6 มุมมอง จัดการปัญหา เรื่องน่ารู้ครั้งนี้เหมาะสำหรับเพื่อนๆ ที่กำลังมีปัญหา เมื่อเจอกับปัญหาเรามักจะหวาดกลัว ไม่อยากเจอ ทั้งที่ความจริงพวกเราต่างเจอปัญหากันอยู่ตลอดเวลา อยู่ที่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก มีค่าให้น่าใส่ใจหรือไม่ ? เพราะฉะนั้นจงเตรียมพร้อมรับมือเอาไว้เสมอ แต่ถ้ารู้สึกรับไม่ไหว กำลังวนอยู่ในปัญหา ลองมาหาทางแก้ที่ด้วยการมองมุมที่หลากหลาย แล้วเพื่อนๆ จะไม่จนมุม ;) ไปลองอ่านกันเลย
คุณมองปัญหาเอาไว้กี่ด้าน กี่เหลี่ยมมุม กี่เส้นทาง ? โดยทั่วไปเราจะมองปัญหาแค่สองด้าน คือแก้ได้กับแก้ไม่ได้ แล้วมักจิตนาการได้แต่อุปสรรคร้อยแปดพันเก้าที่ไม่สามารถฝ่าไปได้ เรื่องน่ารู้จะลองเสนอแนวทาง การแก้ปัญหาด้วยการมองแบบหลายมิติกัน มองจากต้นตอ
ใช้หลักของพระพุทธศาสนาในเรื่องของการดับทุกข์ ต้องหาต้นตอของความทุกข์ ปรับมาเป็น ถ้าอยากจะแก้ปัญหา ต้องสืบไปให้ถึงต้นตอของปัญหา ลองแก้ไปทีละปมๆ ว่าสาเหตุ, เหตุผล, ที่มาที่ไป ของปัญหานั้นมาจากอะไร แล้วค่อยๆ แกะปมนั้นออกมาทีละปม ปัญหาใหญ่ที่หาทางแก้ไม่ได้ มักจะเต็มไปด้วยปมหลายปม การรับรู้และมองเห็นว่ามีปมเหล่านั้น ช่วยให้เราคลายปมได้ถูกต้อง แล้วนั่นจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาทั้งหมด มองด้วยการถอยหลังมาก้าวหนึ่ง
เรากำลังเหยียบอยู่บนปัญหา ดังนั้นเราจะมองไม่เห็นทางแก้ไข แตกต่างจากเวลาที่เราให้คำปรึกษากับคนอื่น เราสามารถตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาด ง่ายดาย ปิดประเด็นได้อย่างรวดเร็ว เพราะเราไม่ต้องมีส่วนได้ ส่วนเสีย กับผลลัพธ์ที่จะเกิดหลังจากตัดสินใจ แต่เมื่อมีปัญหาเป็นของตัวเองขึ้นมา ทุกสิ่ง ทุกอย่างดูยากไปเสียหมด วิธีที่ดีวิธีหนึ่งคือการก้าวออกมาจากจุดที่ตัวเองยืนอยู่ แล้วมองกลับไปที่จุดยืนเดิม พิจารณาดูว่า การที่เรามีส่วนได้ส่วนเสียในปัญหา ทำให้เราหลงลืมอะไร สิ่งไหน หรือการตัดสินใจอะไรง่ายๆ ไปหรือเปล่า ? มองด้วยตาคนอื่น
หนึ่งวิธีที่หลายคนเลือกเมื่อพบปัญหาคือ ปรึกษาคนอื่น (แม้คำว่าปรึกษาที่จริงคือ การอยากระบายให้ฟังเท่านั้น) ซึ่งวิธีดังกล่าวถ้าจะเอาคำปรึกษาไปใช้จริงนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย คนที่เราปรึกษาต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง เป็นคนให้คำปรึกษาที่ดี มีวุฒิภาวะและประสบการณ์ชีวิตโชกโชน ที่สำคัญเป็นที่ยอมรับนับถือในความรู้สึกเรา ทุกข้อสำคัญหมด เพราะขาดข้อใดไปวิธีนี้อาจเป็นการเพิ่มปัญหาได้ ดังนั้นหาที่ปรึกษาดีๆ สักคน ในการไขปัญหา ก็ดีเหมือนกันค่ะ มองแบบยอมรับ
เชื่อว่าปัญหาทุกปัญหามีทางออก แต่อาจไม่ใช่ทุกปัญหาที่ต้องการแก้ไข ยกตัวอย่าง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก อย่างปัญหาความรัก ปัญหาปมเล็กๆ ในใจที่อธิบายไม่ได้ ปัญหาเหล่านี้บางทีการยอมรับว่ามันมีอยู่ แล้วเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันคือวิธีที่ดีที่สุด การมีปัญหาที่แก้ไม่ได้บ้าง ย่อมดีกว่าการฝืนที่จะแก้ปัญหาทุกปัญหาในชีวิต จนไม่มีควาสุขนะคะ มองด้วยการถอยหลังมาก้าวหนึ่ง
เรากำลังเหยียบอยู่บนปัญหา ดังนั้นเราจะมองไม่เห็นทางแก้ไข แตกต่างจากเวลาที่เราให้คำปรึกษากับคนอื่น เราสามารถตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาด ง่ายดาย ปิดประเด็นได้อย่างรวดเร็ว เพราะเราไม่ต้องมีส่วนได้ ส่วนเสีย กับผลลัพธ์ที่จะเกิดหลังจากตัดสินใจ แต่เมื่อมีปัญหาเป็นของตัวเองขึ้นมา ทุกสิ่ง ทุกอย่างดูยากไปเสียหมด วิธีที่ดีวิธีหนึ่งคือการก้าวออกมาจากจุดที่ตัวเองยืนอยู่ แล้วมองกลับไปที่จุดยืนเดิม พิจารณาดูว่า การที่เรามีส่วนได้ส่วนเสียในปัญหา ทำให้เราหลงลืมอะไร สิ่งไหน หรือการตัดสินใจอะไรง่ายๆ ไปหรือเปล่า ? มองด้วยตาคนอื่น
หนึ่งวิธีที่หลายคนเลือกเมื่อพบปัญหาคือ ปรึกษาคนอื่น (แม้คำว่าปรึกษาที่จริงคือ การอยากระบายให้ฟังเท่านั้น) ซึ่งวิธีดังกล่าวถ้าจะเอาคำปรึกษาไปใช้จริงนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย คนที่เราปรึกษาต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง เป็นคนให้คำปรึกษาที่ดี มีวุฒิภาวะและประสบการณ์ชีวิตโชกโชน ที่สำคัญเป็นที่ยอมรับนับถือในความรู้สึกเรา ทุกข้อสำคัญหมด เพราะขาดข้อใดไปวิธีนี้อาจเป็นการเพิ่มปัญหาได้ ดังนั้นหาที่ปรึกษาดีๆ สักคน ในการไขปัญหา ก็ดีเหมือนกันค่ะ มองแบบยอมรับ
เชื่อว่าปัญหาทุกปัญหามีทางออก แต่อาจไม่ใช่ทุกปัญหาที่ต้องการแก้ไข ยกตัวอย่าง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก อย่างปัญหาความรัก ปัญหาปมเล็กๆ ในใจที่อธิบายไม่ได้ ปัญหาเหล่านี้บางทีการยอมรับว่ามันมีอยู่ แล้วเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันคือวิธีที่ดีที่สุด การมีปัญหาที่แก้ไม่ได้บ้าง ย่อมดีกว่าการฝืนที่จะแก้ปัญหาทุกปัญหาในชีวิต จนไม่มีความสุขนะค่ะ วิธีการจัดการกับปัญหา ด้วยการมองด้วยมุมแตกต่างหลากหลาย ทำให้ต่อไปนี้เมื่อมีปัญหาเข้ามา เพื่อนๆ จะมีวิธีการต่างๆ จัดการให้อยู่หมัด ไม่ต้องกลัวที่จะเจอปัญหาอีกต่อไปค่ะ ทุกปัญหา มักมีทางออกอยู่เสมอ เราเชื่ออย่างนั้นนะ
|