเจดีย์ชื่อ "ตะเบียงนิว" (แปลว่าเจดีย์แห่งความรู้) ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในพุกามไว้ด้วย
กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์พุกาม คือ พระเจ้านรสีหบดีสร้างเจดีย์องค์สุดท้ายแห่งพุกามเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 1819และเมื่อสร้างเจดีย์องค์นี้เสร็จ ได้มีผู้ทำนายว่าอาณาจักรพุกามจะถึงกาลอวสาน ซึ่งต่อมาก็เป็นจริงดังนั้นเมื่อกองทัพมองโกลยกทัพเข้ามาบุกในปี พ.ศ. 1827และพุกามถึงคราวล่มสลายในปี พ.ศ. 1830 รวมระยะเวลาแล้ว 243 ปีมีกษัตริย์อยู่ทั้งหมดทั้งสิ้น 11 พระองค์
พุกามปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Division) อยู่ห่างประมาณ 90ไมล์ หรือ 145 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมัณฑะเลย์ แบ่งออกเป็น 3ส่วน ได้แก่ เขตเมืองเก่า (เขตที่ตั้งอาณาจักรพุกาม) เขตเมืองใหม่(เขตที่อยู่อาศัยปัจจุบัน) และยองอู (เขตพาณิชยกรรมและเศรษฐกิจ)มีสนามบินชื่อ สนามบินยองอู เป็นสนามบินประจำเมือง รายได้หลักของเมืองคือการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์มีนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกมาเยือนที่นี่เสมอทุกช่วงปีโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากแถบเอเชียด้วยกัน
พุกามได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งทะเลเจดีย์ หรือ ดินแดนแห่งเจดีย์สี่พันองค์เพราะในสมัยรุ่งเรืองเคยมีเจดีย์มากมายถึง 4,446 องค์ปัจจุบันเหลือแค่เพียง 2,217 องค์ เจดีย์แห่งแรกของพุกามคือเจดีย์ชเวสิกอง สร้างโดยพระเจ้าอโนรธามังช่อ ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกามโดยธรรมเนียมการสร้างเจดีย์เจดีย์องค์ใหญ่สุดจะเป็นเจดีย์ที่กษัตริย์ทรงสร้างและองค์ที่มีขนาดเล็กถัดมา เป็นการสร้างโดยเหล่าขุนนาง อำมาตย์ลดหลั่นลงมาตามบรรดาศักดิ์
นอกจากเจดีย์ชเวสิกองแล้ว ยังมีเจดีย์สำคัญ ๆ อีกหลายองค์และวัดสำคัญ ๆอีกเช่น เจดีย์ชเวซันดอ, อานันทวิหาร, เจดีย์ตะเบียงนิว, วัดพะยาตองซูเป็นต้น
|