วันนี้พาเพื่อนๆลงท้องทุ่ง ลุยโคลน ลุยตม แบบไทยๆนะครับ เพื่อไปดูกันว่าในนามีอะไรบ้าง
ภาพแรกมาสูดอากาศสะอาดๆ กับวิวเขียวๆ สบายตา กันนะครับ บางฤดู ที่ข้าวสุกในนาจะเป็นสีทอง อร่ามตา หลังฤดุเก็บเกี่ยว ท้องนา จะเป็นตอซังข้าว นอกจากนั้น ในนามีน้องควาย หน้าตาแบ้วๆ ผิวเข้มๆ ส่วนใหญ่ เลี้ยงไว้เพื่อขายมากกว่า ไถนาแล้ว
นาก็ยังเป็นแหล่งอาหารแบบพื้นบ้าน ของชาวบ้าน เพราะในนามีปลามากมาย ในนายังมีหอย ต่างๆ โดยเฉพาะหอยขม จะเป็นที่ชื่นชอบกัน เอามาแกงกินกัน ปูนา ก็เป็นยอดอาหารที่ชอบ ขุดรู หามันมาแกงกินกัน บางที่ ที่เป็นนาลึกๆ ก็จะมีกุ้งตัวเล้ก อาศัยอยู่เต็ม ชาวบ้านก็มักจะช้อนกุ้งเอามาทำทอดมัน เอามาทำอาหาร ในช่วงที่ฝนตกหนัก น้ำขังในนา โดยเฉพาะฝนห่าแรกของฤดู กบในนาจะขึ้นมา หาคู่ผสมพันธุ์ ฤดูนี้ชาวบ้านชอบออกไปหากบนากัน เต่านา ก็สามารถพบเห็นได้ไม่ยาก มันเป็นอาหารรสชาติอร่อย แต่ก็น่าสงสารไม่เบา เจ้าปลาไหล เป็นอาหารที่รสเลิศสำหรับบางคน ขั้นตอนการจับอาจทุลักทุแล ไปบ้างเพราะลื่นเกิ้นนนนนนน บางพื้นที่พี่น้องเรากินแย้ ในฤดูแล้งจึงเป็นฤดุแห่งความสนุกของเด็กๆ ในการล่าแย้ แมงกุดจี่ ก็เป็นอาหาร ยามแล้ง ที่นิยมหากินกันทั่วไป ทางภาคอิสาน บรรดานกที่หากินในนา นั้นก็ มีให้ชาวบ้าน ชาวนา จับมาปรุงอาหารมากมายหลายชนิด เช่นกัน นอกจากสัตว์ที่เป็นอาหารแล้ว ในฤดูน้ำหลาก ในนาก็จะมีผักน้ำต่างๆเติบโตขึ้นมาให้เก็บกินกัน เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด เป็นต้น ข้างๆ คันหน้า ริมชายป่า ก็มักจะมีต้นไม้ป่า ขึ้นกันดาษดื่น ซึ่งเป็นแหล่ง วิตตามินชั้นยอดของสวรรค์บ้านนา (ในรูปเป็น ลูกเหมฺและลูกนมควาย) ในท้องทุ่งโลกกว้างนี้ ยังมีวัฒนธรรมที่แทรกอยุ่ทุกอณูของสายลมในทุ่งกว้าง ชาติไทยเรานั้นทำนามาตั้งแต่อดีต สั่งสมกันมาเป็นทอดๆ ก่อเกิดวัฒนธรรมต่างๆ ที่เรียกว่าวัฒนธรรมข้าว ไม่ว่าจะเป็นการกิน การอยู่ ความเชื่อ การสร้างชุมชนให้เข้มแข็งด้วยการ ช่วยเหลืองานในนา ซึ่งกันและกัน ขึ้นจากท้องนาเข้ามาในหมู่บ้าน เมื่อยามเกี่ยวข้าวเสร็จก็จะมีงานบุญต่างๆ ตามแต่สถานที่ แต่เนื้อแท้ของงานบุญเหล่านั้นเพื่อร่วมทำบุญสร้างกุศล อันมีข้าว เป็น ตัวกำหนดฤดูกาลของฤดู อย่างเช่น งานสงกรานต์ ที่นิยมทำบุญในวัด นำข้างใหม่หุงไปถวายพระ เป็นต้น
|