งานสร้างสรรค์ของท่านสุนทรภู่
|
ประเภทนิราศ
|
กลอนนิราศ เป็นรูปแแบบกลอนของสุนทรภู่ โดยท่านได้นำเอาวิธีการของกลอนเพลงยาว มาปรับปรุงเพิ่มเติมวิธีการบรรยายและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านแล้วสอดแทรกบทคร่ำครวญ อาลัยอาวรณ์ที่ต้องพลัดพรากจากมา เช่น |
| | แสนอาลัยใจหายไม่วายห่วง |
| ดังศรศักดิ์ปักซ้ำระกำทรวง | เสียดายดวงจันทราพงางาม |
| เจ้าคุมแค้นแสนโกรธพิโรธพี่ | แต่เดือนยี่นี่ก็ย่างเข้าเดือนสาม |
หรือในนิราศเมืองแกลงที่สุนทรภู่ต้องจากแม่จันไปโดยมิได้ร่ำลาว่า |
| พี่จากไปได้แต่รักมาฝากน้อง | มากกว่าของอื่นอื่นสักหมื่นแสน |
| พอเป็นค่าผ้าห่มที่ชมแทน | อย่าเคืองแค้นเลยที่ฉันไม่ทันลา |
เนื้อความในนิราศจะยกเอาสถานที่ ภูมิประเทศ หรือเหตุการณ์ หรือแม้แต่พันธุ์ไม้ที่ได้พบเห็นแล้วพรรณนา หรือบรรยายความรู้สึกถึงผู้ที่ท่านกำลัง มีจิตผูกพันอยู่ในขณะนั้น ด้วยลีลา และสำนวนกลอนที่เป็นเอกลักษณ์ของท่าน เช่น |
| ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า | พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี |
| ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี | ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว |
หรือในนิราศพระประธมซึ่งสุนทรภู่เขียนถึงแม่นิ่ม ภรรยาอีกคนของท่านซึ่งได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยท่านพรรณนาความไว้ว่า |
| ถึงคลองขวางบางกรวยระทวยจิต | ไม่ลืมคิดนิ่มน้อยละห้อยหา |
| เคยร่วมสุขทุกข์ร้อนแต่ก่อนมา | โอ้สิ้นอายุเจ้าได้เก้าปี |
| แต่ก่อนกรรมทำสัตว์ให้พลัดพราก | จึงจำจากนิ่มน้องให้หมองศรี |
| เคยไปมาหาน้องในคลองนี้ | เห็นแต่ที่ท้องคลองนองน้ำตา |
จะเห็นได้ว่าวิธีการดังกล่าวนี้มีมากกว่าที่พบได้ในบทกลอนเพลงยาวหรือโคลงนิราศที่มีมาก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นสิ่งที่เราจะพบได้อีกประการหนึ่งคือ การที่สุนทรภู่กล่าวถึงภรรยาหรือคนรัก ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งในด้านที่ก่อให้เกิดความเศร้าโศกทุกข์ยาก หรือเป็นสุขนั้น ท่านได้มาจากเรื่องจริงๆของตัวท่านเองทั้งสิ้น มิใช่เป็นเรื่องปรุงแต่ง หรือสร้างขึ้นมาแต่อย่างใดดังนั้นเมื่อเราอ่านนิราศทุกเรื่องของท่าน เราจึงได้ทราบชีวประวัติของท่านไปด้วย นี่คือความดีเด่น ในด้านเนื้อหานอกจากจะแต่งกลอนด้วยความชำนาญเป็นพิเศษแล้ว ยังแฝงไว้ด้วยคติข้อคิดสุภาษิตต่างๆ ซึ่งท่านได้ยกมาเป็นอุทาหรณ์สอนใจแก่ผู้อ่านอย่างมากมาย เช่น |
| ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง | มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา |
| โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา | ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าให้น่าอาย |
และ |
| ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ | มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต |
| แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร | จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา |
ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ สุนทรภู่ เป็นผู้ที่มีอารมณ์สนุก บางเรื่องหรือบางเหตุการณ์ท่านได้หยิบยกขึ้นมาถ่ายทอด เราในฐานะผู้อ่านคงจะอดอมยิ้มมิได้แน่ เช่น |
| เห็นพวกชายฝ่ายมอญแต่ก่อนมา | ล้วนสักขาเขียนหมึกจารึกพุง |
| ฝ่ายสาวสาวเกล้ามวยสวยสะอาด | แต่ขยาดอยู่ว่านุ่งผ้าถุง |
| ทั้งผ้าห่มตาถี่เหมือนสีรุ้ง | ทั้งผ้านุ่งนั้นก็ออมลงกรอมดิน |
| เมื่อยกเท้าก้าวย่างสว่างแวบ | เหมือนฟ้าแลบแลผาดแทบขาดศีล |
| นี่หากเห็นเป็นเด็กเหมือนเจ๊กจีน | เจียนจะปีนซุ่มซ่ามไปตามนาง |
ดังนั้น นิราศ จึงเป็นผลงานในเชิงสร้างสรรค์ที่ทรงคุณค่า ที่มีรูปแบบเฉพาะของท่าน ดังจะเห็นได้จากที่ ไม่มีกวีคนใดในรุ่นหลังที่จะสามารถแต่งกลอนนิราศได้ดีเท่าท่านสุนทรภู่แม้แต่คนเดียว |
นิราศเมืองแกลง
|
นิราศเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกของท่านสุนทรภู่ แต่งในปี พ.ศ. ๒๓๕๐เมื่อคราวเดินทางโดยเรือจากพระนคร และไปขึ้นบกเดินทางด้วยเท้าต่อไปถึงเมืองแกลง เพื่อไปเยี่ยมบิดาซึ่งบวชอยู่ที่ วัดบ้านกร่ำเมืองแกลง (ในเขตจังหวัดระยองปัจจุบัน)นิราศเมืองแกลงนี้พรรณนาสภาพความเป็นไปหลายอย่างของกรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ ๑ นอกจากนั้นยังจะบรรยาย และพรรณนาถึงสภาพบ้านเมืองตามหัวเมืองแถบชลบุรี ระยอง ทั้งยังแสดงประวัติชีวิตวัยหนุ่มอันเกี่ยวกับหญิงคนรักที่ชื่อ จัน ซึ่งเป็นภรรยาคนแรกไว้อย่างชัดเจน |
นิราศเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกของท่านสุนทรภู่ แต่งในปี พ.ศ. ๒๓๕๐เมื่อคราวเดินทางโดยเรือจากพระนคร และไปขึ้นบกเดินทางด้วยเท้าต่อไปถึงเมืองแกลง เพื่อไปเยี่ยมบิดาซึ่งบวชอยู่ที่ วัดบ้านกร่ำเมืองแกลง (ในเขตจังหวัดระยองปัจจุบัน)นิราศเมืองแกลงนี้พรรณนาสภาพความเป็นไปหลายอย่างของกรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ ๑ นอกจากนั้นยังจะบรรยาย และพรรณนาถึงสภาพบ้านเมืองตามหัวเมืองแถบชลบุรี ระยอง ทั้งยังแสดงประวัติชีวิตวัยหนุ่มอันเกี่ยวกับหญิงคนรักที่ชื่อ จัน ซึ่งเป็นภรรยาคนแรกไว้อย่างชัดเจน |
| ขอให้น้องครองสัตย์ปฏิญาณ | ได้พบพานภายหน้าเหมือนอารมณ์ |
| พอควรคู่รู้รักประจักษ์จิต | จะได้ชิดชื่นน้องประคองสม |
| ถึงต่างแดนแสนไกลไพรพนม | ให้ลอยลมลงมาแอบแนบอุรา |
| อย่ารู้จักผลักพลิกทั้งหยิกข่วน แขนแต่รอยเล็บเจ็บหนักหนา | แขนแต่รอยเล็บเจ็บหนักหนา |
| ให้แย้มยิ้มพริ้มพร้อมน้อมวิญญาณ์ | แล้วก็อย่าขี้หึงตะบึงบอน |
หรือในนิราศเมืองแกลงที่สุนทรภู่ต้องจากแม่จันไปโดยมิได้ร่ำลาว่า |
| พี่จากไปได้แต่รักมาฝากน้อง | มากกว่าของอื่นอื่นสักหมื่นแสน |
| พอเป็นค่าผ้าห่มที่ชมแทน | อย่าเคืองแค้นเลยที่ฉันไม่ทันลา |
เนื้อความในนิราศจะยกเอาสถานที่ ภูมิประเทศ หรือเหตุการณ์ หรือแม้แต่พันธุ์ไม้ที่ได้พบเห็นแล้วพรรณนา หรือบรรยายความรู้สึกถึงผู้ที่ท่านกำลัง มีจิตผูกพันอยู่ในขณะนั้น ด้วยลีลา และสำนวนกลอนที่เป็นเอกลักษณ์ของท่าน เช่น |
| ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า | พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี |
| ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี | ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว |
หรือในนิราศพระประธมซึ่งสุนทรภู่เขียนถึงแม่นิ่ม ภรรยาอีกคนของท่านซึ่งได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยท่านพรรณนาความไว้ว่า |
| ถึงคลองขวางบางกรวยระทวยจิต | ไม่ลืมคิดนิ่มน้อยละห้อยหา |
| เคยร่วมสุขทุกข์ร้อนแต่ก่อนมา | โอ้สิ้นอายุเจ้าได้เก้าปี |
| แต่ก่อนกรรมทำสัตว์ให้พลัดพราก | จึงจำจากนิ่มน้องให้หมองศรี |
| เคยไปมาหาน้องในคลองนี้ | เห็นแต่ที่ท้องคลองนองน้ำตา |
จะเห็นได้ว่าวิธีการดังกล่าวนี้มีมากกว่าที่พบได้ในบทกลอนเพลงยาวหรือโคลงนิราศที่มีมาก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นสิ่งที่เราจะพบได้อีกประการหนึ่งคือ การที่สุนทรภู่กล่าวถึงภรรยาหรือคนรัก ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งในด้านที่ก่อให้เกิดความเศร้าโศกทุกข์ยาก หรือเป็นสุขนั้น ท่านได้มาจากเรื่องจริงๆของตัวท่านเองทั้งสิ้น มิใช่เป็นเรื่องปรุงแต่ง หรือสร้างขึ้นมาแต่อย่างใดดังนั้นเมื่อเราอ่านนิราศทุกเรื่องของท่าน เราจึงได้ทราบชีวประวัติของท่านไปด้วย นี่คือความดีเด่น ในด้านเนื้อหานอกจากจะแต่งกลอนด้วยความชำนาญเป็นพิเศษแล้ว ยังแฝงไว้ด้วยคติข้อคิดสุภาษิตต่างๆ ซึ่งท่านได้ยกมาเป็นอุทาหรณ์สอนใจแก่ผู้อ่านอย่างมากมาย เช่น |
| ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง | มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา |
| โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา | ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าให้น่าอาย |
และ |
| ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ | มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต |
| แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร | จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา |
ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ สุนทรภู่ เป็นผู้ที่มีอารมณ์สนุก บางเรื่องหรือบางเหตุการณ์ท่านได้หยิบยกขึ้นมาถ่ายทอด เราในฐานะผู้อ่านคงจะอดอมยิ้มมิได้แน่ เช่น |
| เห็นพวกชายฝ่ายมอญแต่ก่อนมา | ล้วนสักขาเขียนหมึกจารึกพุง |
| ฝ่ายสาวสาวเกล้ามวยสวยสะอาด | แต่ขยาดอยู่ว่านุ่งผ้าถุง |
| ทั้งผ้าห่มตาถี่เหมือนสีรุ้ง | ทั้งผ้านุ่งนั้นก็ออมลงกรอมดิน |
| เมื่อยกเท้าก้าวย่างสว่างแวบ | เหมือนฟ้าแลบแลผาดแทบขาดศีล |
| นี่หากเห็นเป็นเด็กเหมือนเจ๊กจีน | เจียนจะปีนซุ่มซ่ามไปตามนาง |
ดังนั้น นิราศ จึงเป็นผลงานในเชิงสร้างสรรค์ที่ทรงคุณค่า ที่มีรูปแบบเฉพาะของท่าน ดังจะเห็นได้จากที่ ไม่มีกวีคนใดในรุ่นหลังที่จะสามารถแต่งกลอนนิราศได้ดีเท่าท่านสุนทรภู่แม้แต่คนเดียว |
นิราศพระบาท
|
นิราศเรื่องนี้แต่งขึ้นหลังจากนิราศเมืองแกลง เล่าเรื่องการเดินทางตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ที่ผนวชเป็นพระ และได้เสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาท เมืองสระบุรี ทำให้ผู้อ่านสามารถรู้เรื่องราวการไปทำบุญฉลองสมโภชพระพุทธบาท อันเป็นประเพณีของพุทธศาสนิกชนในสมัยนั้นทั้งยังได้แสดงประวัติส่วนตัวของผู้แต่งด้วยว่า เมื่อได้แต่งงานกับแม่จันแล้วก็มักมีเรื่องระหองระแหงกันอยู่เสมอๆ ขณะนั้นสุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในพระภิกษุพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสในกรมพระราชวังหลังสุนทรภู่เขียนนิราศเรื่องนี้ไว้อย่างดี การบรรยาย และพรรณนาเด่นชัดทำให้เกิดภาพพจน์ ประกอบการใช้สำนวนเปรียบเทียบชัดเจนให้ความรู้สึกกินใจแก่ผู้อ่าน เช่น |
| กำแพงรอบคอบคูก็ดูลึก | ไม่น่าศึกอ้ายพม่าจะมาได้ |
| ยังให้มันข้ามเข้าเอาเวียงชัย | โอ้อย่างไรเหมือนบุรีไม่มีชาย |
| หรือธานินทร์สิ้นเกณฑ์จึงเกิดยุค | ไพรีรุกรบได้ดังใจหมาย |
| เหมือนทุกวันแล้วไม่คัณนาตาย | ให้ใจหายหวั่นหวั่นถึงจันทร์ดวง |
| พี่ดูใจภายนอกออกหนักแน่น | ดังเขตแคว้นคูขอบนครหลวง |
| ไม่เห็นจริงใจนางในกลางทรวง | ชายทะลวงเข้ามาบ้างหรืออย่างไร |
นิราศภูเขาทอง
|
นิราศเรื่องนี้ท่านแต่งในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งถือได้ว่าเป็นตอนที่ชีวิตของท่านตกอับมาก และยังบวชเป็นพระ ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นการบวชเพื่อหลบราชภัยที่สุนทรภู่เกรงว่าอาจจะมีมาถึงตัวท่านก็ได้ ทำให้ต้องพรรณนาความรู้สึกนึกคิดได้อย่างถึงแก่น ประกอบกับความชำนาญในลีลาของกลอนที่มากขึ้นดังนั้นนิราศภูเขาทองนี้ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดแม้ว่าจะมีความยาวไม่มากนัก คือ ๑๗๖ คำกลอนเท่านั้นนอกจากนั้นเนื้อหายังแตกต่างไปจากนิราศเรื่องอื่นๆ เพราะไม่ได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก ความพิศวาส แต่จะพรรณนาถึงความจริงแท้ของชีวิตมนุษย์ โดยท่านยกเอาชีวิตของท่านเป็นตัวอย่าง เพราะฉะนั้นนิราศภูเขาทองจึงเด่นด้วยปรัชญา ความคิดที่ลึกซึ้ง เช่น |
| ทั้งองค์ฐานรานร้าวถึงเก้าแฉก | เผยอแยกยอดทรุดก็หลุดหัก |
| โอ้เจดีย์ที่สร้างยังร้างรัก | เสียดายนักนึกน่าน้ำตากระเด็น |
| กระนี้หรือชื่อเสียงเกียรติยศ | จะมิหมดล่วงหน้าทันตาเห็น |
| เป็นผู้ดีมีมากแล้วยากเย็น | คิดก็เป็นอนิจจังเสียทั้งนั้น |
หรืออีกตอนหนึ่งว่า |
| ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง | มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา |
| โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา | ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าให้น่าอาย |
| ทำบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ | พระสรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย |
| ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย | ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป |
นิราศวัดเจ้าฟ้า
|
นิราศเรื่องนี้แต่งขึ้นภายหลังนิราศภูเขาทอง เนื่องจากว่าขณะนั้นท่านยังเป็นพระอยู่ การจะเขียนพร่ำพรรณนาถึงความรักในเชิงโลกียวิสัยหรือแม้แต่การที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ด้วยอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆเป็นสิ่งอันไม่สมควรกับสมณเพศเช่นท่าน ดังนั้นท่านจึงเลี่ยงเสียโดยใช้ชื่อของ หนูพัด ซึ่งเป็นเณรบุตรชายของท่าน และได้ติดตามไปด้วยเป็นผู้แต่งขึ้น ถึงกระนั้นก็ดีผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา และวรรณคดีต่างก็ลงความเห็นเหมือนๆ กันว่า เป็นสำนวนกลอนของท่านอยู่ดีนิราศวัดเจ้าฟ้านี้เป็นนิราศที่เล่าถึงเรื่องการเดินทางไปค้นหายาอายุวัฒนะที่กรุงศรีอยุธยาตามลายแทงที่ได้มาว่ามีอยู่ที่วัดเจ้าฟ้า ซึ่งเป็นวัดอยู่กลางทุ่งเมืองกรุงเก่า ในการเดินทางไปครั้งนั้นทำให้ต้องผจญกับเรื่องเร้นลับต่างๆและในที่สุดก็ไม่สามารถค้นพบสิ่งที่ต้องการนั้นได้ตัวอย่างความบางตอนจากนิราศวัดเจ้าฟ้า ในตอนที่ท่านผ่านเมืองสามโคกซึ่งเป็นชุมชนชาวมอญ สุนทรภู่บันทึกเรื่องราวไว้ดังนี้ |
| เห็นพวกชายฝ่ายมอญแต่ก่อนมา | ล้วนสักขาเขียนหมึกจารึกพุง |
| ฝ่ายสาวสาวเกล้ามวยสวยสะอาด | แต่ขยาดอยู่ว่านุ่งผ้าถุง |
| ทั้งผ้าห่มตาถี่เหมือนสีรุ้ง | ทั้งผ้านุ่งนั้นก็ออมลงกรอมดิน |
| เมื่อยกเท้าก้าวย่างสว่างแวบ | เหมือนฟ้าแลบแลผาดแทบขาดศีล |
| นี่หากเห็นเป็นเด็กเหมือนเจ๊กจีน | เจียนจะปีนซุ่มซ่ามไปตามนาง |
นิราศอิเหนา
|
นิราศเป็นนิราศที่แต่งขึ้นจากจินตนาการของท่าน โดยอาศัยเค้าเรื่องจากบทละครเรื่องอิเหนาตอน บุษบาถูกลมพายุหอบ และอิเหนาออกติดตามค้นหา ซึ่งจะแตกต่างจากนิราศเรื่องอื่นๆ ซึ่งเกิดจากการเดินทางใช้วิธีพรรณนาเกี่ยวกับสถานที่โดยสอดแทรกความรู้สึกของตนที่มีต่อคนรักเป็นส่วนใหญ่ แต่เรื่องนี้ไม่ได้เกิดจากการเดินทางแต่อย่างใดคงใช้วิธีการให้อิเหนาที่ต้องพลัดพรากจากนางบุษบาไปจึงพรรณนาคร่ำครวญเสียดายนางบุษบา เช่น |
| จะหักอื่นขืนหักก็จักได้ | หักอาลัยนี่ไม่หลุดสุดจะหัก |
| สารพัดตัดขาดประหลาดนัก | แต่ตัดรักนี่ไม่ขาดประหลาดใจ |
คำประพันธ์บางบทแม้ว่าจะใช้คำธรรมดา แต่เมื่อสุนทรภู่ได้นำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกันแล้ว ให้ทั้งอารมณ์ ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง เช่น |
| ตะลึงเหลียวเปลี่ยวเปล่าให้เหงาหงิม | สุชลปริ่มเปี่ยมเหยาะเผาะเผาะผอย |
นิราศสุพรรณ
|
เป็นนิราศเรื่องเดียวที่แต่งด้วยคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ และเป็นหนึ่งในสองเรื่องที่ท่านมิได้แต่งด้วยกลอน (เรื่องแรกคือ กาพย์พระไชยสุริยา )รูปแบบของโคลงสี่สุภาพที่ท่านแต่งนั้นก็เป็นไปในลักษณะเฉพาะของท่านกล่าวคือ มีการเล่นสัมผัสในวรรค ทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสอักษรเช่นเดียวกับกลอนที่ท่านถนัด เช่น |
| กาเหยี่ยวเที่ยวว้าว่อน | เวหา |
| ร่อนร่ายหมายมัจฉา | โฉบได้ |
ฯลฯ |
| บูราณท่านว่าน้ำ | สำคัญ |
| ป่าต้นคนสุพรรณ | ผ่องแผ้ว |
| แดนดินถิ่นสุวรรณ ธรรมชาติ | มาศเอย |
| ผิวจึ่งเกลี้ยงเสียงแจ้ว | แจ่มน้ำคำสนอง |
ในนิราศสุพรรณนี้สุนทรภู่ได้เขียนรำลึกถึงความหลังเมื่อยังหนุ่ม เช่นตอนที่ท่านผ่านวัดชีปะขาว ได้เขียนไว้ว่า |
| วัดปะขาวคราวรุ่นรู้ | แรกเรียน |
| ทำสูตรสอนเสมียน | สมุดน้อย |
| เดินระวางระวังเวียน | หว่างวัด ปะขาวเฮย |
| เคยชื่นกลืนกลิ่นสร้อย | สวาทน้องกลางสวน |
นิราศเมืองเพชร
|
นิราศเรื่องนี้นักวรรณคดีลงความเห็นกันว่า เป็นนิราศที่มีความยอดเยี่ยมในสำนวนกลอนรองลงมาจากนิราศภูเขาทอง อาจจะเป็นเพราะความเชี่ยวชาญที่เพิ่มพูนขึ้นจากประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนานนายตำรา ณ เมืองใต้ กล่าวว่า สุนทรภู่มีความชำนาญเรื่องการใช้คำอย่างยิ่ง เช่น ตอนพรรณนาถึงพวกลิงไว้ว่า |
| เวทนาวานรอ่อนน้อยน้อย | กระจ้อยร่อยกระจิริดจิ๊ดจิ๊ดจิ๋ว |
เห็นได้ว่าท่านจัดเอาคำซึ่งแสดงว่า เล็กลงตามลำดับได้หมดหรือลีลาการเล่นสัมผัสทั้งสระและอักษร เช่น |
| จนไม่มีที่รักเป็นหลักแหล่ง | ต้องคว้างแคว้งควานหานิจจาเอ๋ย |
| โอ้เปลี่ยวใจไร้รักที่จักเชย | ชมแต่เตยแตกงามเมื่อยามโซ |
ในขณะนี้ได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา และวรรณคดีไทยบางท่านโดยเฉพาะคณะแห่งสถาบันราชภัฏเพชรบุรี และนักวิชาการของกรมศิลปากรได้เสนอแนวคิดว่า สุนทรภู่น่าจะเป็นชาวเมืองเพชรบุรีดังเช่นที่ ภิญโญ ศรีจำลองได้นำเสนอเอกสารที่เกี่ยวกับนิราศเมืองเพชรซึ่งค้นพบใหม่มีเนื้อความแตกต่างไปจากเดิมว่า |
| ทั้งโบสถ์บ้านฐานที่ยังมีอยู่ | แต่ท่านผู้ญาติกานั้นอาสัญ |
| เพราะกรุงแตกแยกย้ายพลัดพรายกัน | จึงสิ้นพันธุ์พงศาเอกากาย |
| ที่เหล่ากอหลอเหลือในเนื้อญาติ | เป็นเชื้อชาติชาวเพชรบุรียังมีหลาย |
| แต่สิ้นผู้ปู่ย่าพวกตายาย | ญาติทั้งหลายมิได้รู้เรื่องบูราณ |
นอกจากนั้นยังได้หลักฐานจากการที่สุนทรภู่นั้นเดินทางไปเพชรบุรีหลายครั้งจนมีภรรยาที่เป็นชาวเมืองเพชรด้วย |
นิราศพระประธม
|
เป็นนิราศที่ท่านแต่งขึ้นเมื่อครั้งไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ ซึ่งในสมัยนั้นเรียกกันว่า พระประธม นิราศเรื่องนี้สุนทรภู่ไดพยายามรำลึกถึงชีวิตในอดีตโดยเฉพาะเรื่องความรักที่มีต่อหญิงหลายๆคน บางคนที่ท่านมีความผูกพันมากก็จะพร่ำพรรณนาไว้อย่างลึกซึ้ง กินใจ เช่นเมื่อเดินทางผ่านไปถึงคลองบางกรวย สุนทรภู่มีจิตระลึกถึงแม่นิ่มซึ่งภรรยาอีกคนหนึ่ง และเป็นคนในท้องที่นั้น ท่านพรรณนาไว้ว่า |
| เห็นคลองขวางบางกรวยระทวยจิต | ไม่ลืมคิดนิ่มน้อยละห้อยหา |
| เคยร่วมสุขทุกข์ร้อนแต่ก่อนมา | โอ้สิ้นอายุเจ้าได้เก้าปี |
| แต่ก่อนกรรมทำสัตว์ให้พลัดพราก | จึงจำจากนิ่มน้องให้หมองศรี |
| เคยไปมาหาน้องในคลองนี้ | เห็นแต่ที่ท้องคลองนองน้ำตา |
ความดีเด่นของนิราศเรื่องนี้อีกประการหนึ่งคือ การใช้โวหารเปรียบเทียบได้อย่างไพเราะงดงาม และกินใจมาก เช่น ในตอนที่ท่านอธิษฐานถึงความรักต่อองค์พระปฐมเจดีย์ว่า |
| แม้นเป็นไม้ให้พี่นี้เป็นนก | ให้ได้กกกิ่งไม้อยู่ไพรสัณฑ์ |
| แม้นเป็นนารีผลวิมลจันทร์ | ขอให้ฉันเป็นพระยาวิชาธร |
| แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นแมลงภู่ | ได้ชื่นชูเชยชมสมเกสร |
| เป็นวารีพี่หวังเป็นมังกร ์ | ได้เชยช้อนชมทะเลทุกเวลา |
| แม้นเป็นถ้ำน้ำใจใคร่เป็นหงส์ | จะได้ลงสิงสู่ในคูหา |
| แม้นเนื้อเย็นเป็นเทพธิดา | พี่ขออาศัยเสน่ห์เป็นเทวัญ |
รำพันพิลาป
|
รำพันพิลาปแม้มิได้เป็นบันทึกการเดินทางเช่นนิราศเรื่องอื่นๆแต่ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณคดีก็จัดให้อยู่ในประเภทนิราศด้วยรำพันพิลาปนี้เป็นบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของท่านโดยมีมูลเหตุจากสังหรณ์บางอย่างที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นความเชื่อของคนไทยสมัยนั้น กล่าวคือ |
| เงียบสงัดวัดวาในราตรี | เสียงเป็ดผีหวีหวีดจังหรีดเรียง |
| หริ่งหริ่งเรื่อยเฉื่อยชื่นสะอื้นอก | สำเนียงนกแสกแถกแสกแสกเสียง |
| เสียงแมงมุมอุ้มไข่มาใต้เตียง | ตีอกเพียงผึงผึงตะลึงฟัง |
จากนั้นยังฝันไปอีกด้วย ดังนั้นเมื่อตื่นขึ้นทำให้ท่านต้องแต่งรำพันพิลาปขึ้นมาคล้ายกับเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชีวิตของท่านนั่นเอง ดังเช่นเขียนไว้ว่า |
| นักเลงกลอนนอนฝันเป็นสันดาน | เคยเขียนอ่านอดใจไม่ใคร่ฟัง |
| จะฝากดีฝีปากจะฝากรัก | ด้วยจวนจักจากถิ่นถวิลหวัง |
| ไว้อาลัยให้ละห้อยจงคอยฟัง | จะร่ำสั่งสิ้นสุดอยุธยา |
นอกจากนั้นท่านยังบรรยายถึงวัดเทพธิดาราม ซึ่งเป็นวัดที่ท่านจำพรรษาอยู่ในขณะนั้นด้วย |
ประเภทนิทาน
|
โคบุตร
|
เป็นนิทานเรื่องแรกของสุนทรภู่ แต่งขึ้นเพื่อถวายเจ้านายในพระราชวังหลังพระองค์หนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับ โคบุตรซึ่งเป็นลูกของพระอาทิตย์และนางอัปสร โดยฝากเลี้ยงไว้กับพญาราชสีห์ และนางไกรสร เมื่อเจริญชันษาโคบุตรซึ่งได้รับของวิเศษจากพระอาทิตย์ คือ แหวน และสังวาล และได้รับมอบใบยาวิเศษที่สามารถชุบชีวิตคนตายให้มีชีวิตได้จากราชสีห์ ต่อจากนั้นจึงเป็นเรื่องาวการผจญภัยของโคบุตร ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่งในตอนท้ายที่โคบุตรมีพระมเหสีสองคน คือ นางอำพันมาลา และมณีสาคร นางอำพันมาลาเห็นโคบุตรรักนางมณีสาครมากกว่าตน จึงทำเสน่ห์ให้โคบุตรหลงรัก แต่อรุณกุมารได้แก้ไขเสน่ห์ โคบุตรโกรธมากถึงกับสั่งประหาร แต่อรุณกุมารขอร้อง โคบุตรจึงขับไล่นางอำพันมาลาออกจากวัง ดังต่อไปนี้ |
| โฉมอำพันมาลาน้ำตาไหล | เห็นชาวในพระสนมมาคับคั่ง |
| ค่อยหยุดยืนฝืนองค์ทรงประทัง | เหลียวมาสั่งสาวสวรรค์กำนัลใน |
| จงปกป้องครองกันเป็นผาสุก | อย่ามีทุกข์เศร้าสร้อยละห้อยไห้ |
| เรามีกรรมจำลาเจ้าคลาไคล | หักพระทัยออกจากทวารา |
ลักษณวงศ์
|
เป็นนิทานคำกลอนเป็นเรื่องของ ลักษณวงศ์พระโอรสของท้าวพรหมทัต และนางสุวรรณอำภา ครั้งหนึ่งทั้งสามได้ออกประพาสป่า ขณะที่ทั้งสามกำลังบรรทมอยู่นั้น มีนางยักษ์ตนหนึ่งมาพบท้าวพรหมทัตและเกิดหลงรัก จึงแปลงตนเป็นสาวงามทำให้ท้าวพรหมทัตหลงใหล จนสั่งให้ประหารนางสุวรรณอำภาและลักษณวงศ์ แต่เพชรฆาตสงสารจึงปล่อยตัวทั้งสองไป ต่อจากนั้นเป็นเรื่องการผจญภัยของลักษณวงศ์และของนางทิพย์เกสร ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่ง ดังต่อไปนี้ |
| พอสิ้นแสงสุริยาในอากาศ | ก็โอภาสจันทร์แจ่มจำรัสฉาย |
| น้ำค้างโรยโปรยปรายกระจายพราย | พระพายชายพัดเชยรำเพยพาน |
| เสาวคนธ์หล่นโรยมารื่นรื่น | เจ้าพลิกฟื้นวรองค์น่าสงสาร |
| ไม่เห็นองค์มารดายุพาพาล | ยิ่งแดดาลเดือดดิ้นอยู่โดยเดียว |
สิงหไตรภพ
|
ท่านสุนทรภู่เริ่มแต่งตอนต้นเรื่องประมาณต้นรัชกาลที่ ๒ และแต่งต่อในตอนท้ายขณะที่บวชอยู่ ณ วัดเทพธิดาราม เพื่อถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์ตอนหนึ่ง และถวายกรมหมื่นอัปสรเทพสุดา ฯ อีกตอนหนึ่งสิงหไตรภพเป็นนิทานพื้นบ้านอีกเรื่องหนึ่งของท่านสุนทรภู่ เป็นเรื่องราวของ สิงหไตรภพซึ่งเป็นโอรสของท้าวอินณุมาศ เจ้าเมืองโกญจา และนางจันทร์แก้วกัลยาณี พระมเหสี ทั้งสองได้รับบุตรจอมโจรสลัดมาเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรมชื่อว่า คงคาประลัย คงคาประลัยเป็นคนพาลตามนิสัยของบิดา วันหนึ่งคงคาประลัยได้ก่อกบฏยึดอำนาจภายในเมือง เนื่องจากเกดความโกรธแค้นที่พ่อถูกฆ่าตาย และอิจฉาพระโอรสที่อยู่ในครรภ์ของนางจันทร์แก้วกัลยาณี ทำให้กษัตริย์ทั้งสองต้องหนีออกจากเมืองไปอาศัยอยู่ในป่าและให้กำเนิดพระโอรสในป่า ต่อมาพราหมณ์เทพจินดาได้ลักพาตัวสิงหไตรภพไป ด้วยพราหมณ์เทพจินดาผู้เป็นบุตรของพราหมณ์วิรุณฉาย ซึ่งสามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ทราบว่าจะมีผู้มีบุญลงมาเกิด ก่อนตายได้สั่งพราหมณ์เทพจินดาบุตรชายให้ตามหาเด็กชายที่มีลักษณะตามตำรา วันหนึ่งพราหมณ์เทพจินดาและสิงหไตรภพได้พบยักษ์ชื่อพินทุมาร และอาศัยอยู่กับพินทุมารจนโต เมื่อสิงหไตรภพเติบโตจึงได้ขโมยใบไม้วิเศษที่เมื่อกินเข้าไปแล้ว สามารถแปลงกายเป็นสัตว์ได้ ต่อจากนั้นเป็นเรื่องราวของการผจญภัยของสิงหไตรภพ ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่ง ดังต่อไปนี้ |
| ซึ่งสัจจังที่ตั้งเมตตาจิต | มิได้คิดแสร้งเสกอุเบกษา |
| ด้วยเลี้ยงคงคาประลัยจนใหญ่มา | ทั้งเวลากินนอนไม่ร้อนรน |
| มันกลับขวิดคิดร้ายทำลายล้าง | ฆ่าผู้สร้างสืบสายฝ่ายกุศล |
| เสียชีวิตก็เพราะคิดเมตตาคน | ทั้งสากลจงเห็นเป็นพยาน |
ประเภทสุภาษิต
|
สุภาษิตสอนหญิง
|
มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้เป็นกุลสตรีของผู้หญิงไทย โดยเริ่มตั้งแต่การเลือกคู่ครอง การทำหน้าที่ในฐานะภรรยาที่ดีของสามี และแม่ที่ดีของลูก ซึ่งสุภาษิตสอนหญิงนี้ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันนี้ ดังจะคัดมาตอนหนึ่ง ดังต่อไปนี้ |
| มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท | อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ |
| จงใช้น้อยกินน้อยค่อยบรรจง | อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน |
| ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ | ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน |
| เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าชรากาล | จงเลี้ยงท่านอย่าให้อดรันทดใจ |
| ด้วยชนกชนนีนั้นมีคุณ | ได้การุณเลี้ยงรักษามาจนใหญ่ |
| อุ้มอุทรป้อนข้าวไปเท่าไร | หมายจะได้พึ่งพาธิดาดวง |
เพลงยาวถวายโอวาท
|
เป็นเนื้อเรื่องเกี่ยวกับคติธรรม สุภาษิตโบราณ และคำถวายโอวาท ท่านสุนทรภู่แต่งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๓ เนื่องด้วยในขณะนั้นท่านถูกขับไล่ออกจากวัดราชบูรณะ จึงแต่งขึ้นเพื่อถวายให้กับเจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านสุนทรภู่ ดังจะคัดตอนหนึ่งของเพลงยาวถวายโอวาทมา ดังต่อไปนี้ |
| อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก | แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย |
| แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย | เจ็บจนตายนั้นเพราะเหน็บให้เจ็บใจ |
| จะรักชังทั้งสิ้นเพราะลิ้นพลอด | เป็นอย่างยอดแล้วพระองค์อย่าสงสัย |
| อันช่างปากยากที่จะมีใคร | เขาชอบใช้ช่างมือออกอื้ออึง |
| จงโอบอ้อมถ่อมถดพระยศศักดิ์ | ถ้าสูงนักแล้วเขาเข้าไม่ถึง |
| ครั้นต่ำนักมักจะผิดคิดรำพึง | พอก้ำกึ่งกลางนั้นขยันนักฯ |
สวัสดิรักษาคำกลอน
|
สุนทรภู่แต่งขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๖๔ - ๒๓๖๗ โดยท่านนำสวัสดิรักษาคำฉันท์ ที่มีผู้แต่งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งฉบับนั้นแต่งเป็นภาษาบาลี ท่านสุนทรภู่นำมาแต่งใหม่เป็นคำกลอน เพื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจได้ง่ายขึ้น สวัสดิรักษาคำกลอนมีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เช่น การแต่งกาย การักษาความสะอาดของร่างกายและบ้านเรือน ความไม่ประมาท การนอน เป็นต้น ซึ่งจะคัดตอนที่เกี่ยวกับการแต่งกายมาให้อ่าน ดังต่อไปนี้ |
| อนึ่งภูษาผ้าทรงณรงค์รบ | ให้มีครบเครื่องเสร็จทั้งเจ็ดสี |
| วันอาทิตย์สิทธิโชคโฉลกดี | เอาเครื่องสีแดงทรงเป็นมงคล |
| เครื่องวันจันทร์นั้นควรสีนวลขาว | จะยืนยาวชันษาสถาผล |
| อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน | เป็นมงคลขัตติยาไม่ราวี |
| เครื่องวันพุธสุดดีด้วยสีแสด | กับเหลืองแปดปนประดับสลับสี |
| วันพฤหัสจัดเครื่องเขียวเหลืองดี | วันศุกร์สีเมฆหมอกออกสงคราม |
| วันเสาร์ทรงดำจึงล้ำเลิศ | แสนประเสริฐเสี้ยนศึกจะนึกขาม |
| อนึ่งพาชีขี่ขับประดับงาม | ให้ต้องตามสีสันจึงกันภัย |
ประเภทบทละคร
|
อภัยนุราช
|
ท่านสุนทรภู่ได้แต่งบทละครเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น คือ เรื่องอภัยนุราช เพื่อถวายพระองค์เจ้า ดวงประภา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเรื่องของท้าวอภัยนุราช กษัตริย์ครองเมืองรมเยศร ครั้งหนึ่งทรงต้องการออกประพาสป่า แต่ไม่ยอมเซ่นสังเวยแสดงความเคารพต่อผีป่าเสียก่อน และได้กล่าวลบหลู่ดูถูก ผีป่าจึงดลบันดาลให้ท้าวอภัยนุราชต้องเสียบ้านเสียเมือง พร้อมทั้งพระนางทิพยมาลีพระมเหสี พระอนันต์พระโอรส และวรรณาพระธิดา ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่ง ดังต่อไปนี้ |
| เหมือนเขาเปรียบเทียบความเมื่อยามรัก | น้ำผักต้มขมก็ชมหวาน |
| เมื่อจืดจางห่างเหินเนิ่นนาน | น้ำตาลว่าเปรี้ยวไม่เหลียวดู |
ประเภทเสภา
|
ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม
|
สุนทรภู่แต่งต่อจากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งเล่าตั้งแต่นางวันทองให้กำเนิดพลายงาม ถูกขุนช้างลวงไปฆ่า นางวันทองจึงนำไปฝากไว้กับขรัวครูที่วัด พลายงามเดินทางไปหานางทองประศรีผู้เป็นย่าที่กาญจนบุรี จนกระทั่งพลายงามถวายตัวเข้ารับราชการ ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่ง ดังต่อไปนี้ |
| พลายงามดิ้นสิ้นเสียงสำเนียงร้อง | ยกแต่สองมือไหว้หายใจฝ่อ |
| มันห้ามว่าอย่าร้องก็ต้องรอ | เรียกหม่อมพ่อเจ้าขาอย่าฆ่าเลย |
| จงเห็นแก่แม่วันทองของลูกบ้าง | พ่อขุนช้างใจบุญเจ้าคุณเอ๋ย |
| ช่วยฝังปลูกลูกไว้ใช่เช่นเคย | ผงกเงยมันก็ทุบฟุบลงไป |
| บีบจมูกจุกปากลากกระแทก | เสียงแอ็กแอ็กอ่อนซบสลบไสล |
| พอผีพรายนายขุนแผนผู้แว่นไว | เข้ากอดไว้ไม่ให้ถูกลูกของนาย |
พระราชพงศาวดาร
|
แบ่งออกเป็น ๒ ตอน ได้แก่ ตอนที่ ๑ มีความยาว ๒๗๔ คำกลอน เริ่มตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนถึงเกิดความขัดแยังขึ้นระหว่างไทยและขนอม และไทยสามารถตีขอมจนแตกพ่ายไป ตอนที่ ๒ มีความยาว ๙๗๐ คำกลอน เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ช้างเผือก ๗ เผือก ทำให้พระเกียรติเป็นที่เลื่องลือโดยทั่วไป กษัตริย์หงสาวดีต้องการจึงส่งสารมาขอช้างเผือก ๗ เชือก ถ้าไม่ให้จะยกทัพมา แต่มุขมนตรีมีความเห็นว่าไม่ควรให้ พระเจ้าหงสาวดีจึงสั่งเกณฑ์ไพร่พลเพื่อยกทัพมาตีไทย อันเป็นสาเหตุของสงครามไทยกับพม่า จนกระทั่งเสียกรุงครั้งที่ ๑ เป็นเรื่องดังที่จะคัดมาตอนหนึ่ง ที่เป็นการต่อสู้ระหว่างทหารไทย และทหารมอญ ดังต่อไปนี้ |
| พวกชาวกรุงมุ่งแม้นพุ่งแหลนหลาว | ถูกมอญลาวเลือดโซมชะโลมไหล |
| ที่เหลือตายนายมอญต้อนเข้าไป | พาดกระไดก้าวปีนตีนกำแพง |
| พวกที่ป้อมหลอมตะกั่วคั่วทรายสาด | คบไฟฟาดรามัญกันด้วยแผง |
| โยนสายโซ่โย้เหนี่ยวด้วยเรี่ยวแรง | ชาวเมืองแทงถูกตกหกคะเมน |
| พม่ามอญต้อนคนขึ้นบนฝั่ง | ถือแตะบังตัวบ้างป้องกางเขน |
| ถูกปืนใหญ่ไพร่นายตานระเนน | ในเมืองเกณฑ์กองหลวงทะลวงฟัน |
| เสียงดาบฟาดฉาดฉับบ้างรับรบ | บ้างหลีกหลบไล่ฆ่าให้อาสัญ |
| เหลือกำลังทั้งพม่าลาวรามัญ | ต่างขยั้นย่นแยกแตกตื่นแดนฯ |
ประเภทบทเห่กล่อม
|
ท่านสุนทรภู่แต่งบทเห่กล่อมนี้ เพื่อถวายสำหรับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านสุนทรภู่แต่งบทเห่กล่อมไว้ทั้งหมด ๔ เรื่อง ดังต่อไปนี้ |
เห่เรื่องโคบุตร
|
เป็นนิทานเรื่องแรกที่ท่านสุนทรภู่แต่งขึ้นเมื่อยังหนุ่ม ท่านได้นำตอนที่โคบุตรส่งสารรักถึงนางอำพันมาแต่งเป็นบทเห่ เป็นเรื่องที่สร้างความเพลิดเพลินอย่างมากแก่เด็ก และทำให้เด็กอยากรู้เรื่องราวในตอนต่อไปจนต้องหาหนังสือมาอ่านต่อ หรือให้ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ดังจะคัดมาตอนหนึ่ง ดังต่อไปนี้ |
| เห่เอยเห่ถวาย | ถึงเรื่องนิยายแต่ปางหลัง |
| ให้พระองค์ทรงฟัง | เมื่อแรกตั้งโลกา |
| มีพระมิ่งมงกุฎ | ชื่อโคบุตรสุริยา |
| ได้ข่าวพระธิดา | ตรึกตราตรอมใจ |
เห่เรื่องกากี
|
ท่านสุนทรภู่ได้นำมาจากวรรณคดีเรื่อง กากี ตอนที่พญาครุฑพากากีเหาะชมทัศนียภาพบนสวรรค์ยุคนธร เขาพระสุเมรุ ภูเขาสัตภัณฑ์ แม่น้ำสีทันดร และป่าหิมพานต์ ซึ่งมีสัตว์นานาชนิดทั้ง กินนร กินรี หงส์ เหรา สิงห์ นอกจากนี้ยังมีต้นนารีผล ที่ออกผลมาเป็นผู้หญิงที่มีหน้าตาสวยงาม ดังจะคัดมาตอนหนึ่ง ดังต่อไปนี้ |
| เห่เอยเหกล่าว | ถึงเรื่องราวสกุณา |
| ครุฑราชปักษา | อุ้มกากีบิน |
| ล่องลมชมทวีป | ในกลางกลีบเมฆิน |
| ข้ามศรีสิขรินทร์ | มุจลินท์ชโลธร |
| ชี้ชมพนมแนว | นั่นเขาแก้วยุคนธร |
| สัตภัณฑ์สีทันดร | แลสลอนล้วนเต่าปลา |
เห่จับระบำ
|
บทเห่จับระบำมีเนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น ๓ ตอน ได้แก่ ตอนแรกเป็นเรื่องราวของนางฟ้า และเทวดาพากันร่ายรำ ท่ามกลางสายฝนบนวิมานเขาไกรลาส ตอนที่ ๒ เป็นเรื่องของนางเมขลา นางฟ้าที่มีหน้าที่เฝ้ามหาสมุทรกำลังร่ายรำพร้อมกับนางฟ้าทั้งหลาย ตอนที่ ๓ เป็นเรื่องของนางเมขลามาเจอกกับรามสูร รามสูรนั้นมีขวานเป็นอาวุธ ทั้งสองได้มาเจอกันรามสูรได้ขว้างขวานใส่นางเมขลา แต่ด้วยฤทธิ์ของแก้วมณีทำให้พลาดไป ทำให้เกิดเป็นตำนานฟ้าแลบฟ้าร้อง บทเห่จับระบำนี้มีเนื้อหาเรื่องราวที่สนุกสนานเป็นที่ชื่นชอบของเด็กที่ได้ฟัง เนื่องจากเป็นเรื่องการต่อสู้ระหว่างยักษ์กับนางฟ้า เมื่อเด็กได้ฟังก็จะตื่นเต้นไปกับเนื้อเรื่องด้วย ดังจะคัดส่วนหนึ่งของตอนแรกมา ดังต่อไปนี้ |
| เห่เอยเห่สวรรค์ | เมื่อวสันต์ฤดูฝน |
| นักขัตฤกษ์เบิกบาน | ให้มืดมนเมฆษ |
| เทวาลาหก | ให้ฝนตกลงมา |
| ฝูงเทพเทวา | กับนางฟ้าฟ้อนรำ |
เห่เรื่องพระอภัยมณี
|
ท่านได้นำตอนหนึ่งของนิทานเรื่องเอก พระอภัยมณี มา แต่เป็นเห่ มีทั้งหมด ๘ ตอน ได้แก่ ตอนที่ ๑ ศรีสุวรรณรำพันรักและชมโฉมนางเกษรา ตอนที่ ๒ นางสุวรรณมาลีบวชชีโดยมีสินสมุทรกับอรุณรัศมีบวชตามมาอยู่ด้วย ตอนที่ ๓ กล่าวถึงนางสุวรรณมาลี ตอนที่ ๔ กล่าวถึงสินสมุทรและอรุณรัศมี ตอนที่ ๕ นางละเวงเดินไพรโดยควบม้าหนีพระอภัย ตอนที่ ๖ พระอภัยติดท้ายรถนางละเวงและพยายามตามเกี้ยว ตอนที่ ๗ พระอภัยมณีพยายามเข้าพบนางละเวง ตอนที่ ๘ นางละเวงใจอ่อน ดังจะคัดมาตอนหนึ่ง ดังต่อไปนี้ |
| เห่เอยเห่กล่าว | ถึงดาวบศนี |
| องค์สุวรรณมาลี | บวชด้วยมีศรัทธา |
| กับสินสมุทรสุดสวาท | อรุณราชนัดดา |
| แบ่งส่วนกุศลผลบุญ | ให้องค์อรุณรัศมี |
| สาวสุรางค์นางชี | แต่ล้วนมีศรัทธา |