แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เอก... เมื่อ 2012-1-8 17:46
หลายๆคนอาจรู้สึกว่าตัวเองขี้หลงขี้ลืม อาจคิดว่าสมองตัวเองใกล้เสื่อมทั้งๆที่อายุไม่มาก เพราะวันๆลืมโน้นลืมนี่ตลอด ลืมว่าวางโทรศัพท์มือถือไว้ที่ไหน ลืมว่าการบ้านที่จะต้องส่งพรุ่งนี้มีอะไรบ้าง ลืมว่าตอนเย็นต้องแวะซื้ออะไรที่แม่สั่งเมื่อเช้าบ้าง คุณอย่าเพิ่งกังวลไปครับ เพราะมันอาจไม่ใช่เรื่องความจำของคุณไม่ดีหรอกครับ แต่เป็นเรื่องของความสนใจและสมาธิต่างหาก คุณน่าจะเคยเป็นอยู่บ้าง ทีเราอ่านการ์ตูนรอบเดียวแล้วจำได้ทั้งเล่ม แต่อ่านหนังสือเรียนไปหกรอบ ยังจำไม่ได้สักประโยค เหตุผลง่ายๆของการจำไม่ได้นี่ อธิบายได้ว่า เพราะตัวเราและสมองของเราไม่สนใจในเรื่องดังกล่าวนั่นเอง
ที่สำคัญการทำงานของสมองจะเชื่อมโยงข้อมูลซึ่งกันและกัน ข้อมูลใ่หม่ที่ได้รับมักจะหาทางไปข้องเกี่ยวกับความรู้เดิมๆที่เรามีอยู่แล้ว เช่น เวลาที่คุณอ่านหรือดูการ์ตูนก็มักจะไปนึกถึงการ์ตูนที่ชอบ หรือนึกไปถึงหน้าตาเพื่อนที่มีบุคลิกคล้ายคลึงกับการ์ตูนตัวนั้น นั่นก็ทำให้เราสนใจในตัวการ์ตูนนั้นๆ จนเราจำได้ไม่ต้องพยายามท่อง แล้วยิ่งพอเจอหน้าเพื่อนก็นึกถึงตอนฮาๆของตัวการ์ตูนแล้วขำออกมาทุกที
ต่างกับพวกวิชาเรียนที่เราเรียนเพื่อสอบ พอสอบเสร็จก็ลืม เป็นอันจบวงจรความรู้นั้น แต่อย่าลืมว่าเราสอบครั้งเดียวแล้วจบไปเสียเมื่อไหร่ มันอาจจะออกอีกตอนสอบเรียนต่อ ม.1 ม.4 ปี 1 หรือสอบชิงทุนตอนไหนก็ได้ หมายความว่าถ้าจะสอบทีก็ต้องอ่านใหม่ทั้งหมดอีกหรือเนี่ย? ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบนั้นนะ ฮ่าๆๆ
ดังนั้น กระทู้นี้จึงขอแนะนำเสนอวิธีการจดจำวิชาเรียนต่างๆให้มันมาอยู่ในความสนใจของเราและเช่อมโยงความรู้มากขึ้น วิธีนีี้คุณครูหลายคนใช้อยู่นะ เช่น ท่องศัพท์เป็นเพลง เอาเรื่องเพศที่เด็กๆสนใจตามวัยมาเขย่ารวมกับวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ขอเสนอเทคนิคดังนี้ครับ
1. ท่องความรู้ หรือแปลงความรู้ให้อยู่ในรูปแบบที่เราสนใจ ใครรักเพลงชอบเพลงก็เอาความรู้มาใ่สทำนองเพลงที่เราชอบ ใครชอบการ์ตูนก็เอาตัวการ์ตูนมาใ่ส่เป็นตัวการ์ตูนพูด ทำเป็นโดราเอมอนสอนโนบิตะก็ได้ วิธีนี้ออกจะเสียเวลาแต่งเพลงบ้าง วาดการ์ตูนบ้าง แต่ระหว่างที่บรรจงแต่งวิชาการให้เข้ากับเพลงหรือการ์ตูน เราต้องอ่านข้อความนั้นๆไปกี่รอบแล้วหล่ะ กว่าจะลงจังหวะเพลงหรือเป็นเรื่องขึ้นมาได้ เราก็จำวิชานั้นๆได้เองไม่รู้ตัว
2. คิดเชื่อมโยงวิชาใหม่กับเรื่องเก่าๆที่เรารู้จักหรือจำได้ดี อะไรก็ได้ ข้อนี้เน้นไปเชื่อมโยงให้ได้ อาจจะทำยากสักหน่อย เพราะสิ่งที่เราไม่สนใจ เราก็ไม่เชื่อมโยงอะรไให้มันเสียเวลาหรอกครับ แต่ถ้า้เราลองใส่ใจคิดๆหาช่องทางเชื่อมโยงไป มันจะทำให้เราจำได้โดยไม่รู้ตัว หรืออย่างน้อยก็เคยรู้สึกหล่ะ เช่น กรณี เกม Angry Bird กับโปรเจคไตล์
ทุกๆคนส่วนใหญ่รู้จักเกมนี้อยู่แล้ว แต่เรื่องของโปรเจคไตล์นี่เป็นเรื่องของม.ปลายเสียหน่อย สมมติว่า ถ้าคุณยังเรียนม.2 รู้แค่ว่าโปรเจคไตล์ คือ การเคลื่อนที่ในวิถีโค้ง แต่พอขึ้นม.5ก็จะได้เรียนฟิสิกส์ เรื่องโปรเจคไตล์แบบจริงจัง ตอนนั้นเกม Angry Bird อาจไม่ดังแล้ว แต่เชื่อเถอะ คุณจะเข้าใจเรื่องโปรเจคไตล์มากขึ้นแน่นอน กล่าวคือ เราจะเข้าใจเรื่องโปรเจคไตล์มากขึ้น เพราะนึกถึงเกม Angry Bird นี่หล่ะ
วิธีการจดจำแบบนี้ อาจยุ่งยากกว่าการท่องธรรมดาเสียหน่อย แต่มันได้ผลจริงครับ เพราะนักวิทยาศาสตร์ได้เคยอธิบายถึงการทำงานของสมองไว้ว่้าการทำงานเชื่อมโยงกันจริงๆดังนี้ สิ่งที่เรารับรู้ใหม่หรือเห็นใหม่จะไปกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสทำหน้าที่สร้างความจำใหม่ จากนั้นเซลล์สมองในฮิปโปแคมปัสนี้ก็จะไปกระตุ้นเซลล์สมองส่วนหน้า(คอร์เท็กซ์) ที่มีหน้าที่เก็บความจำระยะยาว เพื่อค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความจำใหม่นั้น
แต่เชื่อเถอะครับว่า หากเราใช้สมองเชื่อมโยงจากความรู้เรื่องใหม่ก็ตาม นอกจากความจำที่แม่นขึ้น ได้ความรู้ใหม่ๆแล้ว เราจะภูมิใจที่ตัวเองคิดออก โยงเรื่องนู้นเรื่องนี้มาเกี่ยวพันได้จริงๆครับ นี่แหละคือสิ่งที่การศึกษาไทยและผู้ใหญ่อยากให้พวกเราเด็กไทยทำได้ "รู้จักประยุกต์ความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานได้" พื้นฐานของสิ่งนี้ ก็คือ เจ้าการเชื่อมโยงความรู้นี่แหละครับ มาฝึกจดจำบทเรียนด้วยการแปลงให้น่าสนใจและเชื่อมโยงความรู้เก่ากับใหม่ให้เป็นเรื่องเดียวกันเถอะครับ!
|