ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
ดู: 859|ตอบกลับ: 1

ภาวนามัย

[คัดลอกลิงก์]

นิสิตสัมพันธ์

อยากมีเพื่อนคุยกินเที่ยวกัน

กระทู้
594
พลังน้ำใจ
30581
Zenny
218526
ออนไลน์
3227 ชั่วโมง

สมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

     การเจริญภาวนา หรือ กรรมฐาน หมายถึง การอบรมจิต ฝึกจิตชำระสิ่งเศร้าหมองทางจิต การเจริญ การทำศีล สมาธิ ปัญญาให้เกิดให้มีขึ้น แบ่งออกได้เป็น ๒ อย่าง คือ
     ๑. สมถกรรมฐาน หมายถึง ที่ตั้งแห่งการงานฝึกจิต อันเป็นอุบายทำจิตให้สงบตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด อารมณ์ของสมถะเป็นอารมณ์ที่เป็นสมมุติบัญญัติ ไม่ใช่สภาวะธรรมที่แท้มีผลอย่างสูงแค่ฌาน ท่านแสดงอารมณ์ไว้ ๔๐ อย่าง คือ กสิณ ๑๐, อสุภะ ๑๐, อนุสติ ๑๐, อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑, จตุธาตุวัฏฐาน ๑, อรูป ๔, พรหมวิหาร ๔,
     ผลของการเจริญสมถกรรมฐาน คือ ฌาน ตายแล้วไปบังเกิด ในรูปพรหม อรูปพรหม การเจริญสมถกรรมฐาน ถ้าหากเจริญถูกทางรู้จักพิจารณาให้เกิดปัญญาแล้วจะมีประโยชน์สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ถ้าหากว่าผู้ใดมากล่าวว่าสมถะไม่มีประโยชน์ ไม่มีผลเสียเวลา ผู้นั้นกล่าว ตู่พระพุทธพจน์เพราะพระองค์ได้ทรงแสดงไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรในข้อ“กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน” จึงขอให้ท่านนำไปพิจารณาเพื่อประพฤติปฏิบัติดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้พิจารณาซากศพของนางสิริมา หญิงนครโสเภณีคนสวยแห่งนครราชคฤห์ ปรากฏว่าเมื่อฟังธรรมมีผู้บรรลุมรรคผล ณที่นั้นเป็นจำนวนมาก
      ๒. วิปัสสนากรรมฐาน หมายถึง เห็นแจ้งด้วยปัญญาจักษุ คือ ตาปัญญาเห็นรูปนามเกิดดับเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นความรู้ชัดทางใจอย่างแจ่มแจ้งรู้แล้วหมดสงสัย (วิจิกิจฉา) ไม่ใช่เห็นด้วยตาเนื้อหรือเห็นนิมิตสีแสง นรก สวรรค์ การเห็นอย่างนั้นเป็นผลของสมถกรรมฐาน เมื่อจิตมีสมาธิแล้วก็เห็นนิมิตต่างๆได้ มีทั้งของจริงของปลอม อย่าเชื่อ อย่าหลง จะทำให้การปฏิบัติไม่ก้าวหน้า ไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์
     ผลของการเจริญวิปัสสนา คือ เกิดปัญญาเห็นแจ้งในสภาวธรรมเห็นรูปนามเกิดดับเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดความละคลายในตัวตน สัตว์บุคคลเราเขา เกิดความว่างเป็นสุญญตาสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ๔ ประเภทตั้งแต่พระโสดาบันบุคคล สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์
      ผู้ที่สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิอีกและจะเกิดอีกอย่างมากไม่เกิน ๗ ชาติ เข้าสู่กระแสพระนิพพาน สกทาคามีบุคคลจะเกิดอีกเพียงไม่เกิน ๑ ชาติ พระอนาคามีบุคคล คือผู้ไม่กลับมาเกิดอีกตายแล้วไปเกิดพรหมโลกและดับขันธปรินิพพานบนนั้น ส่วนพระอรหันต์ดับอนุสัยกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาน เรียกว่า ดับขันธปรินิพพาน
      แนวทางปฏิบัติให้สำเร็จเข้าสู่กระแสพระนิพพาน คือ พระโสดาบันนั้นมีปัจจัยที่พระไตรปิฎกแสดงไว้ ๗ หัวข้อ ๓๗ ประการ เรียกว่า “โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ”
๑. สติปัฏฐาน ๔     ๒. สัมมัปปธาน ๔
๓. อิทธิบาท ๔       ๔. อินทรีย์ ๕
๕. พละ ๕            ๖. โพชฌงค์ ๗      ๗. มรรค ๘
     สติปัฏฐาน ๔ คือ การเจริญสติให้เป็นไปอย่างใหญ่ในกุศลธรรม ๔ประการ ได้แก่
     ๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การเจริญสติกำหนดพิจารณากายในกายระลึกรู้อิริยาบทกายส่วนย่อยในกายส่วนใหญ่ที่กระทบกาย เย็นร้อนอ่อนแข็ง ตึงไหวที่เป็นไปในการยืน เดิน นั่ง นอน เหยียดคู้ การพิจารณาลมหายใจเข้าออก พิจารณาความน่าเกลียดของร่างกาย การพิจารณาร่างกายโดยความเป็นธาตุ การพิจารณาร่างกายที่เป็นศพ ฯลฯ เป็นต้น
     ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การเจริญสติกำหนดพิจารณาอย่างเวทนาในเวทนาระลึกรู้ความรู้สึกอารมณ์ส่วนย่อยในความรู้สึกอารมณ์ส่วนใหญ่ ในความรู้สึกอารมณ์ ๙ อย่าง ได้แก่ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ สุขประกอบด้วยอามิส – ไม่ประกอบด้วยอามิส ทุกข์ประกอบด้วยอามิส – ไม่ประกอบด้วยอามิส ไม่ทุกข์ไม่สุขประกอบด้วยอามิส – ไม่ประกอบด้วยอามิส
     ๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การเจริญสติกำหนดพิจารณาจิตในจิตหรือจิตส่วนย่อยในจิตส่วนใหญ่ คือจิตดวงใดดวงหนึ่งในจิตที่เกิดขึ้นดับไปมากดวง
     ๔. ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การเจริญสติกำหนดพิจารณาธรรมในธรรมหรือธรรมส่วนย่อยในธรรมส่วนใหญ่ การพิจารณาธรรมที่เรียกว่านิวรณ์ธรรม ๕ ประการ การพิจารณาขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ โพชฌงค์ ๗ อริยสัจจ์ ๔ ฯลฯ เป็นต้น
     อนึ่ง การพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ทั้ง ๔ ประการนี้ ยังมีรายการที่ต้องปฏิบัติตรงกันอีก ๖ ประการ คือ ๑. ที่อยู่ภายใน ๒. ที่อยู่ภายนอก๓.ที่อยู่ทั้งภายในภายนอก ๔. ที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ๕. ที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ๖. ที่มีทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
     อนึ่ง ข้อความในพระไตรปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๗ หน้า ๑๑๓ ข้อ ๑๘๕ เจริญธรรมอย่างเดียวชื่อว่าเจริญธรรมอย่างอื่นอีกมาก พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า “ดูก่อนอานนท์! ธรรมอย่างหนึ่งคืออานาปานสติสมาธิ (สมาธิซึ่งกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์) อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน (การตั้งสติ) ๔ อย่าง ให้บริบูรณ์สติปัฏฐาน ๔ อย่าง อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมทำโพชฌงค์ (องค์ประกอบแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้) ๗ อย่าง ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมทำวิชชา (ความรู้) วิมุติ (ความหลุดพ้น)ให้บริบูรณ์”
     สัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ) ๔ อย่าง คือ
๑. เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น (สังวรปธาน)
๒. เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว (ปหานปธาน)
๓. เพียรทำกุศลให้เกิด (ภาวนาปธาน)
๔. เพียรทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น (อารักขนาปธาน)      อิทธิบาท (ธรรมให้บรรลุความสำเร็จ) ๔ ประการ คือ
๑. ฉันทะ (พอใจ)      ๒. วิริยะ (ความเพียร)
๓. จิตตะ (เอาใจใส่)    ๔. วิมังสา (พิจารณาสอบสวน)
     อินทรีย์ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน) ๕ อย่าง คือ
๑. จักขินทรีย์ (ตา)      ๒. โสตินทรีย์ (หู)
๓. ฆานินทรีย์ (จมูก)    ๔. ชิวหินทรีย์ (สิ้น)
๕. กายินทรีย์ (กาย)
     พละ (ธรรมอันเป็นกำลัง) ๕ ประการ คือ
๑. ศรัทธา      ๒. วิริยะ
๓. สติ          ๔. สมาธิ      ๕. ปัญญา
     โพชฌงค์ (ธรรมอันเป็นองค์แห่งการตรัสรู้) ๗ ประการ คือ
๑. สติ                               ๒. ธัมมวิจยะ (เลือกเฟ้นธรรม)
๓. วิริยะ (ความเพียร)              ๔. ปิติ (ความอิ่มใจ)
๕. ปัสสัทธิ (ความสงบระงับ)     ๖. สมาธิ (ความตั้งใจมั่น)
๖. อุเบกขา (ความวางเฉยอย่างมีสติ)
มรรค (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) ๘ ประการ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ          ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมากัมมันตะ     ๔. สัมมาอาชีวะ
๕. สัมมาวาจา         ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ           ๘. สัมมาสมาธิ
     ย่อลงมาเหลือ ๓ คือ ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ, สังกัปปะ) ศีล (สัมมากัมมันตะ, อาชีวะ, วาจา) สมาธิ (สัมมาวายามะ, สติ, สมาธิ)

     การเจริญวิปัสสนาล้วนๆ นั้น ต้องใช้ปัญญาพิจารณารูปนามขันธ์๕ ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาให้เกิดปัญญาเกิดความรู้ความเข้าใจในรูปนามนั้นให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งเห็นรูปนามเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันจะทำลายความเห็นผิด (วิปลาส) ๔ ประการ ได้แก่ ความเห็นผิดว่า
๑. รูปนามเป็นของเที่ยง เป็นของยั่งยืน
๒. รูปนามนี้เป็นสุข
๓. รูปนามนี้เป็นตัวเป็นตน เป็นของของตน
๔. รูปนามนี้เป็นของสวยงาม น่ารักใคร่ น่าพอใจ
     เมื่อปฏิบัติวิปัสสนาเจริญปัญญาให้เกิดขึ้น วิปัสสนาญาณเกิดขึ้นแล้วจะรู้ความเป็นจริง ทำลายความเห็นผิดได้ จะเห็นถูกว่า
๑. รูปนามหรือกายใจนี้ เป็นของไม่ยั่งยืน
๒. รูปนามหรือกายใจนี้ เป็นทุกข์ (ทนอยู่ได้ยาก) ไม่ใช่เป็นสุข
๓. รูปนามนี้สักแต่ว่าเป็นรูปเป็นนาม ไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์
๔. รูปนามนี้เป็นของไม่สวยไม่งาม (มีของสกปรกถ่ายเข้าออกทางทวารทั้ง ๙ ตลอดเวลา)
     ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดในขณะเดียวกัน ศีล สมาธิ ปัญญา หรือองค์มรรคเพื่อเจริญให้มากขึ้นในจิตใจ ก็จะไปกำจัดกิเลสเครื่องเศร้าหมองในจิตใจให้เบาบางลงไปทีละน้อยๆ จนบริสุทธิ์เป็นพระอริยบุคคล
     โสตาปัตติยังคะ ๔ คือ ข้อธรรมพึงปฏิบัติให้ถึงซึ่งอริยบุคคลขั้นต้นเข้าสู่กระแสพระนิพพานสำเร็จโสดาบัน ได้แก่
๑. สัปปุริสสังเสวะ คือ การได้คบสัตบุรุษ คือ พระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาค พระอรหันต์ พระอริยบุคคล อันเป็นกัลยาณมิตร ตามลำดับ
๒. ธัมมัสสวนัง คือ การได้ศึกษาและได้ฟังพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เกิดปัญญาเรียกว่า ปัญญาอันเกิดจากการฟังสุตตมยปัญญา และพิจารณาใคร่ครวญให้เกิดปัญญา เรียกว่า จินตมยปัญญา
๓. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ คือ การที่ได้นำพระธรรมคำสั่งสอนมาประพฤติปฏิบัติให้เกิดปัญญา เรียกว่า ภาวนามยปัญญา
๔. โยนิโสมนสิการ คือ การน้อมใจระลึกถึงสภาวธรรมตามความเป็นจริงที่ปรากฏต่อหน้าให้เป็นปัจจุบัน ตัดอดีตทิ้งอนาคต อยู่กับปัจจุบัน อยู่กับอารมณ์พระไตรลักษณ์ ให้เห็นรูปนามเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาจนเกิดความละคลายในความเป็นสัตว์บุคคล ตัวตนเราเขาออกได้
     จักรธรรม คือ ธรรมที่พาไปสู่ความเจริญปัญญา ๔ ประการ
๑. ปฏิรูปเทสะวาสะ คือ การได้อยู่ในประเทศอันสมควร (การได้พบพระพุทธศาสนา)
๒. สัปปุริสสูปัสสยะ คือ การคบหาสมาคมกับบัณฑิตและนักปราชญ์(สาวกของพระพุทธเจ้า)
๓. ปุพเพกตปุญญตา คือ การเป็นผู้มีบุญอันได้กระทำไว้แล้วแต่ชาติปางก่อน
๔. อัตตสัมมาปณิธิ คือ การตั้งตนไว้ชอบได้แก่การประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
ธรรมะ ๔ ประการนี้ ถ้าหากว่าบุคคลใดได้กระทำให้เกิดขึ้นในชีวิตของตนแล้ว บุคคลผู้นั้นมีหวังที่จะได้รับความสุข ความเจริญจนกระทั่งได้บรรลุมรรคผลนิพพานถึงความพ้นทุกข์ในภายหน้า

ปุพเพกะตะปุญญะตา
     ยศศักดิ์จักเกิดด้วย     บุญทำ
ภัยเกิดเพื่อผลกรรม         ก่อนให้
ติเตียนและจองจำ           กรรมก่อน เองนา
ใครจักเว้นแวะได้           ทั่วท้องโลกาไม่คบพาล
     หลีกเกวียนให้หลีกห้า  ศอกหมาย
ม้าหลีกสิบศอกกราย         อย่าใกล้
ช้างยี่สิบศอกคลาย           คลาคลาด
เห็นทุรชนหลีกให้           ห่างพ้นลับตา
โคลงโลกนิติ
     ละธรรม ๑๐ อย่างได้ควรเป็นพระอรหันต์
     “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคละธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ได้ จึงควรทำให้แจ้งอรหัตตผล” ธรรม ๑๐ อย่าง คือ
๑. ราคะ ความกำหนัดยินดี      ๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย
๕. โมหะ ความหลง              ๔.โกธะ ความโกรธ
๕. อุปนาหะ ความผูกโกรธ       ๖. มักขะ ความลบหลู่บุญคุณท่าน
๗. ปลาสะ ความตีเสมอ          ๘. อิสสา ความริษยา
๙. มัจฉริยะ ความตระหนี่        ๑๐. มานะ ความถือตัว
     “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคลละธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้แลได้จึงควรทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล”
(ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๒๒๔)

คู่มือท้าพิสูจน์-นิพพานอยู่ในกำมือเรา
     จากหนังสือคู่มือท้าพิสูจน์นิพพานอยู่ในกำมือเราเขียนโดยพระภิกษุ“บัวใต้น้ำ” ศูนย์ธรรมะสัจจะวิมานทอง เลขที่ ๑๖ หมู่ ๖ ตำบลแสลง อำเภอเมืองจันทบุรี
     “ทุกวันนี้คนเราต่างเข้าใจกันว่า การที่จะได้เป็นพระอรหันต์และนิพพานนั้นเห็นจะหมดยุคหมดสมัยกันเสียแล้ว เพราะไม่เคยได้ปรากฏมีพระอรหันต์เกิดที่ใด มีแต่คำกล่าวเท่านั้น ไม่เห็นมีจริงให้เราสัมผัสได้ จึงตัดสินว่าอรหันต์นั้นหมดยุคแล้ว ที่พูดเช่นนี้ก็ถูกของเขาเพราะทุกวันนี้คนเรามีกิเลสหนาๆ กันทั้งนั้น เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นเหตุ จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนฯ เจริญก้าวหน้าไปไกลมากถึงกับยุคนี้ตามไม่ทัน มีสิ่งใหม่ๆทั้งด้านอุปโภคบริโภค มาบำรุงบำเรอมากมายจนขนาดขั้นมหาเศรษฐีบางคนยังตามไม่ทัน วัตถุสิ่งของแต่ละอย่างแต่ละชิ้น ต่างงดงามยั่วยวนจิตใจ ใครเห็นก็อยากได้ น้อยคนนักที่จะไม่สนใจ เป็นผลให้พวกปุถุชนที่หนาด้วยกิเลสทั้งหลายอยากได้มาบำบัดความอยาก โดยบ้าหากันใหญ่ เพราะอารมณ์ ว่ากันว่าเงินคือแก้วสารพัดนึกนี้เอง ต่างทุ่มเททั้งชีวิตจิตใจและกำลังกาย ทั้งหมกมุ่นคิดแต่จะหาเงิน ไม่ยอมหยุดพักผ่อน ยอมอดหลับอดนอน อดข้าว ยอมตากแดดตากฝน ทนร้อนทนหนาว เหงื่อไหลไคลย้อยจนหนาวสั่นก็ไม่ยอมหยุดจนผอมโซ กินไม่ได้นอนไม่หลับ จนล้มป่วยก็มี บางคนยอมเสี่ยงชีวิตผจญภัยบางคนยอมเสี่ยงต่อหน้าที่การงาน รับสินบนกินนอกกินใน เลยถูกไล่ออกจากงานเสียอนาคตไป บางคนยอมทำบาปทำผิดศีล ฯลฯ เลยต้องรับกรรมหนักรับทุกข์ไป ยังมีอะไรอีกมากมายกล่าวไม่จบ ล้วนแต่เพื่อความอยากได้เงินตัวเดียวนั่นเอง เลยกลายเป็นผลกรรม ทำให้ต้องเหน็ดเหนื่อย ต้องทุกข์ต้องลำบากไม่รู้หยุดไม่รู้จบ บางคนคิดหาเงินจนประสาทเครียด เป็นโรคประสาทอย่างหนักเสียคนไป ล้วนเกิดจากความอยากได้เงินเป็นต้นเหตุทั้งสิ้น “จนปิดบังปัญญาตัวเอง” ทำให้ไม่เห็นแจ้งในสัจจะความจริงที่ว่าเงินนั้นไม่ใช่แก้วสารพัดนึก แต่เป็นแก้วสารพัดทุกข์ต่างหาก ถ้าหากเป็นแก้วสารพัดนึกจริงแล้ว ทำไมเงินที่หามาได้กลับไปเพิ่มความทุกข์ให้กับตัวเองเล่า แทนที่จะเพิ่มความสุขมากขึ้น กลับทำให้รับทุกข์หนักเข้าไปอีก ฯลฯ แล้วความสุขมีที่ตรงไหน? มันเป็นอย่างนี้แหละที่ทำให้เราต้องทุกข์เป็นประสาทเพราะมันแล้วจะทำอย่างไรจึงจะเกิดปัญญาเห็นแจ้งว่า “ตัวอยากนี้เป็นต้นเหตุของตัวทุกข์ทั้งหลาย” มีวิธีที่เรียกว่าทางประเสริฐคือการปฏิบัติภาวนาโดยอาศัย “ลูกปะคำของบัวใต้น้ำ”เป็นสื่อในการภาวนา ก่อนอื่นต้องหาลูกปะคำของบัวใต้น้ำมาพวงหนึ่ง เอานิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยรวมร้อยเข้าไปในวงลูกปะคำ ส่วนนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ให้อยู่กลางลูกปะคำ แล้วเลื่อนลูกปะคำเข้าหาตัว เมื่อภาวนาคำหนึ่งให้เลื่อนลูกปะคำเข้าหาตัวลูกหนึ่ง ให้เลื่อนลูกปะคำอยู่อย่างนี้ตลอดเวลาจนกว่าจะหยุดพัก ฯลฯ การใช้คำภาวนานั้นไม่แน่นอนตายตัว สุดแต่จะชอบและถนัดจะใช้คำภาวนาคำใหนก็ได้ตามสบายไม่มีบังคับเป็นอิสระจะภาวนาพุทโธ ๆ ๆ พุทโธครั้งหนึ่งก็ให้นิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือเลื่อนลูกปะคำเข้าหาตัวลูกหนึ่ง ทำอย่างนี้ตลอดเวลาภาวนา ถ้าขี้เกียจเลื่อนก็ให้ถือลูกปะคำไว้ในมือเพื่อเตือนสติให้รู้ว่า ขณะนี้กำลังปฏิบัติภาวนาอยู่เพื่อให้จิตต่อเนื่องฯลฯ
     อนึ่ง ผู้ที่ไม่มีลูกปะคำบัวใต้น้ำในการภาวนา หรือไม่ถนัดใช้ลูกปะคำในอิริยาบททั้งสี่ ยืน เดิน นั่ง นอน ให้ตั้งสติคอยดูอย่าให้จิตไปคิดโลภ คิดอยาก คิดปรุงแต่ง ถ้ารู้ว่าจิตไปคิดโลภ คิดอยาก คิดปรุงแต่ง ให้รีบตั้งสติหยุดคิดโลภ คิดอยาก คิดปรุงแต่งลงทันที แล้วให้ทำภาวนาต่อ ให้ทำอยู่อย่างนี้จิตก็จะสงบ ศีล สมาธิ ปัญญาก็จะเกิดตามมาอย่างไม่รู้ตัว การเห็นแจ้งในธรรมก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติตรงนี้เอง การพ้นทุกข์ก็ตรงนี้เอง ฯลฯ
"ความรัก!เกิดจากความเข้าใจของคนสองคนและมักจบลงด้วยค ...

นิสิตสัมพันธ์

กระทู้
473
พลังน้ำใจ
40883
Zenny
206866
ออนไลน์
36627 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

โพสต์ 2012-7-18 21:47:26 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ชีวิตมีขึ้นลง      อีกหน่อยปลงดับสังขาร ความสุขในวันวาน    อีกไม่นานก็จางไป วันก่อนเคยสนุก      วันนี้ทุกข์กลับพลักไส เพื่อนฝูงเคยอำไพ    บัดนี้ไร้แม้คนมอง
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม

ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-12-22 14:29 , Processed in 0.089956 second(s), 26 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้