ประวัติพระแก้วมรกต พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่อมใสของผู้คนในภูมิภาคแหลมทองมาเป็นเวลานาน เริ่มตั้งแต่ดินแดนถิ่นนี้ยังเป็นอาณาจักรต่างๆ มิได้รวมกันเป็นประเทศอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พอรวบรวมได้ว่าองค์พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในประมาณ ปี พ.ศ. 500 โดยพระนาคเสนเถระ เมืองปาฏลีบุตร อินเดีย เข้ามาสู่ดินแดนของไทยครั้งแรกในอาณาจักรอโยธยา จากนั้นอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระแก้วเมืองชากังราวหรือกำแพงเพชร จากกำแพงเพชรได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระแก้วเชียงรายเป็นเวลา 45 ปี จากนั้นก็อัญเชิญลงมาประดิษฐานที่ลำปางอีก 32 ปี จากลำปางอัญเชิญขึ้นเหนือไปประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง จ. เชียงใหม่ เป็นเวลา 85 ปี จากเชียงใหม่ไปประดิษฐานที่เมืองเวียงจันทร์ 225 ปี แต่เก่าก่อนตอนปลายสมัยอยุธยา เมืองเวียงจันทน์ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา ครั้งเมื่อกรุงศรีอยุธยามีศึกหนักกับพม่าจนตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ทางเวียงจันทน์ถือโอกาศแข็งเมืองแยกตัวเป็นอิสระ จนกระทั่งพระเจ้าตากกอบกู้เอกราชได้และตั้งราชธานีใหม่จึงได้ส่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปตีเมืองเวียงจันทน์ให้กลับมาเป็นเมืองขึ้นเหมือนเดิม ศึกครั้งนั้นทัพของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้รับชัยชนะโดยเด็ดขาดจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับคืนสู่แผ่นดินไทย ครั้งแรกเมื่ออัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมายังประเทศไทยในสมัยกรุงธนบุรีได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ที่วิหารน้อยวัดอรุณราชวราราม ประดิษฐานอยู่ที่วัดอรุณฯ เป็นเวลา 5 ปี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเมื่อชนะศึกเมืองเวียงจันทน์และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมาก็เกิดความยินดี ดั่งว่าพระแก้วมรกตเป็นพระคู่บารมีคู่บ้านคู่เมือง ครั้นเมื่อสิ้นกรุงธนบุรีเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกขึ้นเป็นมหากษัตริย์ได้สำเร็จ และได้ตั้งเมืองขึ้นใหม่มีชื่อว่า กรุงรัตนโกสินทร์ นัยว่าเป็นชื่อที่มีที่มาจากพระแก้วมรกต กรุง แปลว่า เมือง รัตน แปลว่าแก้ว โกสินทร์ แปลว่าพระอินทร์ ซึ่งพระอินทร์จะมีองค์สีเขียว รวมระยะเวลาที่องค์พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2321 จนถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลา 227 ปี พระแก้วมรกต ท่านได้ไปประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใด ที่นั้นก็จะมีแต่ความสุขเจริญรุ่งเรือง เมื่อมีสิ่งศักดิ์อยู่คู่บ้านคู่เมืองของเราแล้วก็ขอเชิญท่านทั้งหลายไปกราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวท่านเอง | พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่ประดิษฐานองค์พระแก้วมรกต
|
|
รอยประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระแก้วมรกต หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระแก้วมรกต มีทั้งเป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานทางโบราณคดี ในส่วนที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นได้ปรากฎอยู่ในเอกสารโบราณมากมาย อาทิเช่น เรื่องรัตน์พิมพ์วงค์ ตำนานพระแก้วมรกต เรื่องพระรัตนปฏิมา ในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ พงศาวดารเหนือ ราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา ตำนานพระแก้วมรกตฉบับหลวงพระบาง และพงศาวดารโยนก เป็นต้น จากเอกสารดังกล่าว สามารถประมวลได้ว่า พระแก้วมรกต สร้างขึ้นจากความดำริของพระนาคเสนเถระ แห่งเมืองปาตลีบุตร ในชมพูทวีป ( ประเทศอินเดียวในปัจจุบัน ) เมื่อประมาณ พ.ศ.500 จากนั้นก็ได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามเมืองสำคัญต่างๆ ตามลำดับ ดังนี้ เกาะลัง เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๘๐๐ เมืองนครธม ในอาณาจักรขอมโบราณ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๐๐๐ เมืองอโยชปุระ หรือเมืองอโยธยาโบราณ ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช เมืองกำแพงเพชร ในสมัยพระยะาวิเชียรปราการ เมืองเชียงราย ในสมัยเจ้ามหาพรหม นครเขลางค์ หรือเมืองลำปาง ระหว่างปี ๑๘๗๙ - พ.ศ. ๒๐๑๑ เมืองเชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๑๑ - พ.ศ. ๒๐๙๖ ในสมัยพระเจ้าติโลกราช เมืองหลวงพระบาง ในปี พ.ศ. ๒๐๙๖ เมืองเวียงจันทร์ จนถึง พ.ศ. ๒๓๒๑ กรุงธนบุรี ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๑ - พ.ศ. ๒๓๒๗ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๒๗ จนถึงปัจจุบัน
ด้านหลักฐานทางโบราณคดี ปัจจุบันในภาคเหนือของประเทศไทยยังคงปรากฏร่องรอยในโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับพระแก้วมรกตอยู่อย่างชัดเจนในหลายพื้นที่ ได้แก่ โบราณสถานวัดพระแก้ว ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เจดีย์โบราณ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม จังหวัดลำปาง เจดีย์หลวง ในวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ เจดีย์โบราณ ในวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย
เรื่องตำนานพระแก้วมีหลายฉบับอาจจะผิดพลาดในเรื่องของเวลาและการกำหนดปีพุทธศักราชอยู่บ้าง แต่สิ่งเป็นจริงที่แน่แท้ไม่ผิดเพี้ยนคือปัจจุบันนี้พระแก้วมรกต ประดิษฐานอยู่ในประเทศไทยของเรา ที่วัดพระแก้ว หรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาติไทยมาช้านาน สถานที่ต่างๆ ที่เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตล้วนมีความสำคัญในแง่ของความศรัทธาและความเชื่อของผู้คนท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่มีศิลปะที่งดงามในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น หากมีเวลาจึงขอเชิญชวนทุกท่านเดินท่องเที่ยวเยือนเมืองเหนือกราบรอยพระแก้วมรกตเพื่อความเป็นสิริมงคลและยังได้ท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ ที่มีความสวยงามทั้งศิลปะวัฒนธรรมและธรรมชาติ | [size=-1]พระ แม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ เป็นพระโบราณทรงบำเพ็ญสำเร็จพระโพธิญาณด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่เมื่ออดีตอันยาวนานจนมิอาจคำนวณนับจำนวนกัปกัลป์ได้ โพธิจิตของพระองค์ท่านได้สำเร็จด้วยการพิจารณาจนถึงที่สุดแห่งกระแสเสียง และทรงนิ่งอยู่ในอารมณ์ธรรมชาติของกระแสนั้น จนบรรลุถึงจุดนิ่งสุดของความนิ่งทั้งปวง อันเป็นธรรมชาติแห่งสุญญตา ด้วยจิตที่นิ่งที่สุดในสุญญตานี้ จึงทรงเป็นอกริยาที่เหนือผัสสะ ความเกิดดับ ความหวั่นไหว และไม่หวั่นไหวทั้งปวง เสียงของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนในทุกหนทุกแห่ง ล้วนอยู่ในสายตาความรู้เห็นของพระองค์ทั้งสิ้น ไม่มีเสียงใดในโลกหรือนอกโบกที่จะพ้นไปจากพระกระแสแห่งความรู้เห็นของ พระองค์พระนามของพระองค์ “กวนอิม” จึงมีความหมายที่ลึกซึ้งว่า “ผู้เงี่ยหูฟังเสียงร้องของโลก” | | [size=-1]ด้วยพระบารมีอันสั่งสมมานานของพระองค์ท่าน จึงทรงสามารถสำแดงแปลงพระกายได้ถึงพันพระเศียรพันพระกร พันพระเนตร ตลอดจนสามารถเนรมิตกายเพื่อโปรดสรรพสัตว์ในรูปกายต่าง ๆ ได้มากมายมหาศษลตามที่ปรากฏในพระสัทธธรรมปุณฑริกสูตรฉบับภาษาจีน (เมียวฮวบไหน่ฮัวเกง) ได้กล่าว่า พระองค์ท่านมีนิรมาณกาย 32 ปางใหญ่ ด้วยบุญญาภินิหารและอิทธิปาฏิหาริยันล้นพ้นของพระองค์ท่านทรงโปรดสรรพสัตว์ สุดที่จะประมาณได้ ซึ่งไม่มีพระโพธิสัตว์องค์ใดที่จะโปรดได้มากเสมอเหมือน | | | | [size=-1]ปางที่ชาวโลกนิยมบูชาพระองค์ท่านมากที่สุดคือ ปางเพศสตรีโดยชาวพุทธมหายานในประเทศอินเดียเอ่ยพระนามพระองค์ท่านตามภาษาสันสกฤตว่า “อวโลกิเตศวร” ครั้นพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน จึงได้รับการแปลชื่อพระองค์ท่านตามศัพท์เป็นภาษาจีนว่า “กวนซืออิม” ซึ่งพระธรรมาจารย์กุมารชีพได้แปลความหมายว่า “ผู้เพ่งเสียงแห่งโลก” ต่อมาเนื่องจากคำว่า “ซือ” ไปตรงกับพระนามของจักรพรรดิถังไท่จง คือ หลี่ซือหมิง ดังนั้นจึงมีพระราชโองการให้ตัดคำว่า “ซือ” ออกเหลือแต่คำว่า “กวนอิม” นอกจากพระนามกวนอิมนี้แล้ว ก็ยังมีบางคนเอ่ยพระนามพระองค์ท่านว่า “กวนจื๋อไจ๋” ซึ่งสมณะเฮียนจั่งหรือที่ชาวไทยรู้จักกันดีในนามพระถังชำจั๋ง ได้เป็นผู้แปลใหม่มีความหมายว่า “ผู้เพ่งโดยอิสระ” แต่คนทั่วไปยังนิยมออกพระนามว่า “พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์” พระแม่มหาเมตตา มาจนทุกวันนี้ | | [size=-1]ด้วยพระนามที่ขึ้นต้นด้วย “พระแม่” นี้ ทำให้บางคนคิดว่าพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ ทรางเป็นเพศสตรีอันอ่อนแอ ต่ำต้อยกว่าบุรุษ ซึ่งสำหรับปุถุชนทั่วไปแล้วย่อมเป็นเล่นนั้น แต่สำหรับพระองค์ท่านย่อมอยู่เหนือกฏเกณฑ์ เพราะคำว่า “เพศ” นี้ มีอยู่เฉพาะในมวลสัตว์ และใช้สำหรับผู้ที่ยังไม่สำเร็จเท่านั้น พระอริยเจ้าทุกพระองค์หรือผู้ที่สำเร็จแล้วย่อมอยู่เหนือคำว่าเพศ พระองค์ท่านทรงโปรดสรรพสัตว์ด้วยรูปปางต่าง ๆ ตั้งแต่ปางพุทธะลงมาจนถึงปางเทพ ยักษ์ มนุษย์ และอมนุษย์ โดยไม่จำกัดทั้งเพศและวัย รูปปางที่ปรากฏตามเพศวัยต่าง ๆ ในการโปรดสัตว์ของพระองค์ท่านนี้ เป็นภาวะที่เกินปัญญาของคนธรรมดาจะรู้ได้ พระองค์ท่านก็ทรงเป็นพระองค์ท่าน ปรากฏการณ์ก็คือปรากฏการณ์ การจะจำกัดพระองค์ท่านในรูปปางนั้น เพศนั้น วัยนั้น ตามปรากฏการณ์เสียทีเดียวย่อมไม่น่าจะถูกต้อง เพราะด้วยจิตศรัทธาที่แน่วแน่มั่นคง การบูชาย่อมเป็นประโยชน์ และเข้าถึงพระองค์ท่านได้โดยไม่จำกัดว่าเป็นรูปปางใด | | | | [size=-1]ส่วน คำว่ากรรมหรือกฎแห่งกรรมนั้น เป็นสิ่งคู่ไปกับการเกิดดับในสรรพสัตว์ เหมือนเงาตามตัวโดยไม่มีการยกเว้น แต่สำหรับพระองค์ท่านมูลเหตุแห่งกรรม ได้ระงับไปด้วยจิตแห่งสุญญตา อันเป็นภาวะที่เหนือทั้งเกิดดับ และกรรมทั้งปวง เมื่อกรรมไม่มี กฎแห่งกรรมก็ไม่เกิด พระองค์ท่านจึงทรงเหนือซึ่งความหมายของคำว่าเพศ กรรม และกฎแห่งกรรม ด้วยอำนาจแห่งธรรมชาติของสุญญตา ผู้ที่บูชาพระองค์ท่านด้วยความเพียร หากมีความปรารถนาที่จะได้คู่ครอง ปรารถนาที่จะได้บุตรธิดา ปรารถนาที่จะมีทรัพย์สมบัติปรารถนาที่จะมีสุขภาพแข็งแรง ปรารถนาที่จะได้ฌานสมาบัติ ปรารถนาที่จะได้มรรคผลนิพพาน ความปรารถนาทั้งหมดนี้ก็จะสามารถสมหวังได้ ด้วยอำนาจแห่งพระบารมีของพระองค์ | | [size=-1]คำว่า “แม่” นอกจากจะมีความหมายสำคัญอยู่ที่การเป็นผู้ให้กำเนิดแล้ว ยังเป็นคำที่ดีที่สุด มีความหมายที่สุด สำคัญที่สุด ประเสริฐที่สุด มีคุณค่าที่สุด ลึกซึ้งที่สุด อบอุ่นที่สุด เมตตาที่สุด ให้อภัยที่สุด น่ายกย่องที่สุด และน่าเคารพรักบูชาที่สุด ไม่มีคำใดในโลกนี้จะมีค่าเหมือน ไม่มีคำในโลกนี้จะอบอุ่นเกิน ไม่มีความรักใดในโลกนี้จะบริสุทธิ์เท่า ไม่มีความรักใดในโลกนี้ที่จะยิ่งใหญ่เกิน เป็นความรักที่เต็มใจเสียสละและพร้อมจะให้ได้ทุกอย่าง เป็นความรักที่เปี่ยมด้วยความเมตตาอย่างสุดซึ้ง ไม่มีสิ่งใดที่จะให้ไม่ได้สำหรับความรักของคำว่า “แม่” จากความสำคัญทั้งหมดดังกล่าวนี้ คำว่า “แม่” จึงได้ปรากฏรวมอยู่ในพระนามของพระองค์ท่านด้วย อันเป็นการแสดงถึงความยกย่องที่สุด นอบน้อมที่สุด เคารพบูชาที่สุด | | [size=-1]การ บูชาพระองค์ท่านจะทำให้มีความรู้สึกเหมือนอยู่กับแม่ อยู่ใกล้แม่ ในโลกนี้ไม่มีผู้ใดจะรู้และเข้าใจถึงเสียงของสรรพสัตว์สรรพสิ่งได้ดีเท่า พระองค์ และไม่มีผู้ใดในโลกจะเมตตาเกินพระองค์ จงไว้วางใจในความรักความเมตตาของพระองค์ท่าน และมอบถวายความรักความบูชาไว้กับพระองค์ผู้ที่อยู่ใต้ความรักความเมตตาของ พระองค์ เคราะห์กรรมภัยพิบัติจะดับสูญ ทุกสิ่งจะคลี่คลายไปในทางที่ดี ชีวิตจะร่มเย็นเป็นสุขสมปรารถนาด้วยพระบารมี |
|