ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
ดู: 850|ตอบกลับ: 0

การเดินทางแสวงบุญวัดในคตินิยมทั้ง 9 วัด หรือ การไหว้พระ 9 วัด

[คัดลอกลิงก์]

นิสิตสัมพันธ์

อยากมีเพื่อนคุยกินเที่ยวกัน

กระทู้
594
พลังน้ำใจ
30581
Zenny
218284
ออนไลน์
3227 ชั่วโมง

สมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Medmayom เมื่อ 2012-5-23 15:58



เป็นปกติธรรมดาที่คนไทยมักจะมีความเชื่อ เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยเฉพาะการเริ่มต้นปีใหม่ ไม่ว่าจะเป็นปีใหม่สากล
หรือปีใหม่ไทย การได้เข้าวัดทำบุญในเทศกาลดังกล่าวนั้น เชื่อกันว่า จะนำความสุขความเจริญ ความเป็นมงคลมาให้
ตลอดทั้งปีโดยเฉพาะหากสามารถเข้าวัดตามคตินิยมได้จะถือเอานามของวัดเป็นสิ่งช่วยเสริมบุญบารมี ให้มีโชคลาภ
ชื่อเสียง และสิริมงคลตลอดทั้งปี ยิ่งในสถานการณ์บ้านเมืองที่พึ่งจะผ่านมหาอุทกภัยมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ยิ่งทำให้
คนไทยเข้าวัดทำบุญกันมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งท้ายเคราะห์ และต้อนรับมงคลที่จะมาเยือนเมื่อก้าวขึ้นศักราชใหม่
ด้วยเหตุที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทำให้เส้นทางที่ใช้ในการเดินทางแสวงบุญวัดในคตินิยมทั้ง 9 วัด อันได้แก่
วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร (วัดกัลยา, วัดซำปอกง)
วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร (วัดชนะสงคราม)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร (วัดระฆัง)
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดสุทัศน์)
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนครค่อนข้างติดขัด แต่หากเพื่อความเป็นสิริมงคลแล้ว หลาย ๆ คนยอมที่จะมองข้ามอุปสรรคความแออัด
ต่าง ๆ เพื่อไปไหว้พระให้ได้เก้าวัดตามความตั้งใจ แต่ส่วนตัวแล้ว การไหว้พระ บูชาพระ ที่วัดไหน ๆ ก็คงไม่ต่างกันนัก แต่หาก
จะถามว่าแล้วทำไมต้องไปให้ได้เก้าวัด เห็นทีจะต้องตอบว่า เพื่อทดสอบความตั้งใจ และความอดทน (ในขีดที่ตัวเองกำหนด)
ว่าจะสามารถทำได้ตามวัตถุประสงค์ของตนเองเอาไว้ได้ตั้งแต่ตนปีหรือไม่ดังนั้น การไหว้พระเก้าวัดของตนเอง จึงเลือกเอาวัด
ที่มีผู้คนไม่มากนัก และสะดวกในการเดินทางที่จะสามารถปฏิบัติการให้แล้วเสร็จภายใน ๑ วันได้อย่างไม่ยาก โดยเริ่มต้นจาก
วัดเอี่ยมวรนุช

วัดเอี่ยมวรนุช เป็นวัดที่ระยะหลังมักจะนิยมเข้าไปทำบุญ อาจจะเป็นด้วยจริยวรรตของท่านเจ้าอาวาสที่ดูสำรวมและ
เป็นกันเอง อีกทั้งยังอยู่ไม่ไกลจากที่อยู่อาศัยอีกด้วย วัดนี้จึงเป็นวัดแรก ๆ ที่อยู่ในกำหนดการแม้นวันนี้จะไม่ใช่วันแรก
ของปี แต่ก็มีลูกศิษย์ลูกหา ชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาเข้ามาทำบุญกันอย่างมากมาย จนต้องต่อคิวกันเลยทีเดียว


ออกจากวัดเอี่ยมวรนุช ก็ไปตามความประสงค์ของผู้ร่วมเดินทางไปด้วย เพราะจริง ๆ แล้วก็ร่ำ ๆ จะไปไหว้พระวัดนี้
วัดเดียว แต่ถูกลูกสาวถูลู่ถูกังให้เข้าไปไหว้พระด้วยกัน วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร จึงเป็นวัดในลำดับถัดไป
พ่อบอกว่าวัดระฆังนี้ หากมาในวันธรรมดา จะเดินเหินสบายกว่านี้มาก เพราะคนไม่แน่นขนัดเท่ากับวันนี้ กว่าที่เราจะ
เดินผ่าบรรดาร้านค้าร้านขายปล่อยนกปล่อยปลามาได้ ก็แทบแย่ แถมวันนี้คนมากันมากมาย ทำบุญก็เลยต้องเข้า
แถวแจกบัตรคิว (ถังสังฆทานคิว) เป็นรอบกันเลยทีเดียว

เสร็จจากไหว้พระวัดระฆัง พ่อก็ขอตัวกลับบ้านไปนอนตามเจตนาเดิมที่ได้ตั้งไว้และบรรลุแล้ว ส่วนเราก็ตีตั๋วเรือทัวร์บุญไหว้
พระสามวัด อันได้แก่ วัดระฆัง วัดอรุณ และวัดกัลยาฯ ในราคา ๓๐ บาท นั่งวนได้จนถึง ๖ โมงเย็น ในขณะที่หากซื้อตั๋วแบบ
เดียวกัน ที่ท่าช้างจะต้องเสียค่าตั๋วถึง ๑๐๐ บาทเลยทีเดียว นั่นจึงทำให้เรายอมเสียค่าเรือข้ามฟาก ไปกลับ ๖ บาทเพื่อมา
เสียแค่ ๓๐ บาท โดยมีวัดอรุณเป็นเป้าหมายถัดไป

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง) เป็นอีกวัดหนึ่งที่มีความสวยงาม และถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
ยิ่งในวันต้นปีที่ถือเป็นวันเริ่มต้นที่ดีเช่นนี้แล้ว ผู้คนจึงแวะเวียนกันมาทำบุญกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญหล่อพระ
การถวายผ้าป่าการศึกษา หรือแม้นแต่การถวายสังฆทาน ที่เราตั้งใจมาทำนี่ก็เช่นกันสังฆทานที่วัดอรุณนี้จะแตกต่างจาก
วัดอื่นตรงที่ ในแต่ละถังสังฆทานจะมีพระประจำวัดเกิดบรรจุอยู่ด้วย หากท่านที่ต้องการจะทำบุญเกิดวันใด ก็สามารถเลือก
ดูได้จากตัวอักษรที่เขียนระบุไว้บนถังสังฆทานที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ และขอรับบริจาคตามกำลังศรัทธา จึงไม่น่าแปลกใจ
อะไร หากเราจะเห็นลูกเด็กเล็กแดง หรือบรรดาลูก ๆ พาพ่อแม่มาทำบุญกันในวัดอรุณแห่งนี้


วัดถัดมาตามลำดับของเรือทัวร์ คือ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร (วัดกัลยา, วัดซำปอกง) ซึ่งเป็นวัดใหญ่และมีคติ
ความเชื่อผสมผสานแบบจีน จึงทำให้ชาวไทยเชื้อสายจีนเดินทางมากราบไหว้สักการะบูชาเป็นจำนวนมาก

การจุดธูปจุดเทียนก็เลยดูจะทำให้วิงเวียนกันพอสมควร เพราะถึงแม้นจะเคยมาวัดนี้บ่อยครั้ง แต่ก็ยังจำไม่ได้ถึงลำดับ
การปักธูป การวางเทียนสีแดงกระจ่างที่ให้แสงไฟสว่างโชติช่วง้เช่นนั้นได้ง่าย ๆ อีกทั้งที่สะดุดตาอีกประการนั่นคือ
หลวงพ่อโต หรือหลวงพ่อซำปอกง ซึ่งเป็นพระประธานองค์ใหญ่ และตุ๊กตาจีนที่ประดับรายรอบวัด ที่ถูกกำหนดให้
เป็นเทพเจ้าต่าง ๆ ให้กราบไหว้เป็นสิริมงคลตามความเชื่อกันต่อไป


ออกจากวัดกัลยาฯ เรานั่งเรือทัวร์กลับมาลงที่ท่าน้ำวัดระฆังฯ เพื่อต่อเรือข้ามฟากกลับไปยังฝั่งพระนคร เดินลัดเลาะ
ไปบนถนนพระจันทร์ และมุ่งหน้าไปยัง วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดมหาธาตุฯ นี้ถึงแม้นจะอยู่ใกล้ ๆ แค่สนามหลวง
และผ่านไปมาหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่เคยมีสักครั้งที่จะตั้งใจเข้าไปทำบุญ เนื่องจากวัดนี้ส่วนหนึ่งเป็นสถานที่ศึกษาของ
บรรดาภิกษุสามเณร รวมถึงเป็นศูนย์กลางของการสอบพระธรรมบาลี ครั้งนี้จึงเป็นครั้งแรก ที่ได้ตั้งใจที่จะเข้าไปทำบุญ
อย่างจริงจัง จึงขอแนบเรืองประวัติความเป็นมาเอาไว้เพื่อเป็นเกล็ดความรู้และความจำเสียเล็กน้อย

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ นั้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร  เดิมชื่อเรียกกันว่า วัดสลัก ในหนังสือเก่าบางแห่งเรียกว่า วัดฉลัก ก็มีบ้าง วัดชะหลัก ก็มีบ้าง ทั้งสองชื่อหลังนี้คงจะเพี้ยน มาจากชื่อแรกมูลเหตุที่รียกว่า วัดสลัก นั้นสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ว่า “จะเป็นเพราะเมื่อแรกสร้างมีของสิ่งใดที่ทำด้วยฝีมือสลักผิดกับที่ทำเกลี้ยง ๆ เป็นสามัญในวัดอื่น คนทั้งหลายจึงเรียกว่า วัดสลัก  มิใช่นามสำหรับวัดแต่เป็นวัดขนาดกลางมิใช่วัดเล็ก ๆ” แต่อีกความเห็นหนึ่งซึ่งเป็นคำเก่าเล่าต่อกันมาว่าวัดนี้แต่ก่อนนั้นมีพระภิกษุ ที่เป็นช่างฝีมือแกะสลักขึ้นชื่ออยู่มาก จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านพากันเรียกชื่อวัดตามเกียรติคุณ ดังกล่าวนั้น ว่า วัดสลัก ไปด้วยวัดสลัก เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาแต่จะเป็นวัดที่ท่านผู้ใดสร้าง และสร้างในเดือน ปีใด ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด  เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีย้ายราชธานีมาจากอยุธยาแล้วมาตั้งอยู่ ที่กรุงธนบุรีได้กำหนดพื้นที่สร้างพระนครทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาวัดสลักก็ได้เข้าอยู่ในเขตพระนครด้วยจึงทรงยกฐานะเป็นพระอารามหลวงแต่มิได้ทรงเปลี่ยนแปลงชื่อวัดต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรด ให้ย้ายพระนคร มาตั้งทางฝั่งตะวันออก  วัดสลัก  อยู่ระหว่างพระบรมมหาราชวัง คือ วังหลวงกับพระราชวังบวร    คือ  วังหน้า  โดยเฉพาะพระราชวังบวรฯ นั้นขยายเนื้อที่ทางใต้ลงมากินเนื้อที่วัดสลักเข้าไปด้วยจึงโปรดให้ทำผาติกรรมเอาเนื้อที่ทางตอนใต้วัดให้แก่วัดเพื่อแลกเอาพื้นที่ตอนเหนือ ของวัดไป (บริเวณวัดสลักเดิมตอนใต้สุดเขตตรงหอระฆังและสระน้ำ ซึ่งเรียกว่าสระทิพยนิภา ปัจจุบันเป็นที่ตั้งตัวอาคารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ขยายมาถึงซอยศิลปากรปัจจุบันนี้) และกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทได้ทรงทำผาติกรรมเอาที่วัดไปดังนี้ สันนิษฐาน กันว่าคงเป็นมูลเหตุให้ทรงสร้างวัดนี้การสร้างวัด เริ่มตั้งแต่ราว ปีเถาะ ในปี  พ.ศ.๒๓๒๖  อันเป็นปีเดียวกับที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่๑  สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามครั้นทรงสร้างสำเร็จก็โปรดขนานนามชื่อไหม่ว่า วัดนิพพานาราม

เหตุที่ทรงเปลี่ยนชื่อวัดสลัก เป็น วัดนิพพานาราม สันนิษฐาน ว่าเดิมทีเดียวจะทรงเปลี่ยน ชื่อวัดสลัก เป็น
วัดพระศรีสรรเพชญ เพราะสิ่งก่อสร้าง เช่น  พระมณฑป ได้ทรงถ่ายแบบมณฑปมาจากวัดพระศรีสรรเพชญที่กรุงศรีอยุธยา
มาสร้าง  เป็นแต่ไม่มีจตุรมุขเท่านั้นและพระประสงค์ที่ทรงสร้างก็เพื่อบรรจุพระอัฐิ  แบบเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ
ในกรุงศรีอยุธยา คือ บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก(คือพระราชบิดาของพระองค์ซึ่งเป็นต้นพระราชวงศ์จักรี)
อันเป็นส่วนของกรมพระราชวังบวรฯ มหาสุรสิงหนาท  (พระอัฐิของสมเด็จปฐมบรมมหาชนกอันเป็นส่วนของพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกประดิษฐ์ฐานอยู่ที่พระบรมมหาราชวัง) แต่มาติดขัดตรงที่ว่า วัดนี้หาได้อยู่ในพระบรมมหาราชวังดัง
วัดพระศรีสรรเพชญในกรุงศรีอยุธยาไม่ จึงได้ทรงคิดเปลี่ยนชื่อไปเป็น วัดนิพพานาราม  เพราะด้วยพระอัฐิของสมเด็จพระปฐม
บรมมหาชนก ดังที่กล่าวไว้แล้ว (พระอัฐิของสมเด็จพระปฐมบรมราชชนกนั้น   สันนิษฐานว่าบรรจุไว้ ตอนล่างของพระเจดีย์ทอง
ในโบสถ์พระธาตุ  ส่วนพระบรมสารีริกธาตุอยู่ด้านบน) พระมณฑปที่กล่าวถึงนี้  คือ โบสถ์พระธาตุในปัจจุบันนี้ แต่เดิมทำทรง
หลังคาเป็นมณฑปโดยเอายอดปราสาทซึ่งเดิมกะจะสร้างในพระราชวังบวรฯ มาสร้าง ครั้นมณฑปนั้นถูกไฟไหม้เมื่อ วันศุกร์  
เดือน ๔ แรม ๑๕ ค่ำ  ปีระกา  ตรีศก  จุลศักราช ๑๑๖๓ พ.ศ. ๒๓๔๔ เวลายามเศษ เหลือแต่ผนัง เวลาทรงสร้างใหม่  โปรดให้
ทำหลังคาจตุรมุข มิให้ทำเครื่องยอดตามเดิม มาแก้โบสถ์พระธาตุ เป็นทรงหลังคาออกมุข  ๒  ด้านเช่นที่เห็น ที่อยู่ในปัจจุบันนี้
เข้าใจว่าคงจะมาแก้ไข เมื่อครั้งปฏิสังขรณ์ใหญ่ในรัชการที่ ๓

เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๓๓๑ ในรัชกาลที่  ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมีพระราชปรารภกับ
สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้ากรมพระราชวังบวรฯ มหาสุรสิงหนาทเรื่องทำสังคายนาพระไตรปิฎกและทรงพระราชดำริเห็นพ้อง
ต้องกันว่า  วัดนิพพานาราม  สมควรเป็นที่ประชุมในการทำสังคายนา เพราะอยู่ระหว่างวังหลวงกับวังหน้า  สะดวกที่ทั้ง
สองพระองค์   จะทำการอุปภัมภ์ให้การทำสังคายนาลุล่วงไปโดยเรียบร้อย    สมพระราชศรัทธา   จึงโปรดให้เปลี่ยนชื่อ
วัดไหม่เป็น วัดพระศรีสรรเพชญ แม้มิได้อยู่ในพระบรมมหาราชวัง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากเหตุผลสำคัญ ๓ ประการ คือ   
๑. ชื่อวัดนิพพานารามไม่มีแบบแผน   
๒. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้วในพระบรมมหาราชวังนั้น ชาวบ้านพากันเรียกว่าวัดพระศรีสรรเพชญตลอดมา
เพราะเห็นว่าเป็นวัดที่อยู่ในวังหลวง เหมือนกรุงศรีอยุธยา แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกไม่โปรดให้เรียกเช่น
นั้น ด้วยวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้วไม่ได้เก็บพระอัฐิอย่างวัดพระศรีสรรเพชญที่ กรุงศรีอยุธยา
๓. เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของกรมพระราชวังบวรฯ มหาสุรสิงหนาทมาแต่เดิม คือมีพระประสงค์จะให้วัดนี่ชื่อ
วัดพระศรีสรรเพชญ   
ด้วยเหตุ  ๓  ประการที่กล่าวมานี้ วัดนิพพานาราม จึงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดพระศรีสรรเพชญดาราม  หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า
วัดพระศรีสรรเพชญ และคงจะเรียกพระประธานในพระอุโบสถซึ่งเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ว่า พระศรีสรรเพชญ มาแต่ครั้งนั้น  
ตามแบบอย่างพระพุทธรูปพระศรีสรรเพชญ  ที่ประดิษฐ์ฐานอยู่ในวัดพระศรีสรรเพชญในกรุงศรีอยุธยาโบราณต่างแต่พระพุทธรูป
พระศรีสรรเพชญในกรุงศรีอยุธยาเป็นพระยืนหุ้มทองวัดสลักหรือวัดนิพพานารามเปลี่ยนนามเป็นวัดพระศรีสรรเพชญมาได้
ประมาณ ๑๕-๑๖ ปี ครั้งถึงปีกุน  พ.ศ.๒๓๔๖  เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทสวรรคตแล้ว พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
จุฬาโลก  ได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อวัดพระศรีสรรเพชญ เป็น วัดมหาธาตุ ซึ่งในการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดมหาธาตุครั้งนี้ สมเด็จฯกรมพระยา
ดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า “วัดมหาธาตุ ฤๅ ถ้าเรียกเต็มตามแบบว่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นหลักของพระนคร
ย่อมมีทุกราชธานีในประเทศนี้จำต้องมีในพระนครอมรรัตนโกสินทร์นี้ประการ ๑ พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระมณฑป (คือในโบสถ์พระธาตุ)  เป็นพระศรีรัตนมหาธาตุมีอยู่ในพระอารามแล้วประการ  ๑   เป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆ
ราชเหมือนวัดมหาธาตุที่กรุงเก่านี่อีกประการ ๑ เพราะสมควรแก่นามว่าวัดมหาธาตุ ยิ่งกว่านามอื่น ด้วยประการฉะนี้ จึง
พระราชทานนามว่า “วัดมหาธาตุ”

ต่อมาในรัชกาลที่  ๕  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ตั้งมหาวิทยาลัยการศึกษาของสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย
ขึ้น  ในวัดมหาธาตุ เรียกว่ามหาธาตุวิทยาลัย คู่กับ มหามกุฏราชวิทยาลัย ของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายเมื่อ ร.ศ.๑๐๘
(พ.ศ. ๒๔๓๒) โดยมีพระราชปรารภว่า   “จำเดิมแต่ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้วมา ได้ทรงทนุ
บำรุงพุทธศาสนาให้ถาวรเจริญรุ่งเรื่องขึ้นโดยลำดับ แต่พระสัทธรรมในพระบรมพุทธศาสนานี้ ย่อมมีเหตุปัจจัย
อาศัยกันแลกัน   เมื่อพระปริยัติสัทธรรมเจริญแพร่หลายอยู่  พระปฏิบัติสัทธรรมจึงจะเจริญไพบูลย์ได้ เมื่อพระปฏิบัติ
สัทธรรมไพบูลย์อยู่   พระปริยัติสัทธรรมย่อมเป็นรากเหง้าเค้ามูลแห่งพระพุทธ ศาสนา พระศาสนาจะดำรงอยู่   และ
เจริญก็ด้วยพระปริยัติสัทธรรม  การที่จะบำรุงพระปริยัติสัทธรรม อันเป็นรากเง้าของพระพุทธศาสนาให้ไพศาลยิ่งขึ้น
ก็ย่อมอาศัยการบำรุงให้มีผู้เล่าเรียนแลที่เรียนให้สะดวกยิ่งขึ้น  การเล่าเรียนพระปริยัติสัทธรรมที่เป็นไปอยู่เวลานี้ ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดการบำรุงทั่วทุกพระอาราม แต่ยังหาเป็นอันนับบริบูรณ์แท้ไม่ เพราะเป็นแต่สถานที่เล่าเรียนในชั้นต้น
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งวิทยาลัยที่เล่าเรียนพระไตรปิฎก และวิชาชั้นสูงขึ้นขึ้นไว้   ๒  สถาน สถานที่หนึ่ง
เป็นที่เล่าเรียนของของสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ได้ตั้งไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหารพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า
มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมชนกนารถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อีกสถานหนึ่งเป็นที่เล่าเรียนของสงฆ์ฝ่ายมหานิกายได้ตั้งไว้ที่ วัดมหาธาตุราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงมีนามว่า
มหาธาตุวิทยาลัย  ได้เปิดการเล่าเรียนแต่วันที่  ๘  พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก  ๑๐๘  สืบมา”ครั้นปีมะเมีย   พ.ศ.๒๔๓๗
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมกุฎราชกุมารทรงสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงบริจาคพระราชทรัพย์อันเป็นส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าวชิรุณหิศ อุทิศพระราชทานให้ปฏิสังขรณ์
วัดมหาธาตุจนสำเร็จ แล้วโปรดให้เพิ่มสร้อยต่อชื่อวัดเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์นั้นว่า
“วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์”

เมื่ออ่านประวัติและวัตถุประสงค์การสร้างวัดแล้ว จึงหายสงสัยว่าเหตุใด วัดมหาธาตุ จึงเป็นศูนย์รวมของการศึกษาด้าน
ปริยัติธรรม และการเรียนการสอนธรรมะทั้งมวล อีกทั้งเมื่อเดินสำรวจภายใน แล้วต้องบอกว่า วัดมหาธาตุนี้ สวยไม่แพ้
วัดใด ๆ เลยทีเดียว หลังจากเดินออกจากวัดมหาธาตุฯ เราก็มุ่งหน้าต่อไปยังวัดที่คุ้นเคย "วัดอินทรวิหาร" คือลำดับถัดไป


วัดอินทรวิหาร วันนี้ดูมีภูมิทัศน์สวยงามแปลกตา เหตุด้วยมีการตกแต่งให้สวยงามยิ่งขึ้นเพื่อฉลองพิธีรับพัดยศที่ผ่านมา
และฉลองวันเกิดท่านเจ้าอาวาสในวันนี้ ถึงขนาดที่ว่า ลูกสาวเจ้าอาวาสลงทุนมาทอดกล้วยแขกแจกเป็นทานกันเลย
ทีเดียวนั่นจึงทำให้เต้นท์ถวายเครื่องสังฆทานเดิมถูกย้ายจากด้านข้างพระอุโบสถไปยังบริเวณหน้าบ่อน้ำมนต์สมเด็จ
พระพุทธาจารย์โต บรรยากาศภายในวัดยังคงคึกคักเหมือนเดิม ผู้คนหลั่งไหลกันมาทำบุญทำทานกันมิได้ขาด มีทั้งผ้าป่า
สร้างวัด สร้างโบสถ บำรุงวัด หากจำไม่ผิดก็เห็นกันมาตั้งแต่เล็กจนโต จวบจนป่านนี้ยังคงสร้างและบำรุงกันไม่ครบถ้วน
นัยว่าจะสร้างไปซ่อมไปจนไม่แล้วเสร็จ

เดินทะลุวัดอินทร์ออกมาด้านถนนสามเสน เดินไปไม่ไกลนักก็มีทางเข้าวัดนรนาถสุนทริการาม ซึ่งเป็นวัดเล็ก ตั้งอยู่ก่อน
ถึงตลาดเทเวศน์ย่านเดียวกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่อง
เที่ยวจากต่างประเทศ แวะเวียนมาเที่ยวกันไม่ขาดสาย

วัดนรนาถนี้เป็นวัดราฏษร์สร้างถวายให้อยู่ในความดูของหลวง (สมัยต้นรัชกาลที่ 5 พระยาโชฎีกราชเศรษฐี (เถียน โชติกเสถียร)
ครั้งยังเป็นพระยานรนาถภักดี กับคุณหญิงสุ่น (ภรรยา) ได้มีจิตศรัทธาสละทรัพย์ทำการปฏิสังขรณ์วัด ที่แทบจะเรียกว่า
สร้างถวายใหม่) ปัจจุบันจึงเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ภายในพระอุโบสถของวัดนี้ไม่มีภาพพระพุทธประวัติหรือภาพจิตรกรรมใด ๆ
มีตกแต่งไว้เพียงหินดินดานสีดำ และภาพบรรดาเทือกเถาย์เหล่าก่อ ของท่านผู้สร้างวัดถวายไว้รายรอบ สร้างบรรยากาศแห่ง
ความสงบไว้ได้อีกแบบหนึ่ง

เมื่อไปถึงกุฏีท่านเจ้าอาวาสท่านก็โอภาปราศรัยด้วยความเป็นกันเอง ภายหลังถวายเครื่องปัจจัยต่าง ๆ แล้ว ก็ขอตัวท่านเพื่อเดิน
ทางต่อไปยังวัดต่อไป ซึ่งอยู่ห่างกันเพียงข้ามคลองผดุงกรุงเกษมเท่านั้น นั่นคือ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

เดินลัดเลาะเข้าไปกราบพระประธานประจำพระอุโบสถ หรือ พระพุทธเทวราชปฏิมากร ภายในโบสถพร้อมทั้งถวายผ้าไตรจีวร
ที่ทางวัดมีตระเตรียมเอาไว้ให้เป็นที่เรียบร้อย จึงเดินกลับออกมายัง ศาลาจตุรมุข ที่อยู่ด้านหน้า

ศาลาจตุรมุขนี้ เป็นศาลาที่ใช้ในการสักการะบูชา เพราะมีทั้งพระภิกษุสำหรับทำพิธีรับเครื่องสังฆทาน และพระธาตุต่าง ๆ
รูปจำลองท่านเจ้าอาวาสเก่า รวมถึงรอยพระพุทธบาทให้ได้สักการะพร้อมสรรพ นอกจากนี้ วัดเทวราชนี้ ยังเป็นที่ตั้งของ
พิพิธภัณท์บ้านไม้สักทอง ที่สวยงามและน่าสนใจอีกด้วย

สำเร็จจากการไหว้พระถวายสังฆทานพระจากวัดเทวราชกุญชร วัดสุดท้ายที่เป็นเป้าหมายของการทำบุญในวันนี้นั่นคือ
วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ซึ่งจริง ๆ แล้วตั้งใจจะไปไหว้พระทำบุญที่วัดนี้หลายครั้งหลายหน แต่ก็พลาดไปได้ทุกครั้ง
ในวันนี้จึงไม่ลืมที่จะติดเครื่องสังฆทานและตั้งใจที่จะไปทำบุญที่วัดนี้ให้ได้ ด้วยวัดชนะสงครามนี้ถือเป็นหนึ่งในวัดใน
คตินิยมที่จะต้องมากราบไหว้ในวันขึ้นปีใหม่ ทำให้มีผู้คนมากมายเดินทางกันมากราบไหว้ ถวายสังฆทานพระ จนเป็นที่น่า
เวียนหัวแทนพระสงฆ์ผู้มีหน้าที่ในการรับสังฆทาน เพราะต้องทำเวลาเพื่อให้ญาตโยมได้ทำบุญถ้วนหน้ากัน โดยเฉพาะใน
ช่วงเวลาที่ใกล้วัดจะปิดเช่นนี้

หลังจากถวายสังฆทานและกราบพระครบถ้วนทั้งเก้าวัดตามที่ได้ตั้งเจตนาเอาไว้แล้ว ก็ไม่ลืมที่จะเอาบุญมาฝากเพื่อนพ้อง
น้องพี่ โดยทั่วหน้ากัน ขอให้มีสุขสันต์ในทุก ๆ วัน ทุก ๆ คืน หลับขอให้ได้เงินหมื่น ตื่นขอให้ได้เงินแสน ทุกข์ภัยข้นแค้น
อย่าได้มีมาแผ้วพาลขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยโปรดดลบรรดาลให้ทุกท่าน คิดดี ทำดี พูดดี ตลอดปี และตลอดไป
เพื่อเป็นมงคลแก่ชีวิตโดยถ้วนหน้ากัน



"ความรัก!เกิดจากความเข้าใจของคนสองคนและมักจบลงด้วยค ...
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม

ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-11-15 06:36 , Processed in 0.076401 second(s), 26 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้