ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
ดู: 931|ตอบกลับ: 2

ไข่ปลา คาเวียร์ .... กิโลกรัมละ 150,000 บาท

[คัดลอกลิงก์]

นิสิตสัมพันธ์

กระทู้
473
พลังน้ำใจ
40883
Zenny
206866
ออนไลน์
36627 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

ที่มาของไข่ปลา คาเวียร์ .... กิโลกรัมละ  150,000 บาท                        



















[tr][td=2,1]




“ไข่ปลาคาเวียร์” กิโลกรัมละ 120,000- 150,000 บาท

ไข่ปลาสเตอร์เจียนแต่เรียก “คาเวียร์” ทั่วโลกควบคุมแต่ไทยยังขายกันเพียบ


     “คาเวียร์” คือชื่อของไข่ปลา “สเตอร์เจียน” หรือ Sturgeon เป็นปลา “สองน้ำ” ที่เชื่อว่าเกิดมา ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ เรียกว่า มีมาตั้งแต่ในยุค ที่มีสัตว์น้ำเกิดขึ้นในโลกเรานี้...

                                                   ถิ่นกำเนิดมีอยู่เฉพาะทางซีกโลกเหนือ... พบเจอมากที่สุดในทะเลแคสเปียน ซึ่งฝั่งหนึ่งเป็นดินแดนของรัสเซีย ส่วนอีกฝั่งเป็นประเทศอิหร่าน และในแม่น้ำดานูปก็ยังพอพบเจอได้บ้าง...

                                                     จัดอยู่ใน Subclass Actinopterygii, Order Acipenseriformes, Family Aci penserdae แล้วแยกสายพันธุ์ออกไปเป็นชนิดต่างๆ ประมาณมากกว่า 20 ชนิด

...แต่มีเพียง 3 ชนิดเท่านั้นที่ให้ ไข่แล้วถูกเรียกว่า “ไข่ปลาคาเวียร์”

    การขยายพันธุ์ของปลาสเตอร์เจียนด้วยการวางไข่ เกาะอาศัยอยู่กับก้อนกรวดก้อนหินตามท้องน้ำ ลูกปลาสเตอร์เจียนจะเจริญเติบโตในแม่น้ำสายใหญ่ ประมาณ 3 ปี ก่อนจะแหวกว่ายออกสู่ทะเล เพื่อกินอาหารที่เป็นสัตว์น้ำประเภทหอยก้นทะเล จน กระทั่งเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมจะว่ายกลับถิ่นกำเนิด และว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ในแม่น้ำที่สงบเงียบ จึงถูกเรียกว่า ปลาสองน้ำ

     สำหรับไข่ คาเวียร์ มีหลักฐานยืนยันว่าได้เริ่มบริโภคกันมาตั้งแต่... ในช่วงหลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่อง จากมนุษย์กลัวสารเคมีที่ตกค้างในสัตว์ จำพวกวัว, หมู และไก่

     ในประเทศอิหร่าน มีการคุมเข้ม การจับปลาสเตอร์เจียน โดยผู้เป็นชาวประมงต้องเข้าฝึกอบรมจากสถาบันควบคุมการผลิตคาเวียร์ ของกระทรวงเกษตร ประเทศอิหร่านเป็นระยะเวลาถึง 2 ปี จึงจะมีสิทธิเข้าร่วมจับปลาสเตอร์เจียนกับคณะชาวประมง และยังต้องขึ้นตรงต่อสถานีประมงของรัฐบาลอีกด้วย

     โดยการจับปลาสเตอร์เจียนต้องลงอวนตาข่ายที่กำหนดเป็นทางยาวหลายกิโลเมตร ให้เป็นแนวตั้งฉากกับชายฝั่ง พอปลาติดอวน ต้องรีบปลดปลาขึ้นเรืออย่างระมัดระวัง โดยจะต้องไม่กระทบกระเทือนท้องปลาที่มีไข่ จากนั้นต้องนำปลาที่จับมาได้ไปชั่งน้ำหนัก, ลงเลขหมาย, ลงวันที่จับปลา และลงชื่อผู้จับปลาได้ โดยทุกอย่างต้องควบคุมอย่างละเอียด

    นับว่าเป็นเรื่องดี ที่เขาจัดเป็นระบบระเบียบ อย่างชัดเจน... ส่วนการซื้อหาไข่คาเวียร์จะซื้อได้ ตามร้านขายสินค้าปลอดภาษี ที่มีการรับรอง จากองค์กรไซเตส (CITES) ซึ่งควบคุมอยู่เท่านั้น

     ผู้ดีมีเงินที่สามารถบริโภคได้ สามัญชนอย่าหวังลิ้มรสชาติของคาเวียร์ เพราะไข่คาเวียร์มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 120,000- 150,000 บาท...

                                                ...นี่ เองจึงเป็นสาเหตุที่มีการลักลอบขายลักลอบนำเข้าปลาสเตอร์เจียน มาเพาะเลี้ยงในประเทศไทยกันอย่างมากมาย... เมื่อไม่นานมานี้ กรมประมงก็ไปกวาดจับมาแล้วอีกหลายรอบ...แต่ก็ยังไม่หมดสิ้น

...คงจะ ต้องรอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทะเลาะกันให้แล้วเสร็จอะไรๆ คงจะดีขึ้น... ว่าจะให้เพาะเลี้ยงได้ หรือเป็นสัตว์ต้องห้ามกันแน่...


ที่มา:หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?board=3;action=display;threadid=2672
ปลาสเตอร์เจียน                                                จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี                                                ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
   
[url=http://www.oknation.net/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9Eictogram_voting_wait_orange.svg][/url]


[size=90%][size=135%]สเตอร์เจียน
?


สเตอร์เจียนขาวขนาดใหญ่อายุกว่า 100 ปี ยาวกว่า 10 ฟุต หนักกว่า 222 กิโลกรัม ที่ถูกจับได้ในแม่น้ำในแคนาดา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์[url=][แสดง][/url]

ชั้น

อันดับ
วงศ์

สกุล
Acipenser
Huso
Pseudoscaphirhynchus
Linnaeus, 1758


ข้อมูลทั่วไป[url=][แสดง][/url]
สถานะอนุรักษ์

สถานะ : ใกล้สูญพันธุ์


Species[url=][แสดง][/url]
27 ชนิด




ปลาสเตอร์เจียน (Sturgeon) ปลากระดูกแข็งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในอันดับปลาฉลามปากเป็ด Acipenseriformes อาศัยได้อยู่ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และทะเล เมื่อยังเล็กจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด ทะเลสาบหรือตามปากแม่น้ำ แต่เมื่อโตขึ้นจะว่ายอพยพสลงสู่ทะเลใหญ่ และเมื่อถึงฤดูวางไข่ก็จะว่ายกลับมาวางไข่ในแหล่งน้ำจืด
                                                สเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า ไข่ปลาคาเวียร์ (Caviar) ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก
                                                สเตอร์เจียน มีรูปร่างคล้ายปลาฉลาม มีหนามแหลมสั้น ๆ บริเวณหลังและเส้นข้างลำตัว (Llateral line) มีหนวดทั้งหมด 2 คู่อยู่บริเวณปลายจมูก ปลายหัวแหลม ปากอยู่ใต้ลำตัว หากินตามพื้นน้ำโดยอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ สเตอร์เจียนจะพบแต่เฉพาะซีกโลกทางเหนือซึ่งเป็นเขตหนาวเท่านั้น ได้แก่ ทวีปเอเชียตอนเหนือ ทวีปยุโรปตอนเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือตอนเหนือ สถานะปัจจุบันของปลาชนิดนี้ในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์เต็มที แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในบางชนิด
                                                สเตอร์เจียน มีทั้งหมด 27 ชนิด (Species) ใน 3 สกุล (Genus) โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ สเตอร์เจียนขาว (Huso huso) พบในรัสเซีย สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 5 เมตร หนักกว่า 900 กิโลกรัม และมีอายุยืนยาวถึง 210 ปี นับเป็นปลาที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก เท่าที่มีการบันทึกมา และเป็นชนิดที่ให้ไข่รสชาติดีที่สุดและแพงที่สุดด้วย ส่วนชนิดที่เล็กที่สุดคือ สเตอร์เจียนแคระ (Pseudoscaphirhynchus hermanni) ที่โตเต็มที่มีขนาดไม่ถึง 1 ฟุตเสียด้วยซ้ำ
                                                นอกจากนี้แล้ว สเตอร์เจียนยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย


                                                                                                สเตอร์เจียนขาวขนาดเล็ก


คาเวียร์ หรือบางทีจะเรียก ไข่ปลาคาเวียร์ (caviar) เป็นไข่ปลาที่ผ่านการปรุงรสโดยไข่มาจากปลาหลากหลายประเภท โดยส่วนมากนิยมนำมาจากไข่ปลาสเตอร์เจียน คาเวียร์ได้มีการโฆษณาและได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก คำว่า คาเวียร์มาจากภาษาเปอร์เซีย ว่า ???‌??? (Khag-avar) ซึ่งมีความหมายว่า "ไข่ปลาที่ปรุงรส" โดยในแถบเปอร์เซียจะใช้หมายถึงปลาสเตอร์เจียน
                                                                                ในปัจจุบัน คาเวียร์ที่มีชื่อเสียง จะมาจากฝั่งทะเลแคสเปียน ในแถบอาเซอร์ไบจัน อิหร่าน และ รัสเซีย คาเวียร์มีหลายประเภทและหลายสี โดยคาเวียร์สีทอง ที่มาจากปลาสเตอร์เลต (sterlet) เป็นคาเวียร์ที่หายาก นิยมรับประทานกันในหมู่กษัตริย์ โดยในปัจจุบันคาเวียร์ชนิดนี้แทบจะหาไม่ได้เนื่องจากมีการล่ามากจนเกินไป และทำให้เกิดการสูญพันธุ์



ชีวิตมีขึ้นลง      อีกหน่อยปลงดับสังขาร ความสุขในวันวาน    อีกไม่นานก็จางไป วันก่อนเคยสนุก      วันนี้ทุกข์กลับพลักไส เพื่อนฝูงเคยอำไพ    บัดนี้ไร้แม้คนมอง

นิสิตสัมพันธ์

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
43499
Zenny
28200
ออนไลน์
2121 ชั่วโมง
โพสต์ 2015-10-11 21:23:22 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม

ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-12-22 20:41 , Processed in 0.081567 second(s), 27 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้