ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
ดู: 750|ตอบกลับ: 0

ประตูเวียงเจียงใหม่

[คัดลอกลิงก์]

มหาลัยซีเนียร์

กระทู้
120
พลังน้ำใจ
2504
Zenny
28980
ออนไลน์
212 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชร

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย numkong2011 เมื่อ 2012-1-8 11:41



ประตูเวียงเชียงใหม่


ประตูเวียง (ประตูเมือง)


ประตูเวียง (ประตูเมือง) จังหวัดเชียงใหม่ยังคงเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยก็ว่าได้
ที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกำแพงและประตูเมืองหลงเหลืออยู่อย่างสมบูรณ์
แม้ว่าในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจะมีการบูรณะซ่อมแซมมาบ้างแล้วก็ตาม
แนวกำแพงและประตูเมืองที่เห็นในปัจจุบันยังคงมีเค้าโครงของแนวกำแพงสมัยโบราณอยู่
โดยเฉพาะก้อนอิฐซึ่งมีลักษณะใหญ่กว่าปกติ


สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในสมัยของพระเจ้ากาวิละที่เข้ามาฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่
หลังจากที่ร้างมานานกว่า ๒๐๐ ปี กำแพงเมืองและประตูเมืองเชียงใหม่มีความสำคัญ
ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่พิเศษ
ในอดีตเมื่อพระมหากษัตริย์จะเสด็จเข้าเมืองจะต้องเข้าเมืองที่ประตูทางทิศเหนือ
ซึ่งถือเป็นเดชเมือง ในการสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่ขึ้นแต่เดิมนั้น พงศาวดารโยนกกล่าวไว้ว่า
เมื่อพญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นแล้ว
ได้ทรงขุดคูเมืองทั้งสี่ด้านนำเอาดินขึ้นมาถมเป็นแนวกำแพง
โดยเริ่มขุดที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือคือแจ่งศรีภูมิอันเป็นทิศมงคลก่อน
แล้วก่ออิฐขนาบสองข้างกันดินพังทลาย


ข้างบนกำแพงปูอิฐตลอดแนวทำเสมาไว้บนกำแพงทั้งสี่ด้านและประตูเมืองอีกทั้ง ๔ แห่ง
คือประตูหัวเวียง(ช้างเผือก) ,ประตูท้ายเวียง(เชียงใหม่) ,ประตูท่าแพ และ ประตูสวนดอก
กำแพงเมืองเชียงใหม่มีสองชั้น คือ กำแพงชั้นในรูปสี่เหลี่ยมและกำแพงชั้นนอกหรือกำแพงดิน
กำแพงทั้งสองชั้นสร้างขึ้นไม่พร้อมกันและมีความสำคัญไม่เท่ากัน
กำแพงชั้นในสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพญามังราย เมื่อครั้งสถาปนาเมืองเชียงใหม่ในปี
พ.ศ. ๑๘๙๓ ส่วนกำแพงชั้นนอกสันนิษฐานว่าสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒
ในรายงานการวิจัยเรื่อง "ชุมชนโบราณในแอ่งเชียงใหม่ - ลำพูน" โดยสรัสวดี อ๋องสกุล
กล่าวถึงความสำคัญของกำแพงเมืองทั้งสองว่า
กำแพงเมืองชั้นในมีความสำคัญกว่ากำแพงเมืองชั้นนอก ซึ่งพิจารณาจากการใช้สอยพื้นที่พบว่า
ภายในกำแพงเมืองชั้นในถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการปกครองเพราะเป็นที่อยู่ของ
กษัตริย์และเจ้านาย รวมทั้งเป็นที่ตั้งของวัดสำคัญหลายแห่ง เช่น วัดพระสิงห์ วัดเจดีย์หลวง
วัดเชียงมั่น ด้านถนนภายในกำแพงเมืองมีลักษณะตัดตรงเป็นเรขาคณิต
เมื่อเปรียบเทียบกันกำแพงเมืองชั้นนอกแล้วพบว่า
กำแพงชั้นนอกเป็นที่อยู่ของช่างและพ่อค้าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย อาทิ
ชาวเขิน มอญ พม่า ไทใหญ่และไทยวน ส่วนบริเวณกำแพงเมืองชั้นในจะกำหนดให้เฉพาะชาวไทยวน หรือ คนเมืองอยู่เท่านั้น
บริเวณกำแพงเมืองชั้นใน ประกอบด้วยประตูเมือง ๕ ประตู ได้แก่


๑. ประตูหัวเวียง ( คนเชียงใหม่ เรียก ปะตู๋จ๊างเผือก ) หรือ ประตูช้างเผือก อยู่ทางทิศเหนือของเมืองถือว่าเป็นประตูมงคล ในพิธีราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี
กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่จะเสด็จเข้ามาที่ประตูนี้ ประตูหัวเวียงเปลี่ยนชื่อมาเป็น
ประตูช้างเผือกเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๓ เมื่อพญาแสนเมืองมาได้สร้างอนุสาวรีย์ช้างเผือก
๒ เชือก เป็นอนุสรณ์แก่มหาดเล็ก ๒ คนที่ช่วยพระองค์ให้รอดพ้นจากภัยสงคราม
แต่เดิมรูปปั้นช้างเผือกทั้ง ๒ เชือกอยู่ริมถนนโชตนาด้านละเชือก
สำหรับรูปปั้นช้างเผือกที่ตั้งในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ


๒. ประตูเชียงเรือก หรือ ประตูท่าแพ
ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของกำแพงเมืองชั้นใน มีบ้านเชียงเรือกตั้งอยู่บริเวณนอกกำแพงเมือง
เดิมบ้านเชียงเรือกเป็นชุมชนค้าขายเพราะเป็นที่ตั้งของตลาดเชียงเรือก
ตลาดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเชียงใหม่ คาดว่ามีประชากรหนาแน่น
ซึ่งมีหลักฐานกล่าวถึงสมัยพญาแก้วเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเชียงเรือกมีคนจมน้ำตายเป็นจำนวนมาก
ในสมัยพระเจ้าอินทวิชายานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๑๖ - ๒๔๔๐)
ชื่อประตูเชียงเรือก เปลี่ยนมาเป็นประตูท่าแพชั้นในเพื่อให้คู่กับประตูท่าแพชั้นนอก
ซึ่งอยู่บนถนนสายเดียวกัน ชื่อประตูท่าแพ หมายถึงประตูชั้นนอกตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดแสนฝาง
ต่อมาบ้านเรือนขยายตัวประตูท่าแพชั้นนอกได้สลายไปเหลือแต่ประตูท่าแพชั้นใน
ชาวบ้านจึงเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า ประตูท่าแพ สำหรับประตูท่าแพในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๒๙ โดยอาศัยภาพถ่ายเก่าประตูเมืองเชียงใหม่ประตูหนึ่ง
ในสมัยรัชกาลที่ ๕


๓. ประตูท้ายเวียง ( คนเชียงใหม่เรียก ปะตู๋เจียงใหม่ ) หรือ ประตูเชียงใหม่
ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ ของเมืองเชียงใหม่
ในอดีตเป็นเส้นทางสำคัญระหว่างเชียงใหม่ไปเวียงกุมกามและลำพูน ในสมัยราชวงศ์มังราย
(พ.ศ. ๑๘๐๔ - ๒๑๐๑)
ทั้งเชียงใหม่ กุมกามและลำพูนตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำปิงเช่นเดียวกัน
การเดินทางจึงไม่ต้องข้ามแม่น้ำปิง


๔. ประตูแสนปุง ( คนเชียงใหม่เรียก ปะตู๋แสนปุง )
ตั้งอยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ใกล้กับประตูเชียงใหม่
คือเฉพาะกำแพงเมืองด้านใต้เท่านั้นที่มีสองประตู
ประตูนี้สันนิษฐานอาจเจาะภายหลังคือไม่ได้สร้างพร้อมกับสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙
อย่างไรก็ตามยังไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึงการเจาะประตูนี้
หลักฐานตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงประตูแสนปุงครั้งแรกสมัยมหาเทวีจิรประภา
พ.ศ. ๒๐๘๘ "...ชาวใต้มาปล่นเอาปะตูแสนปุง บ่ได้..." สันนิษฐานที่ชื่อ แสนปุง
เพราะเป็นทางออกไปสู่บริเวณที่มีเตาปุง (เตาไฟ) มากมาย
เพราะด้านนอกประตูเป็นที่อยู่ของกลุ่มช่างหลอมโลหะจึงมีเตาปุงไว้
หลอมโลหะจำนวนมากเปรียบนับแสน ปัจจุบันยังมีบ้านช่างหล่อพระพุทธรูปอาศัยอยู่
และถนนเลียบคูเมืองด้านนี้ชื่อถนนช่างหล่อจากความเชื่อเรื่องทิศและ
พื้นที่ถือเป็นเขตกาลกิณีจึงกำหนดให้ประตูแสนปุงเป็นทางออกไปสุสาน
ห้ามมิให้นำศพออกทางประตูอื่น ออกได้ประตูเดียวคือ ประตูแสนปุง


๕. ประตูสวนดอก ( คนเชียงใหม่เรียก ปะตู๋สวนดอก ) ตั้งอยู่ทิศตะวันตกประตูด้านนี้เป็นทางออกไปสู่อุทยาน ของกษัตริย์สมัยพญากือนาธรรมิกราช
พ.ศ. ๑๙๑๔ ได้สร้างวัดบนพื้นที่อุทยานจึงเรียก วัดสวนดอก และในช่วงนั้นพญากือนาธรรมิกราช
คงสร้างเวียงสวนดอกด้วย นอกจากกำแพงเมืองชั้นในแล้ว
เมืองเชียงใหม่ยังมีกำแพงเมืองชั้นนอกรูปพระจันทร์เสี้ยว หรือที่รู้จักชื่อ กำแพงดิน โอบล้อมไว้
เริ่มตั้งแต่แจ่งศรีภูมิด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือเลียบตามลำน้ำแม่ข่าลงมา
ด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ มาบรรจบกับกำแพงเมืองชั้นในที่แจ่งกูเฮือง


บริเวณกำแพงเมืองเชียงใหม่ด้านนอกมีประตูเมืองสำคัญอยู่ ๕ ประตู คือ


๑. ประตูช้างม่อย
อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง
ในอดีตถนนช้างม่อยเก่าเป็นเส้นทางโบราณผ่านหมู่บ้านเชียงเรือกไปวัดหนองหล่ม
แล้วไปสิ้นสุดที่ประตูช้างม่อย ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงประตูช้างม่อยว่า สร้างขึ้นเมื่อ
ปีพ.ศ. ๒๓๖๘ เมื่อบ้านเมืองขยายตัวทางราชการได้ตัดถนนช้างม่อยใหม่ขึ้น
โดยเจาะกำแพงชั้นในให้ถนนราชวิถีจากในเวียงตัดตรงสู่ถนนช้างม่อยใหม่แล้วไป ออกแม่น้ำปิง
ดังนั้นชาวบ้านจึงเรียกประตูชั้นในที่เจาะใหม่ว่า ประตูช้างม่อย
เพื่อแทนที่ประตูเดิมซึ่งถูกรื้อทิ้งไปในปี พ.ศ. ๒๕๑๑


๒. ประตูท่าแพ ( คนเชียงใหม่เรียก ปะตู๋ต่าแป ) อยู่ด้านทิศตะวันออกของเมืองบริเวณหน้าวัดแสนฝาง ที่ชื่อท่าแพ
เพราะเป็นทางออกสู่ท่าน้ำแม่ปิง ในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เรียกชื่อประตูนี้ว่า
ประตูท่าแพชั้นนอก เพราะความเจริญเติบโตของเมืองชื่อของประตูท่าแพชั้นนอกจึงค่อย ๆ
หายไป ประตูท่าแพจึงเหลือเพียงประตูเดียวคือ ประตูท่าแพชั้นใน หรือ ประตูเชียงเรือก


๓. ประตูหล่ายแคง หรือ ประตูระแกง
อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ พบหลักฐานในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึง
ประตูนี้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๓ เมื่อกองทัพธนบุรียกมาล้อมเมืองเชียงใหม่ ที่ชื่อหล่ายแคง
เพราะบริเวณริมคูเมืองมีลักษณะลาดเท ในสมัยต่อมาจึงเรียกเพี้ยนมาเป็น ประตูระแกง


๔. ประตูขัวก้อม
อยู่ทางทิศใต้ ปรากฏในหลักฐานโคลงมังทรารบเชียงใหม่ว่าสร้างขึ้นอย่างน้อยใน ปี พ.ศ. ๒๑๕๘


๕. ประตูไหยา หรือ หายยา
อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงประตูไหยาเป็นครั้งแรกว่า
"พ.ศ. ๒๒๗๐ เมื่อเทพสิงห์ยึดเมืองเชียงใหม่จากพม่าได้บุกเข้ามาทางประตูไหยา
แต่ด้วยที่ตั้งของประตูไหยาอยู่ในทิศเดียวกับประตูแสนปุง เป็นตำแหน่งกาลกิณีเมือง
จึงใช้เป็นทางเคลื่อนศพมาฌาปนกิจที่สุสานหายยามาตั้งแต่โบราณ
สำหรับสาเหตุที่ต้องสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่ชั้นนอกชึ้นเพื่อป้องกันกองทัพจากกรุงศรีอยุธยา
ที่มักจะยกทัพมาคุกคามเมืองเชียงใหม่บ่อยครั้ง นับตั้งแต่ปลายรัชสมัยของราชวงศ์มังรายมาแล้ว
ปัจจุบันแนวกำแพงและประตูเมืองทั้งด้านในและด้านนอกยังปรากฏหลักฐานให้เห็น
อยู่ในบางช่วงส่วนบริเวณแนวกำแพงเมืองด้านนอกนั้นถูกบุกรุกจากชาวบ้านเข้าไปสร้างบ้านเรือน
จนทำให้แนวกำแพงดินพังทลายลง


เอกสารประกอบ สุรัสวดี อ๋องสกุล "ชุมชนโบราณในแอ่งเชียงใหม่ - ลำพูน",๒๕๔๓
"กำแพงเมืองเชียงใหม่" อนุสรณ์เนื่องในพิธีเปิดและฉลองประตูท่าแพ ,๒๕๒๙
บุญเสริม สาตราภัย "ล้านนาไทยในอดีต" ๒๕๒๒

คะแนน

จำนวนผู้เข้าร่วม 1พลังน้ำใจ +19 Zenny +99 ย่อ เหตุผล
Rolls-Royce + 19 + 99 ดีมาก

ดูบันทึกคะแนน

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม

ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2025-1-23 02:27 , Processed in 0.093195 second(s), 30 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้