ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
ดู: 607|ตอบกลับ: 0

ภาษาไทยวิกฤต ทั้งเด็กและครูมาตรฐานต่ำ

[คัดลอกลิงก์]

นิสิตสัมพันธ์

อยากมีเพื่อนคุยกินเที่ยวกัน

กระทู้
594
พลังน้ำใจ
30581
Zenny
218553
ออนไลน์
3227 ชั่วโมง

สมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ


สกูีปข่าว "ไทยรัฐ" (๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕)
http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/261071



ภาษาไทยวิกฤต ทั้งเด็กและครูมาตรฐานต่ำประสบการเรียนรู้และข้อมูลเชิงประจักษ์ระหว่างปีการศึกษา ๒๕๕๒ - ๒๕๕๔ครูกานท์ (ผศ.ศิวกานท์ ปทุมสูติ) ไม่ว่าจะพูดถึงวันรักการอ่านหรือปีแห่งความรักการอ่าน จนกระทั่งกำหนดเป็นทศวรรษแห่งความรักการอ่านก็ตามที เรื่องนี้ยังยากนักที่จะพัฒนาไปถึงจุดหมายปลายทาง การขับเคลื่อนเชิงนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการยังดำเนินไปแบบภาพฝันสวยหรูที่ไร้ความเป็นจริง เท่าที่พบเห็นอย่างมากก็แค่บรรลุผล “ตามรายงานปั้นแต่ง” ตามโครงการต่างๆ ที่จัดทำขึ้นให้สอดคล้องกับ “ตัวบ่งชี้ที่กำหนด” เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น มิอาจปลูกหว่านจิตวิญญาณแห่งรักให้เจริญงอกงามในวิถีชีวิตของเด็กไทยได้ ภาพที่คุ้นตาของเราไม่ว่าในสถานศึกษา ศูนย์การค้า หรือในที่สาธารณะใดๆ ยังคงเห็นแต่เด็กและเยาวชนไทยหมกมุ่นกับโทรศัพท์ และสื่อออนไลน์ต่างๆ เกลื่อนตา น้อยนักที่เราจะเห็นพวกเขาพกพาหนังสือ หรืออ่านหนังสือ สาเหตุสำคัญก็เพราะว่าวิถีครอบครัวไทย พ่อแม่ และครูไทยยังรักการอ่านน้อย เด็กๆ ยังมีต้นแบบชีวิตในเรื่องนี้น้อย และที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือเด็กไทยอีกจำนวนไม่น้อยยัง “อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้” เป็นความจริงที่น่าตกใจเมื่อได้ทดสอบความสามารถในการ “เขียนตามคำบอก” ของเด็กไทยในวันนี้!  จากคำสำหรับทดสอบที่กำหนดมาตรฐานเพียงแค่ระดับทักษะชั้น ป.๑ เท่านั้น ให้นักเรียนตั้งแต่ชั้น ป. ๒ ขึ้นไปเขียนตามคำบอกจำนวน ๕๐ คำ ซึ่งมาตรฐานของคำระดับชั้น ป.๑ จะต้องมีองค์ประกอบครอบคลุมในข้อต่อไปนี้ ๑.มีพยัญชนะต้นครอบคลุมอักษร ๓ หมู่ (อักษรต่ำ-กลาง-สูง) ๒.เป็นคำสะกดตรงมาตราสะกดทั้ง ๙ แม่ ๓.ประกอบด้วยสระรวมแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ เสียง ๔.มีคำควบกล้ำและอักษรนำเบื้องต้น ๕.มีคำผันเสียงอักษรครบทั้ง ๓ หมู่ คำที่กำหนด ๕๐ คำดังกล่าว ได้แก่กาแฟ ทอผ้า มะลิลาสึนามิ อายิโนะ เตาะแตะฉอเลาะ เล้าไก่ เข้าถ้ำขยำขยี้ ปิงปอง โผงผางข้างล่าง ทุ่งนาแล้ง อึ่งอ่างไอโอดีน ปิ่นโต เส้นด้ายเล่นโขน ฟ้อนรำ ซุ่มซ่ามยิ้มแย้ม อ่อนน้อม รอยเท้ากุ้งฝอย ผิวขาว แน่วแน่ของฝาก ปึกแผ่น กุ๊กกิ๊กชอกช้ำ เจียระไน เผื่อแผ่ด้ามมีด ฮึดสู้ โหดร้ายหุบเหว ตะเกียบ บ่ายเบี่ยงเลื่อนเวลา ทะเล่อทะล่า จดบันทึก ส้วมซึม กวยจั๊บ พริกเผ็ด รื่นเริง ปลาบปลื้ม เคลื่อนคล้อยหยิ่งผยอง สลักเสลา เกณฑ์การทดสอบกำหนด ๕๐ คำเป็น ๕๐ คะแนน นักเรียนที่ได้ ๒๕ คะแนนขึ้นไปจึงถือว่า “ผ่านการทดสอบ” ซึ่งผลการสุ่มทดสอบนักเรียนในภาคต่างๆ มีดังนี้ สุ่มสำรวจโรงเรียนในจังหวัดภาคเหนือจังหวัดหนึ่งโรงเรียนที่ ๑ (ขนาดเล็ก) ป.๒-๓ นักเรียน ๒๗  คน   ผ่าน  - คน  คิดเป็นร้อยละ - ไม่ผ่าน  ๒๗ คน  คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ป.๔-๖ นักเรียน ๔๒ คน ผ่าน ๒ คน  คิดเป็นร้อยละ ๔.๘๐ ไม่ผ่าน  ๔๐ คน  คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๒๐ โรงเรียนที่ ๒ (ขนาดกลาง) ป.๔-๖ นักเรียน ๑๐๖  คน   ผ่าน ๑๕ คน  คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๒๐ ไม่ผ่าน  ๙๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๘๐ ม.๑-๓ นักเรียน ๘๘ คน ผ่าน ๒๙ คน  คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๐๐ ไม่ผ่าน  ๕๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๐๐ โรงเรียนที่ ๓ (ขนาดใหญ่) ป.๔-๖ นักเรียน ๒๗๖  คน   ผ่าน ๘๕ คน  คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๘๐ ไม่ผ่าน  ๑๙๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๒๐ ม.๑ นักเรียน ๘๔ คน ผ่าน ๔๐ คน  คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๗๐ ไม่ผ่าน  ๔๔ คน  คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๓๐ สุ่มสำรวจโรงเรียนในจังหวัดภาคกลางจังหวัดที่ ๑โรงเรียนที่ ๑   ป.๒-๖ นักเรียน ๕๔  คน   ผ่าน ๔๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๗๘ ไม่ผ่าน  ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๒๒ สุ่มสำรวจโรงเรียนในจังหวัดภาคกลางจังหวัดที่ ๒ (กทม.)โรงเรียนที่ ๑ (ขนาดกลาง) ป.๒-๖ นักเรียน ๔๖๒  คน   ผ่าน  ๒๔๖ คน  คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๒๕ ไม่ผ่าน  ๒๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๗๕โรงเรียนที่ ๒ (ขนาดใหญ่) ป.๒-ม.๓ นักเรียน ๑,๓๙๓  คน   ผ่าน  ๘๖๘ คน  คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๓๑ ไม่ผ่าน  ๕๒๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๖๙ สุ่มสำรวจโรงเรียนในจังหวัดภาคตะวันออกจังหวัดหนึ่งโรงเรียนที่ ๑ ป.๒-๖ นักเรียน ๑๒๐  คน   ผ่าน  ๕๑ คน  คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๕๐ ไม่ผ่าน  ๖๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๕๐ โรงเรียนที่ ๒ ป.๒-๖ นักเรียน ๑๓๕  คน   ผ่าน  ๓๔ คน  คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๒๐ ไม่ผ่าน  ๑๐๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๔.๘๐ โรงเรียนที่ ๓   ป.๒-ม.๓ นักเรียน ๑๐๖  คน   ผ่าน ๑๕ คน  คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๒๐ ไม่ผ่าน  ๙๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๘๐ สุ่มสำรวจโรงเรียนในจังหวัดภาคอีสานจังหวัดหนึ่งโรงเรียนที่ ๑ ป.๒-ป.๖ นักเรียน ๓๐๐  คน   ผ่าน ๑๗๓ คน  คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๖๗ ไม่ผ่าน  ๑๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๓๓ โรงเรียนที่ ๒ ป.๒-ป.๖ นักเรียน ๒๑๒  คน   ผ่าน ๑๐๑ คน  คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๖๔ ไม่ผ่าน  ๑๑๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๓๖ สุ่มสำรวจโรงเรียนในจังหวัดภาคใต้จังหวัดหนึ่งโรงเรียนที่ ๑ ป.๒-ป.๖ นักเรียน ๒๘๕  คน   ผ่าน ๑๗๑ คน  คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๐๐ ไม่ผ่าน  ๑๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐๐ โรงเรียนที่ ๒ ป.๒-ป.๖ นักเรียน ๑๗๒  คน   ผ่าน ๑๑๗ คน  คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๐๒ ไม่ผ่าน  ๕๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๑.๙๘   สรุป – ค่าเฉลี่ยการสุ่มทดสอบเขียนตามคำบอกจากคำในระดับทักษะชั้น ป.๑ จำนวน ๕๐ คำ (๕๐ คะแนน) ของนักเรียนชั้น ป.๑ – ม.๓ ทุกภาค จำนวน ๓,๘๖๒ คน นักเรียนที่ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ ๒๕ คะแนนขึ้นไปมีจำนวน  ๑,๙๘๙ คน  คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๕๐ สำหรับนักเรียนที่ได้คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ ๒๕ คะแนนมีจำนวน  ๑,๘๗๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๕๐ นอกจากนี้ยังได้ใช้หลักการเดียวกันนี้โดยอนุโลมทดสอบครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา ด้วยการกำหนดคำ ๒๐ คำ (๒๐ คะแนน) ให้เขียนตามคำบอกโดยไม่ต้องเขียนชื่อของตนที่กระดาษคำตอบ อาจเขียนรหัสหรือสัญลักษณ์ใดๆ ไว้เป็นเครื่องสังเกตเฉพาะตนหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีความรู้สึกเป็นกังวลกับการถูกเปิดเผยศักยภาพในการเขียนได้หรือเขียนไม่ได้ โดยกำหนดคำ ๒๐ คำที่ครูไม่คุ้นเคยบ้าง ไม่คุ้นเคยบ้าง ดังนี้  ทะนุถนอม ไซ่ง่อน เลือนราง   หร็อมแหร็ม ตุ้ยนุ้ย ขะมักเขม้น   โป๊ะเชะ เคลิบเคลิ้ม ชะโงกง้ำ   โอ้กอ้าก ระล่ำระลัก โขยกเขยก   ฟั่นเชือก หน็อยแน่ เพ่นพ่าน   ปั้นจิ้มปั้นเจ๋อ เหลาเหย่ เขี้ยวโง้ง     ประดักประเดิด ปวกเปียก     ผู้ที่เขียนตามคำบอกได้ ๑๐ คะแนนขึ้นไปถือ “ผ่าน” ในมาตรฐานทักษะ ป.๑ ผลปรากฏว่าครูที่ทดสอบ “ผ่าน” และ “ไม่ผ่าน” ตามเกณฑ์กำหนด มีดังนี้ สุ่มสำรวจครูในโรงเรียนจังหวัดภาคตะวันออกจังหวัดหนึ่ง   โรงเรียนที่ ๑    จำนวน ๑๕ คน   ผ่าน ๘ คน  คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๓๓   ไม่ผ่าน ๗ คน  คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๖๗   โรงเรียนที่ ๒    จำนวน ๖ คน   ผ่าน ๒ คน  คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๓๓   ไม่ผ่าน ๔ คน  คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๖๗   โรงเรียนที่ ๓   จำนวน ๒๕ คน   ผ่าน ๑๐ คน  คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐๐   ไม่ผ่าน ๑๕ คน  คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๐๐   โรงเรียนที่ ๔   จำนวน ๒๒ คน   ผ่าน ๔ คน  คิดเป็นร้อยละ ๑๘.๑๘   ไม่ผ่าน ๑๘ คน  คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๘๒   โรงเรียนที่ ๕   จำนวน ๑๕ คน   ผ่าน ๕ คน  คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๓๓   ไม่ผ่าน ๑๐ คน  คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๖๗ สุ่มสำรวจครูในโรงเรียนจังหวัดภาคกลางบางจังหวัด  ภาคกลางจังหวัดที่ ๑    จำนวน ๑๙๒  คน     ผ่าน ๑๑๖  คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๔๒    ไม่ผ่าน ๗๖  คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๕๘   ภาคกลางจังหวัดที่ ๒    โรงเรียนที่ ๑ (กทม.)  จำนวน ๔๒ คน   ผ่าน ๓๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๓๓   ไม่ผ่าน ๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๖๗ โรงเรียนที่ ๒ (กทม.)  จำนวน ๕๙ คน   ผ่าน ๔๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๒.๘๘   ไม่ผ่าน ๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๑๒ สุ่มสำรวจครูในโรงเรียนจังหวัดภาคใต้บางจังหวัด  ภาคใต้จังหวัดที่ ๑   จำนวน ๑๙๔ คน   ผ่าน ๑๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๙.๗๙   ไม่ผ่าน ๗๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๒๑ ภาคใต้จังหวัดที่ ๒   จำนวน ๒๐๒ คน   ผ่าน ๑๓๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๓๔   ไม่ผ่าน ๖๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๖๖ ภาคใต้จังหวัดที่ ๓   จำนวน ๑๒๑ คน   ผ่าน ๔๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๖๗   ไม่ผ่าน ๗๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๓๓ สุ่มสำรวจครูและผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดภาคอีสานบางจังหวัด  ภาคอีสานจังหวัดที่ ๑ (ครูผู้สอน)  จำนวน ๑๑๓ คน   ผ่าน ๘๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๑๑   ไม่ผ่าน ๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๘๙   ภาคอีสานจังหวัดที่ ๒ (ผู้บริหารสถานศึกษา)   จำนวน ๑๐๑ คน   ผ่าน ๖๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๓๓   ไม่ผ่าน ๓๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๖๗ (ดูตัวอย่างลายมือครูที่ไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบ-จากแนบไฟล์) สรุป – ค่าเฉลี่ยการสุ่มทดสอบเขียนตามคำบอกของครูและผู้บริหารสถานศึกษาจากคำระดับมาตรฐานทักษะ ป.๑ จำนวน ๒๐ คำ (๒๐ คะแนน) ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคอีสาน จำนวน ๑,๑๐๗ คน ผู้ที่ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ ๑๐ คะแนนขึ้นไปมีจำนวน ๖๗๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๙๘ และผู้ที่ได้คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ ๒๕ คะแนนมีจำนวน ๔๓๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๐๒ น่าตกใจนัก!!! ปรากฏการณ์การอ่านเขียนของเด็กและครูที่ตกต่ำอย่างหนักดังผลที่แสดง มีสาเหตุสำคัญมาจากกระบวนการเรียนการสอนที่ผิดพลาด และผู้ที่เกี่ยวข้องต่างก็ยังดื้อดันทุรังกระทำในสิ่งที่ผิดพลาดซ้ำซากกันอยู่ก็คือ ๑.การสอนภาษาไทยที่ผิดไปจากวิถีทักษะที่ถูกต้อง นั่นคือการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นแต่ประสบการณ์ภาษาในด้านการ “จำรูปคำ” มากกว่าการ “เปล่ง-ท่อง-อ่าน-สะกด-ผัน-คัด-เขียน” ...นี่เป็นสาเหตุใหญ่ที่ผิดพลาด! ด้วยว่าการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อการอ่านออกเขียนได้เบื้องต้นนั้น จะต้องสอนด้วย “วิถีแจกลูก สะกดคำ ผันเสียง คัดและเขียนตามคำบอก” เป็นหลัก ส่วนวิธีการเรียนการสอนแบบอื่นๆ อาจนำมาใช้ร่วมได้บ้าง แต่ให้เป็นเพียงแค่เสริมการเรียนรู้เท่านั้น ๒.เด็กในยุคสมัยปัจจุบันมีภาวะสมาธิสั้นกันมาก  เนื่องจากการเลี้ยงดูที่ผิดพลาด  การบริโภคแบบทุโภชนาการ  การติดสื่ออีเล็กทรอนิคและเกมต่างๆ  ผนวกกับการจัดการเรียนการสอนของครูที่ผิดวิถี (ดังที่กล่าวในข้อ ๑) ที่เน้นความรู้ความจำมากกว่าการฝึกย้ำทักษะ เด็กๆ ที่สมาธิสั้นและเรียนรู้แบบตามรู้ตามจำจะลืมง่าย  ไม่สามารถอ่านได้เขียนได้อย่างแท้จริง จะอ่านได้เขียนได้ก็แต่คำที่จำรูปคำมาเท่านั้น ๓.นโยบายและการบริหารจัดการที่ผิดพลาดก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งซึ่งไม่ควรมองข้าม ตั้งแต่ระดับกระทรวง, สพฐ., สมศ, สพป. ถึงระดับโรงเรียนต่างพากันให้ความสำคัญที่ชั้น ป.๓ และ ป.๖ โดยละเลยกับความสำคัญของการเตรียมพื้นฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามวัยตั้งแต่ระดับอนุบาล และละเลยกับการจัดการเรียนการสอนตามวิถีอ่านเขียนภาษาไทยที่ถูกต้องในระดับ ป.๑ ปล่อยให้การเร่งอวดอ่านเขียนในระดับอนุบาลที่ผิดขั้นตอนทำลายการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย และปล่อยให้ครูที่ไม่มีประสบการณ์ “แจกลูก-สะกดคำ-ผันเสียง-คัดเขียน” สอนระดับ ป.๑ แบบพร่องทักษะ ทั้งขาดการนิเทศและตรวจสอบในระดับที่เหมาะสม ทั้งสามสาเหตุแห่งปัญหา ล้วนเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศที่ยังคงถูกปล่อยปละละเลยในการบริหารจัดการของผู้บริหารการศึกษาทุกระดับ ทั้งที่ถ้าจะเอาจริงกับเรื่องนี้  ก็เป็นสิ่งที่ “แก้ง่ายนิดเดียว” เหมือนที่กล่าวไว้ในหนังสือ “เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว” นั่นแหละ  โดยสาระสำคัญก็คือ โรงเรียนจะต้องจัดทำโครงการป้องกันปัญหาและแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ๑.โครงการป้องกันปัญหา โดยจัดการเรียนการสอนแบบปูพื้นความพร้อมระดับอนุบาลให้ถูกต้อง ไม่เร่งร้อนทำลายศักยภาพของเด็ก และจัดการเรียนการสอนสร้างเสริมทักษะภาษาระดับ ป.๑ ให้ถูกต้อง  รวมทั้งมีมาตรฐานทักษะอ่านออกเขียนได้อย่างเพียงพอแท้จริง ๒.โครงการแก้ปัญหาเร่งด่วน ๔ เดือนอ่านออกเขียนได้ สำหรับนักเรียนตั้งแต่ ป.๒ ขึ้นไปทุกคนที่ “ไม่ผ่าน” การทดสอบ ด้วยการสอนแบบ “บันไดทักษะ ๔ ขั้น” ที่ว่า ขั้นที่หนึ่ง แจกลูก ให้ผูกจำ ขั้นที่สอง อ่านคำ ย้ำวิถี ขั้นที่สาม คัดลายมือ ซ้ำอีกที ขั้นที่สี่ “เขียนคำบอก” ทุกชั่วโมง ทั้งนี้ตามลำดับแบบฝึกและกระบวนการในหนังสือเล่มดังกล่าว ซึ่งโรงเรียนที่ได้ตั้งใจจัดทำโครงการแก้ปัญหาร่วมกับ “ทุ่งสักอาศรม” อย่างจริงจัง ต่างก็ได้ประจักษ์ในสัมฤทธิผลมาแล้วในทุกภูมิภาค ตัวอย่างโรงเรียนที่สำรวจพบปัญหา “เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้” ตามเกณฑ์ที่กำหนด และได้จัดทำโครงการแก้ปัญหา ทั้งที่สำเร็จลุล่วงแล้วและที่กำลังดำเนินการอยู่อีกเป็นจำนวนมาก  บางส่วนที่ได้ติดตามรับรู้ข้อมูลการดำเนินการจริงจัง ได้แก่ สพป.อุทัยธานี เขต ๑ และ ๒, สพป.นครสวรรค์ เขต ๒ แล ๓, สพป.ขอนแก่น เขต ๓, สพป.ปัตตานี เขต ๑ และ ๒, สพป.บุรีรัมย์ เขต ๒, สพป.นครราชสีมา เขต ๒, โรงเรียนสังกัด กทม., โรงเรียนสังกัด สช.ยะลา, โรงเรียนสังกัด กศน.ตาก, กลุ่มโรงเรียน และโรงเรียนทั้งสังกัด สพฐ.และสังกัด สช.อีกหลายแห่ง ตัวอย่างโรงเรียนที่แก้ปัญหาสัมฤทธิผล เช่น โรงเรียนวัดไทร สพป.สุพรรณบุรี เขต ๓, โรงเรียนบ้านบูดน สพป.ปัตตานี เขต ๒, โรงเรียนบ้านคูเมือง สพป.อุราชธานี เขต ๔, โรงเรียนวัดโพธิ์เขียว สพป.สุพรรณบุรี เขต ๒, โรงเรียนบ้านหนองแขมอีโล สพป.ขอนแก่น เขต ๓, โรงเรียนบ้านเขาวง, โรงเรียนอนุบาลลานสัก และโรงเรียนอนุบาลหนองขุนชาติ สพป.อุทัยธานี เขต ๒, โรงเรียนตากสินราชานุสรณ์ สพป.ตาก เขต ๑, โรงเรียนบ้านแสลงโทน โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ๓ และโรงเรียนบ้านไพศาลสามัคคี สพป.บุรีรัมย์ เขต ๒, โรงเรียนมูลนิธิพัฒนาศาสน์ จ.สงขลา, โรงเรียนศรีวิทยา จ.ฉะเชิงเทรา ฯลฯ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของการแก้ปัญหาก็คือกระทรวงศึกษาธิการจะต้องไม่ลืมว่า ขณะนี้ครูผู้สอนเองก็ย่ำแย่ในทางทักษะภาษาอย่างน่าวิตก จะต้องแสวงหาแนวทางแก้ไขทั้งที่เป็นปัญหาเฉพาะหน้าและการป้องกันปัญหาในกระบวนการผลิตสร้างครูในอนาคตอย่างแม่นตรงต่อคุณภาพแท้จริงต่อไปด้วย

"ความรัก!เกิดจากความเข้าใจของคนสองคนและมักจบลงด้วยค ...
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม

ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-12-24 03:20 , Processed in 0.185289 second(s), 26 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้