ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
ดู: 998|ตอบกลับ: 8

เสือทัสมาเนีย

[คัดลอกลิงก์]
 นักศึกษาภาคพิเศษ (M.D.A)
ปริญญากิตติมศักดิ์

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ



เสือทัสมาเนีย เสือที่สูญพันธุ์ จาก ออสเตรเลีย

เสือทัสมาเนีย (Tasmanian Tiger) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หมาป่าทัสมาเนีย หรือ (Tasmanian Wolf) ส่วนอีกชื่อหนึ่งนั้น ตามชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Thylacine เสือตัวที่ว่านี้ทำให้โลกหันมาสนใจ เพราะเป็นสัตว์กินเนื้อที่หายากจนนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ ลงความเห็นว่าสูญพันธุ์หมดไปจากโลกนี้แล้ว แต่ก็มีข่าวคราวว่าพบเสือทัสมาเนียนี้กันบ่อยครั้ง ก็ไม่ทราบว่าจริงหรือเท็จ เพราะไม่มีภาพถ่ายที่ยืนยันการพบปะกับเสือที่ว่านี้ได้ (ใครจะไปคิดว่าจะเจอหรือพกกล้องติดตัวไปด้วยตลอดเวลา) แต่ก็มีหลักฐานมากมายว่ามีการพบเสือที่ว่านี้บ่อยครั้งขึ้น หลายคนภาวนาให้เป็นอย่างนั้น เมื่อ พ.ศ.2538 มีเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ของทัสมาเนียผู้หนึ่งพบร่องรอยของเสือชนิดนี้ ทางตะวันออกของทัสมาเนีย นับเป็นการค้นพบครั้งสำคัญก็ว่าได้






เสือแทสเมเนีย? (Tasmanian Tiger หรือ Thylacine) หรือเสือในร่างของสุนัขนี้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Thylacinus cynocephalus เป็นทั้งสัตว์กินเนื้อหรือสัตว์นักล่าในกลุ่มสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง (carnivorous marsupial) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกยุคใหม่ในถิ่นออสเตรเลียและนิวกินี และยังเป็นสัตว์ชนิดสุดท้ายในสกุล Thylacinus ที่อยู่มาได้ยาวนานสูญพันธุ์ช้ากว่าผองเพื่อนชนิดอื่นๆในสกุลเดียวกัน ที่สูญหายไปนานหลายล้านปีแล้ว โดยเจ้าเสือแทสเมเนียตัวสุดท้ายเพิ่งตายไปในปี 1936 นี่เอง แม้ว่าจะสูญหายไปจากแผ่นดินใหญ่ออสเตรเลียไปเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อน




อ้างอิงจาก http://www.dailyworldtoday.com/columblank.php?colum_id=6004


เสือตัวที่ว่านี้มีลักษณะคล้ายๆกับ สุนัขในบ้านเรา แต่มีฟันหน้าที่แหลมคม นอกจากนั้นลำตัวและหางของเสือประเภทนี้มีลักษณะคล้ายๆกับจิงโจ้ บางครั้งมันยืนด้วยสองขาหลังเหมือนจิงโจ้ด้วย เสือทัสมาเนียที่ชาวออสเตเลียเคยเห็นเป็นขนปุยลายทางสีน้ำตาลอ่อน มีสีดำสลับที่สันหลังค่อนไปทางก้น




เล่ากันว่าเสือประเภทนี้โดยนิสัยไม่ ค่อยวิ่ง เนื่องจากไม่ใช่สัตว์ประเภทวิ่งเร็วเหมือนกับสัตว์กินเนื้ออื่นๆ การจับเหยื่อของมันเป็นอาหาร ก็ไม่ต้องวิ่งไล่ล่าเหยื่อเหมือนเสืออื่นๆ แต่มันจะค่อยๆทำให้เหยื่อเหนื่อยหรืออ่อนล้า โดยการตามไปเรื่อยๆ ก่อนจะจับกินเป็นอาหาร โดยเสือทัสมาเนียอย่างที่ว่านี้จะชอบกินอวัยวะของเหยื่อสัตว์ต่างๆ ตั้งแต่สัตว์ใหญ่อย่าง วอลลาบี จิงโจ้ ไปจนถึงแบนดีคู้ต หนู และนก ของโปรดจากอวัยวะของสัตว์เหล่านั้นได้แก่ คอ จมูก ตัว และไต หลายคนสงสัยว่าเสือที่ว่าเห่าหอนอะไรบ้างหรือเปล่า นักสัตวศาสตร์ก็บอกว่ามันไม่ค่อยเห่าหอนเท่าไหร่นัก แต่ก็มีบ้างในบางครั้ง แต่ก็นานๆทีว่างั้นเหอะ







ลักษณะทางกายภาพของสัตว์ประเภทนี้ ว่ากันว่าเมื่อโตเต็มที่จะหนักประมาณ 35 กก. ลำตัวยาวประมาณเมตรครึ่ง อายุขัยของมันนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีตัวหนึ่งที่เคยอยู่ในสวนสัตว์ลอนดอนมีอายุถึง 10 ปี ส่วนตัวที่อยู่ทัสมาเนียมีอายุถึง 12 ปี มีการพบเห็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเสือทัสมาเนียครั้งสุดท้าย ในเวสต์ออสเตเลีย บนแผ่นดินใหญ่ แต่พบเป็นฟอสซิล หรือซากศพที่ติดอยู่ในหินอายุประมาณ 3,100 ปี






สำหรับสาเหตุที่ทำให้เสือทัสมาเนียสูญ พันธุ์อาจมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ประการที่เห็นชัดๆได้แก่การที่ผู้คนไม่ใส่ใจจะอนุรักษ์สัตว์ประเภทนี้ไว้ก็ ได้ ส่วนสาเหตุอื่นๆนั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาจเกิดมาจากโรคระบาด หรือเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้มันเสียชีวิต บางส่วนก็เข้าใจว่าอาจเป็นเพราะถูกล่า เนื่องจากเสือเหล่านี้เข้าไปกัดกินแกะของชาวไร่ ชาวนา ปัจจุบันถ้าอยากเห็นหนังเสือและเสือเป็นตัวๆ (ตายแล้ว) ก็เข้าไปดูได้ที่ Tasmanian Museum and Art Gallery ที่ Hobart เมืองหลวงของรัฐซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะ ที่นั่นท่านจะเห็นสัตว์พื้นเมืองต่างๆของออสเตเลีย






ดั้งเดิมจริงๆเสือชนิดนี้แพร่ พันธุ์ทั่วไปในนิวกีนีและทัสมาเนียเมื่อ 4,000 ปีก่อน เสือที่ว่านี้ค่อยๆหายไปจากนิวกีนีและออสเตเลีย พร้อมๆกับการแพร่พันธุ์ของสุนัขดิงโก้ และหมาป่า แต่โชคดีที่หมาที่ว่านี้ไม่แพร่พันธุ์เข้ามาทัสมาเนีย เพราะทัสมาเนียเป็นเกาะมีน้ำคั่นกลาง หมาดิงโก้คงว่ายน้ำข้ามมาไม่ได้ เพราะช่องแคบบาสส์ (Bass Strait) นั้นกว้างถึง 200 กม. เลยทำให้เสือยืดอายุมาได้นานกว่าที่อื่นๆในออสเตเลีย




อีกกระแสหนึ่งบอกว่า เมื่อชาวยุโรปเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ๆนั้น เสือทัสมาเนียก็เริ่มหดหายไป เนื่องจากพวกที่เข้ามาใหม่นั้นนำแกะเข้ามาเลี้ยง เมื่อปี พ.ศ.2376 โดยบริษัท Van Diemens Land Co. ให้ค่าหัวในการล่าเสือทัสมาเนีย ต่อมารัฐบาลสั่งห้ามการล่าดังกล่าวเสีย แต่กว่าจะหยุดได้ก็ทำให้เสือดังกล่าวหายากมาก ตาม บันทึกบอกว่าเสือทัสมาเนียตัวสุดท้ายของโลกตายในสวนสัตว์โฮบาร์ต ทัสมาเนีย เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2479 และในปีนี้เองรัฐบาลประกาศการสูญพันธุ์อย่างเป็นทางการของเสือชนิดนี้



เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวครึกโครมออกไป ทั่วโลกว่า นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีชุบชีวิตเสือดังกล่าวได้แล้วโดย ดร.ไมค์ อาร์เชอร์ (Mike Archer) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ออสเตเลียน ออกมาแถลงว่ามีแผนที่จะทำโคลนนิ่งเสือชนิดนี้ โดยนำเอาเซลล์ของเสือที่ดองแอลกอฮอล์ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2409 มาสกัด DNA นักวิทยาศาสตร์ท่านนี้ยืนยันว่าทำได้แน่ๆ ในเร็วๆนี้....




Last Tasmanian Tiger, Thylacine, 1933










ขอขอบคุณที่มาจาก jabchai นะคะ ^^
-----------------------------------------------------------------------------

การกลับมาอีกครั้งของเสือทัสมาเนีย

เป็น ครั้งแรกที่ดีเอ็นเอจากทัสมาเนียนไทเกอร์ สัตว์สูญพันธุ์ของประเทศออสเตรเลียได้กลับคืนชีพมาอีกครั้งเมื่อสารพันธุ กรรมของมันแสดงหน้าที่ให้เห็นในตัวอ่อนของหนู ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ได้สกัดดีเอ็นเอจากสิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ ตั้งแต่แบคทีเรีย ต้นไม้ ไปจนถึงแมมมอธ และมนุษย์นีแอนเดอธัล สารพันธุกรรมนั้นถูกนำไปเพาะในห้องปฏิบัติการ แต่ก็ไม่สามารถตรวจสอบบทบาทของดีเอ็นเอต่อการพัฒนาได้ จึงนับว่าเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากที่สามารถตรวจสอบยีนจากตัวอย่างชิ้นส่วน ที่มีอายุเก่าแก่ได้ และดีเอ็นเอที่สมบูรณ์ก็เป็นสิ่งที่น่าทึ่งมากด้วย









“ทัสมาเนียนไทเกอร์” หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า “ไธลาซีน” เป็นสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่สุดที่มีกระเป๋าหน้าท้อง ถูกล่าจนสูญพันธุ์ไปจากป่าเมื่อต้นศตวรรษที่ 19 โดยตัวสุดท้ายตายในปี 1936 ที่สวนสัตว์โฮบาร์ท เกาะแทสมาเนีย แต่ก็นับว่ายังโชคดีที่มีทัสมาเนียนไทเกอร์มากมายได้รับการรักษาไว้ในเอทานอ ลในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งทั่วโลกในรูปของเนื้อเยื่อของตัวเต็มวัย เช่น หนังสัตว์



ทีมนักวิทยาศาสตร์จากหลายประเทศได้สกัดดีเอ็นเอจากตัวอย่างของทัสมาเนียนไท เกอร์ที่มีอายุ 100 ปีจากพิพิธภัณฑ์วิคตอเรียในเมลเบริ์น จากนั้นได้นำสารพันธุกรรมใส่เข้าไปในตัวอ่อนของหนูแล้วตรวจดูการทำงานของมัน พบว่าชิ้นส่วนเล็กๆของดีเอ็นเอของมันทำ หน้าที่คล้ายกับยีน Col2a1 ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการพัฒนากระดูกอ่อนในหนูก่อนที่จะเจริญเป็นกระดูกต่อ ไป

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส (University of Texas) ริชาร์ด เบริงเงอร์ (Richard Behringer) กล่าวว่า งาน วิจัยนี้มีประโยชน์มากต่อการนำไปประยุกต์ใช้ เช่น การพัฒนายาชีวภาพชนิดใหม่ และความเข้าใจทางชีววิทยาที่ดีขึ้นของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

“เมื่อสัตว์สูญพันธุ์มีมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็เสียความรู้ทางด้านการทำงานของยีนและศักยภาพของมันไปด้วยเช่นกัน” แอนดรูว์ พาส์ค (Andrew Pask) นักวิจัยด้านชีววิทยาโมเลกุล มหาวิทยาลัยเมลเบริ์น (University of Melbourne) ประเทศออสเตรเลีย กล่าว แม้ ว่ายีนที่ได้จากสัตว์ที่ตายแล้วจะทำงานได้อีกครั้งแต่ก็ไม่ทำให้สัตว์นั้น กลับมามีชีวิตใหม่ได้ แต่มันช่วยให้ความรู้ต่างๆที่หายไปกลับคืนมา


ที่มาจาก
http://news.xinhuanet.com/english/2008-05/20/content_8215437.htm

ภาพประกอบจาก http://www.abc.net.au/


คะแนน

จำนวนผู้เข้าร่วม 2พลังน้ำใจ +26 Zenny +112 ย่อ เหตุผล
rin + 10 ขอบคุณครับ
konbannok + 16 + 112

ดูบันทึกคะแนน

 นักศึกษาภาคพิเศษ (M.D.A)
ปริญญากิตติมศักดิ์
โพสต์ 2011-7-25 21:44:12 | ดูโพสต์ทั้งหมด
คิดถึงคนไกล นานนักรู้ไหมที่ไกลห่าง หัวใจดวงนี้ช่างอ้างว้าง รอคอยอย่า

นิสิตสัมพันธ์

กระทู้
901
พลังน้ำใจ
19394
Zenny
105770
ออนไลน์
1750 ชั่วโมง

สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกจีโฟกาย 100%

โพสต์ 2011-7-25 23:29:58 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุนมากคราบฟ๋ม
ไม่เคยเสียใจสักครังกับคำว่ารัก...ถึงแม้เราไม่เคยได้เป็นแฟนใคร???

นิสิตสัมพันธ์

กระทู้
670
พลังน้ำใจ
24921
Zenny
169578
ออนไลน์
1434 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

โพสต์ 2011-7-26 09:29:07 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ตอบกระทู้ yellow2550 ตั้งกระทู้

ขอบคุณมากครับผม

มหาลัยซีเนียร์

กระทู้
2
พลังน้ำใจ
1220
Zenny
6911
ออนไลน์
85 ชั่วโมง
โพสต์ 2011-7-26 09:50:09 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุนครับ
ประวัติแอบเศร้านะเนี่ย สูญพันธุ์เลยอ่า

นักศึกษาหน้าใหม่

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
38
Zenny
4700
ออนไลน์
130 ชั่วโมง
โพสต์ 2011-7-26 22:00:47 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณมากมายคับ

มหาลัยซีเนียร์

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
1440
Zenny
12704
ออนไลน์
185 ชั่วโมง
โพสต์ 2011-7-30 06:21:08 | ดูโพสต์ทั้งหมด

พี่ว้ากตัวร้าย

กระทู้
5
พลังน้ำใจ
669
Zenny
3129
ออนไลน์
126 ชั่วโมง
โพสต์ 2011-7-30 17:53:24 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ชอบอ่านเรื่องแบบนี้จัง

อยากให้ทัสมาเนียไทเกอร์กลับมาอีกครั้งนึง


อนึ่ง ผมรู้จักทัสมาเนีย เดวิลอะครับ

น่ารักดี แต่เหม็นมากๆ

แสดงความคิดเห็น

แล้วไปดมมันทำไมล่ะครับคุณพี่  โพสต์ 2011-7-30 23:34

มหาลัยซีเนียร์

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
1164
Zenny
7774
ออนไลน์
73 ชั่วโมง
โพสต์ 2011-8-7 17:34:20 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม

ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-12-25 15:11 , Processed in 0.119758 second(s), 27 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้