ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
ดู: 75723|ตอบกลับ: 28

ลายไทย - สัตว์หิมพานต์

 มาแรง [คัดลอกลิงก์]

นิสิตสัมพันธ์

กระทู้
473
พลังน้ำใจ
40883
Zenny
206866
ออนไลน์
36627 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

การเขียนภาพลายไทยนี้มีมาตั้งแต่โบราณ ผู้เขียนภาพลายไทยในกาลก่อนมีความรู้สึกนึกคิด ตามสิ่งที่เกิด ขึ้นตามธรรมชาติ แล้วนำมาเขียนเป็นลวดลายหรือภาพต่างๆ ต่อมาได้รับอิทธิพล จากต่างชาติ โดยเฉพาะ ชาวอินเดีย ได้นำศิลปะหลายแขนงเข้ามา ครูอาจารย์คนไทย ก็ได้เรียนรู้จากอาจารย์เหล่านั้น แล้วนำมาผสม ผสานกับศิอลปดั้งเดิม ของคนไทยสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ หลักฐานตามประวัติศาสตร์ลายไทย ได้เริ่ม ขึ้น ตั้งแต่สมัยเชียงแสน สืบทอดกันมาที่สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีแต่ช่างตามวัดต่างๆ ต่อมาช่างเหล่านั้นได้ถวายตัวเพื่อรับใช้พระเจ้าแผ่นดินเรียก “ช่างหลวง” หรือ “ช่างสิบหมู่
สารบัญ[ซ่อนสารบัญ]


    1 ปฐมกำเนิดลายไทย 2 ลายไทยในสมัยโบราณ แบ่งออกเป็น 4หมวด ได้แก่ 3 ศิลปภาพลายไทย


      3.1 ภาพมโหรีหญิง 3.2 ภาพกินรี 3.3 ภาพกินนร 3.4 ภาพฟ้อนรำหญิงชาย
    • 3.5 ภาพจิตรกรรมฝาฝนัง
    4 ขั้นตอนการฝึกเขียนลายไทย


      4.1 1 การเขียนแม่ลายกระจัง 4.2 ขั้นตอนการเขียนแม่ลายกระจังตาอ้อย 4.3 2.การบากลาย 4.4 วิธีการ บากลายเข้า 4.5 3.แม่ลายประจำยาม 4.6 วิธีการเขียนแม่ลายประจำยาม 4.7 4.การเขียนแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ 4.8 ขั้นตอนการเขียนแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ 4.9 5.การเขียนแม่ลายกระหนก (ตัวเดียว) 4.10 ขั้นตอนการเขียนแม่ลายกระหนก (ตัวเดียว) 4.11 6.การสอดไส้และบากลายกระหนก 4.12 ขั้นตอนการสอดไส้และบากลายกระหนก 4.13 7.การเขียนหางไหล 4.14 ขั้นตอนการเขียนหางไหล 4.15 8. การเขียนกระหนกเปลว 4.16 ขั้นตอนการเขียนกระหนกเปลว
    • 4.17 9.การสอดไส้และบากลายกระหนกเปลว
    • 4.18 ขั้นตอนการสอดไส้และบากลายหระหนกเปลว

[แก้ไข] ปฐมกำเนิดลายไทยอันเแบบแผนลายไทยเท่าที่ปรากฏ ให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ ถือได้ว่าเป็นแบบแผนตายตัว เนื่องด้วยลายไทยได้วิวัฒนาการตัวเอง ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ จนสู่จุดสมบูรณ์ กลายเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยจนถึงทุกวันนี้
ที่จริงในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ลายไทยมิได้มีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ จากการค้นคว้าลายรุ่นเก่า บนลายปูนปั้นและลายจำหลักศิลา บนใบเสมารุ่นอู่ทอง และสุโขทัย ซึ่งพบทั่วไปในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในท้องที่ของนครเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมา ลงไปสุดใต้ที่นครศรีธรรมราช ลายอันปรากฏนั้น มิได้เป็นลายที่สืบต่อมาจากขอม หรือ ทวารวดี หากแต่เป็นลายที่ เกิดขึ้นจากการ "สลัดแอกอิทธิพลอินเดีย" เข้าสู่ความเป็นตนเอง โดยจะมีลักษณะเหมือนธรรมชาติ คือเป็นลายเครือเถา ลายก้านขด ประกอบด้วยรูปดอกไม้ ใบไม้ รูปนก สัตว์จตุบาท (สัตว์ ๔ เท้า) ทวิบาท (สัตว์ ๒ เท้า) ต่างๆ ซึ่งลายลักษณะนี้ เป็นลายคนละตระกูล กับลายอันมีอิทธิพลจากอินเดีย
ลายไทยนั้นได้มีวิวัฒนาการ และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยนับเริ่มต้นได้ตั้งแต่ ในสมัยอู่ทอง อโยธยา สุโขทัย ลายไทยในสมัยอยุธยาตอนต้น ตอนกลาง ลายไทยอันสง่างาม เลื่อนไหลเเป็นเปลวไฟ ในสมัยอุธยายาตอนปลาย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และศิลปะของเมืองหลวงปัจจุบัน
[แก้ไข] ลายไทยในสมัยโบราณ แบ่งออกเป็น 4หมวด ได้แก่1. หมวดกระหนก หมายถึง การเขียนลวดลายไทยต่างๆ เช่น กระหนกสามตัว กระหนกใบเทศ กระจังตาอ้อย ประจำยาง เป็นต้น
2. หมวดนารี หมายถึง การเขียนภาพคน เช่น ภาพพระ ภาพนาง ภาพเทวดา เป็นต้น ซึ่งต้องฝึกเขียนรูปร่าง ใบหน้า และกิริยาท่าทางต่างๆของคน รวมถึงภาพจับ
3.หมวดกระบี่ หมายถึง การเขียนภาพลิง ภาพยักษ์ อสูร และพวกอมนุษย์ต่างๆโดยมากจะยึดเอายักษ์ และลิงที่เป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์เป็นหลัก
4.หมวดคชะ หมายถึง การเขียนภาพสัตว์ต่างๆ ได้แก่ สัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เสือ สิงห์ กระทิง แรด เป็นต้น และสัตว์ในวรรณคดีที่เกิดจากจินตนาการของช่างเขียนหรือเราเรียกว่า สัตว์หิมพานต์ มีรูปร่างประหลาด เช่น ราชสีห์ คชสีห์ กินรี ครุฑ หงส์ เป็นต้น
การเขียนลายไทยนั้นต้องฝึกการเคลื่อนไหวของมือ การฝึกเขียนเส้นให้มีความลื่นไหล อ่อนช้อยมีลีลาและจังหวะที่สอดรับสัมพันธ์กันอย่างลงตัว ควรคำนึงถึงช่องไฟของลายการล้อของลาย และควรที่จะฝึกเขียนมากสักหน่อย เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานที่ดีในการเขียนลายไทยต่อๆไป
[แก้ไข] ศิลปภาพลายไทยชาติไทยเราได้รับมรดกตกทอดทางศิลปมาแต่บรรพบุรุษ อันหาค่ามิได้ และงดงามทางศิลป ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นศิลปไทย รู้สึกติดตาตรึงใจ ที่ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์อันน่าตื่นตาตื่นใจ ทำให้เกิดปิติ ความสงบ และความสุขสบายใจ
[แก้ไข] ภาพมโหรีหญิง
แสดงการเล่นดนตรีไทย มีดีด สี ตี เป่า เครื่องดีด-กระจับปี่ ,เครื่องสี-ซอสามสาย ,เครื่องตี-กรับ ฉิ่ง และโทน , เครื่องเป่า-ขลุ่ย ได้แบบอย่างมาจากถาพจิตรกรรมฝาฝนัง สมัยรัตนโกสินทร์ ในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์
[แก้ไข] ภาพกินรี
แสดงถึงความอ่อนหวาน ของดอกไม้ (ดอกบัว) จากอีกตัวหนึ่ง ภาพนี้แสดงให้เห็นลักษณะ ลีลาของการนั่ง ซึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งนก และการยืนพักอิริยาบททั้งสอง ตลอดจนศิราภรณ์ และเครื่องตกแต่งร่างกาย
[แก้ไข] ภาพกินนร
คือมีทั้งเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งเรียกว่า กินรี และกินรา ในภาพแสดงให้เห็น กินรากำลังขอความรัก หรือความเห็นใจจากกินรี ซึ่งกินรีก็ได้แต่เอียงอาย ตามวิสัยเพศหญิงอันพึงมี
[แก้ไข] ภาพฟ้อนรำหญิงชาย
ได้แบบอย่างจากลายรดน้ำ ซึ่งเขียนเป็นฉาก อยู่ในพระที่นั่งพิมานรัตยา ในเขตพระราชฐานฝ่ายใน ในพระบรมมหาราชวัง
[แก้ไข] ภาพจิตรกรรมฝาฝนัง
ระเบียงวัดพระแก้ว เรื่องรามเกียรติ์ แสดงให้เห็นตอน หนุมานอาสาลวงเอากล่องดวงใจทศกัณฑ์ จากพระฤๅษีโคบุตร อาจารย์ทศกัณฐ์ แล้วขอให้พระฤๅษีนำเข้าเฝ้าถวายตัว อาสาทศกัณฐ์นำจับพระราม
[แก้ไข] ขั้นตอนการฝึกเขียนลายไทย[แก้ไข] 1 การเขียนแม่ลายกระจัง
แม่ลายกระจัง เป็นแม่ลายพื้นฐานอย่างหนึ่งในการเขียนลายไทย มีรูปทรงมาจากดอกบัวและตาไม้ ตัวอย่างแม่ลายในบทเรียนนี้ เรียกว่า กระจังตาอ้อย ถ้าเราเป็นคนช่างสังเกต จะเห็นว่า ตามข้อของต้นอ้อยหรือปล้องไผ่ จะมีตาไม้อยู่ ซึ่งมีรูปร่างเช่นเดียวกับลายในบทเรียนนี้ ซึ่งนับได้ว่า เป็นความช่างสังเกตของช่างไทย ในการประยุกต์รูปแบบธรรมชาติ มาประดิษฐ์เป็นลวดลายที่งดงามได้ ในบทเรียนนี้จะทำการฝึกเขียนลาย โดยมีตัวลายซ้อนกันอยู่ 2 ชั้น ซึ่งลายที่อยู่ภายในนั้น เรียกว่า ไส้ลาย (เส้นจะบางกว่า) การเขียนลายไทยนั้น ความสำเร็จขึ้นอยู่กับการฝึกฝน และเป็นคนช่างสังเกต ถ้ามีการฝึกเขียนมากเท่าไหร่ ความชำนาญจะเพิ่มมากขึ้น หากหมั่นสังเกต ก็จะสามารถเปรียบเทียบได้ว่า รูปทรงจากการฝึกหัด มีความสมบูรณ์สวยงาม เทียบกับต้นแบบได้หรือไม่
[แก้ไข] ขั้นตอนการเขียนแม่ลายกระจังตาอ้อย1.) เริ่มด้วยการเขียน โครงรูปสามเหลี่ยม โดยมีความสูงจากฐาน
1.5) นิ้ว กว้าง ๒ นิ้ว และลากเส้นแบ่งกึ่งกลาง ข้างละ ๑ นิ้ว
2.) เมื่อได้รูปสามเหลี่ยมสมบูรณ์แล้ว จึงเริ่มวาด เส้นรูป แม่ลายกระจัง โดยเริ่มวาดจากยอดลาย โค้งลงมา ตามรูปทรงของลายกระจังตาอ้อย ทั้ง ๒ ด้านตามตัวอย่าง
3.)จากนั้นจึงวาด ลายสอดไส้ ไว้ภายในตัวกระจัง การเขียนลายสอดไส้นี้ ใช้วิธีการเขียนเช่นเดียวกับการเขียนเส้นรูป แต่มีขนาดเล็กกว่า เสร็จสิ้นขั้นตอนการเขียนแม่ลายกระจัง
[แก้ไข] 2.การบากลาย
เมื่อคุณสามารถฝึกหัดเขียนลายกระจังตาอ้อยได้จนชำนาญแล้ว บทเรียนต่อมาก็คือการบากลาย การบากลายเป็นการเน้นตัวลายไม่ให้เรียบจนเกินไป และยังเพิ่มความสวยงามของรูปทรง ให้มีลักษณะเหมือนธรรมชาติอีกด้วย การบากลายมี 2 แบบคือ แบบที่ 1. การบากลายเข้า และแบบที่ 2.การบากลายออก โดยการใช้การบากลายแต่ละแบบ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของตัวลาย ที่จะนำไปใช้ประกอบในพื้นที่ต่างๆ
[แก้ไข] วิธีการ บากลายเข้า1.) เริ่มต้นการวาด ด้วยการลากเส้นจากยอดลาย จนมาถึงกึ่งกลางของตัวลาย และทำการบากลายเข้าภายในตัวลาย พร้อมกับตวัดเส้นออก ให้เป็นเส้นโค้งพองามทั้งสองด้าน ตามตัวอย่าง
2.) เริ่มต้นเช่นเดียวกับการบากลายเข้า แต่เมื่อลากเส้น จนถึงกึ่งกลางตัวลาย ให้ตวัดเส้นออก สังเกตดู จะมีลักษณะเป็นยอดแหลม เหมือนกลีบดอกไม้ ตามตัวอย่าง
3.) การเขียนแม่ลายประจำยาม
[แก้ไข] 3.แม่ลายประจำยาม
แม่ลายประจำยาม เป็นแม่ลายสำคัญอีกแม่ลายหนึ่ง ของการเขียนภาพไทย โดยรูปทรงทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตรงกลางเป็นรูปวงกลม มีสี่กลีบคล้ายกับดอกไม้ และกลีบทั้งสี่ก็มาจากรูปทรงของ แม่ลายกระจังตาอ้อยนั่นเอง ซึ่งแม่ลายประจำยามนี้ สามารถแตกแขนง ออกไปได้อีกมากมาย โดยการใส่ไส้ซ้อนเข้าไป จนดูหรูหรามากขึ้น และรูปทรงยังสามารถ เปลี่ยนจากสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนได้อีกด้วย ซึ่งทำให้เกิดความงาม ที่แตกต่างไปอีกแบบหนึ่ง
[แก้ไข] วิธีการเขียนแม่ลายประจำยาม1.) เริ่มจากการเขียนรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 3 นิ้ว แบ่งกึ่งกลางข้างละ 1.5 นิ้ว และส่วนที่เป็นทรงกลม ตรงกลาง 1 นิ้ว ตามภาพตัวอย่าง
2.) เมื่อได้รูปโครงร่างตามแบบแล้ว ขั้นต่อมาให้เขียนรูปวงกลมก่อน โดยกางวงเวียนออก รัศมีครึ่งนิ้ว วาดทั้งทรงกลมด้านในและด้านนอก โดยให้ทรงกลมด้านใน ที่เป็นไส้ลาย มีน้ำหนักเส้นเบากว่า ทรงกลมที่เป็นเส้นรูปด้านนอก
3.) วาดกลีบดอกทั้ง ๔ กลีบ กรรมวิธีเช่นเดียวกับ การเขียนลายกระจังตาอ้อย (ในบทเรียนที่ 2.) โดยคุณจะเลือกเขียนให้กลีบ มีรูปแบบเป็น การบากลายเข้า หรือบากลายออกก็ได้
4.) เมื่อวาดได้รูปทรงทั้งหมดแล้ว ขั้นสุดท้ายคือการใส่กลีบรองดอก ที่มุมเว้าทั้ง 4 เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
[แก้ไข] 4.การเขียนแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์
บทเรียนนี้จะกล่าวถึง การเขียนแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ โดยพุ่มข้าวบิณฑ์นี้ เป็นรูปทรงที่บ่งบอกถึง วัฒนธรรมของชาวไทยโดยเฉพาะ คนไทยแต่โบราณ เมื่อจะถวายข้าวให้แก่พระสงฆ์ ก็จะนำข้าวนั้นวางบนพาน และโกยยอดให้แหลม ดังเช่นทุกวันนี้เราจะพบเห็นรูปทรงเหล่านี้ ได้ตามพานพุ่มต่างๆ ที่เราจะถวายหรือมอบให้ แก่บุคคลที่เราเคารพนับถือ ส่วนใหญ่จะประดับด้วยดอกไม้ เช่น ดอกบานไม่รู้โรยเป็นต้น แม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์นี้ก็เป็นหนึ่ง ในแม่ลายที่สำคัญ อีกแม่ลายหนึ่งของไทย เนื่องจากสามารถแตกแขนง ออกไปได้อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น แม่ลายหางสิงห์โต ซึ่งรูปทรงส่วนหนึ่ง ก็มาจากแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์นี้
[แก้ไข] ขั้นตอนการเขียนแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์1.) วาดโครงรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว ซึ่งเป็นโครงรูปของลายพุ่มข้าวบิณฑ์ กว้าง 2 นิ้ว สูง 3 นิ้ว การแบ่งรายละเอียดต่างๆ ดูได้จากภาพตัวอย่าง
2.) เมื่อได้โครงแล้ว ก็เริ่มวาดรูปทรงหยดน้ำ ซึ่งเป็นไส้ในของลายพุ่มข้าวบิณฑ์ มีสองชั้น โดยวาดให้ไส้ลาย มีน้ำหนักเส้นอ่อนกว่า เส้นรูปหยดน้ำด้านนอก
3.) เริ่มวาดเส้นโครงด้านนอกเบาๆ สำหรับเป็นเส้นนำ ในการเขียนกลีบลายด้านในต่อไป
4.) ขั้นต่อไปเขียนกลีบด้านนอก ทั้งกลีบซ้ายและกลีบขวา โดยกลีบลาย จะเกาะกับรูปหยดน้ำ วีธีการเขียนเช่นเดียวกับการเขียนลายกระจังตาอ้อย แต่จะเขียนเพียงครึ่งเดียว
5.) เขียนกลีบด้านบน ให้สังเกตว่า กลีบด้านบนจะมีลักษณะ ยื่นยาวกว่า ตามรูปทรงของตัวลาย
6.) เขียนกลีบด้านล่าง โดยกลีบล่างจะมีลักษณะ กลมป้อมกว่า
7.) เมื่อได้กลีบครบทั้งหมดแล้ว จึงสอดไส้ลาย ทั้งหมด 4 จุด
8.) เขียนกลีบรองดอก ที่มุมเว้าด้านล่าง ให้ยื่นเป็นคู่ ออกมาเล็กน้อยพองาม เสร็จได้รูปทรง พุ่มข้าวบิณฑ์ที่สมบูรณ์
[แก้ไข] 5.การเขียนแม่ลายกระหนก (ตัวเดียว)
แม่ลายกระหนก นับเป็นแม่ลายที่สำคัญที่สุด ในการเขียนลายไทย เพราะถ้าคุณไม่สามารถ ฝึกเขียนลายกระหนก จนชำนาญแล้ว ก็จะไม่สามารถเขียนลายไทย ในขั้นต่อๆ ไปได้ ในบทเรียนนี้จะเป็นการฝึก การวาดกระหนกตัวเดียว และจะให้วาดสลับทั้งด้านซ้าย และด้านขวา โดยรูปทรงของตัวกระหนกนี้ มาจากรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก โดยส่วนหัวของกระหนกจะยื่น เลยจากรูปทรงสามเหลี่ยม ออกมาเล็กน้อย เพื่อให้ตัวกระหนก มีความพริ้วไหวมากขึ้น แต่ถ้าจะเขียนให้อยู่ภายใน รูปทรงสามเหลี่ยมก็ย่อมได้ แต่ตัวกระหนกที่ได้จะดูแข็งกว่า ความอ่อนช้อยจะลดลง
[แก้ไข] ขั้นตอนการเขียนแม่ลายกระหนก (ตัวเดียว)1.) เริ่มจากการวาดรูป สามเหลี่ยมมุมฉากขึ้นก่อน ส่วนสูง3 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว และที่มุมซ้ายวาด สามเหลี่ยมด้านเท่า เล็กๆ กว้างจากฐาน 2ซ.ม. สำหรับให้ตัวกระหนกเกาะ
2.) เริ่มลากเส้นโค้ง จากฐาน (ตามภาพตัวอย่าง) พอถึงส่วนหัวกระหนก ให้วาดเส้นขด เหมือนกับก้นหอย แล้วลากเส้นต่อ จนถึงยอดลาย และตวัดลง ให้โค้งแหลม จนสุดโคนก้านตัวกระหนก ตามภาพตัวอย่าง
3.) สำเร็จเป็นตัวกระหนก ส่วนเส้นเล็กๆ สีเทาที่อยู่ระหว่างกลาง ทั้งสองด้าน ของตัวกระหนกนั้น คุณจะวาดหรือไม่ก็ได้ ผมเพียงแต่เขียนนำไว้ให้ เพราะในบทเรียนต่อไปเส้นนำนี้ จะมีความสำคัญมาก ในการแบ่งตัวกระหนก เพื่อบากลาย หรือวาดขด สะบัดยอดลาย เป็นลายกระหนกหางไหล
4.) เมื่อคุณสามารถวาดกระหนก ด้านขวาสำเร็จแล้ว ต่อไปคุณก็ควรหัดวาด ตัวกระหนกที่พลิกกลับด้านซ้ายด้วย เพราะในการใช้งานจริงๆ นั้น จำเป็นต้องเขียนได้ ทั้งด้านซ้าย และด้านขวา วิธีการวาดก็เช่นเดียวกับ การวาดตัวกระหนกด้านขวา
[แก้ไข] 6.การสอดไส้และบากลายกระหนก
เมื่อคุณสามารถฝึกวาด กระหนกตัวเดียวแบบเปลือยๆ จากบทเรียนที่ ๕ ได้จนชำนาญแล้ว บทเรียนนี้จะให้คุณ ได้สอดไส้ตัวกระหนก และบากลายในลักษณะต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกัน (โดยใช้ทั้งการบากลายเข้า และบากลายออก ในกระหนกตัวเดียวกัน) และใส่กาบใบ ให้กับตัวกระหนกด้วย ลักษณะกระหนกเช่นนี้ บางคราวก็เรียกกันว่า กระหนกใบเทศ เพราะมีรูปร่างเหมือนกับใบเทศ หรือใบของต้นพุดตาน (hibiscus) ซึ่งเป็นไม้ตระกูลชบา ดอกใหญ่ มีกลีบดอกซ้อนสวยงามมาก
[แก้ไข] ขั้นตอนการสอดไส้และบากลายกระหนก1.) การเขียนโครงสามเหลี่ยมมุมฉาก ใช้ขนาดเดียวกับบทเรียนที่ ๕
2.) เริ่มจากการวาดกาบใบเสียก่อน (คือส่วนที่เป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า ในบทเรียนที่ ๕) โดยเขียนให้โคัง และตวัดยอดเหมือนกับยอดโค้งของใบไม้อ่อน และบากลายที่กึ่งกลางกาบ ดังภาพตัวอย่าง
3.) สังเกตดูช่วงของการบากลายเข้า และออกได้จากภาพตัวอย่างนะครับ เริ่มลากเส้นจากโคน ตัวกระหนกและลากยาว จนถึงยอดลาย และตวัดกลับ แต่ระหว่างทางที่ลากเส้นนั้น จะมีการบากลายอยู่ตลอด สังเกตดูได้จากภาพตัวอย่าง
4.) เมื่อได้ตัวกระหนกที่สมบูรณ์แล้ว ขั้นต่อมาก็คือการสอดไส้ลาย ให้วาดลายสอดไส้ ทั้งตัวกระหนก และกาบใบ ลักษณะเส้นจะอ่อนเบากว่า เส้นรูปของตัวกระหนกที่เข้มกว่า
5.) เสร็จสมบูรณ์
6.) การวาดตัวกระหนกพลิกกลับ ด้านซ้ายมือนี้ มีวิธีการเช่นเดียวกับ การวาดด้านขวามือ
[แก้ไข] 7.การเขียนหางไหล
ลายหางไหล ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ประกอบ เป็นยอดของตัวกระหนก โดยช่างไทยได้แรงบันดาลใจ มาจากหางของสัตว์จำพวกงู และเปลวเพลิง ลักษณะรูปร่างของหางไหล โคนหางจะอ้วน ส่วนปลายจะเรียวแหลม และจะสะบัดเลื้อยไปมา การฝึกเขียนหางไหลนั้น ค่อนข้างทำได้ยาก โดยผู้เรียนส่วนใหญ่ จะเขียนแล้วไม่สมดุลย์กัน ทำให้หางไหลนั้น ดูแล้วสะบัดไม่เป็นธรรมชาติ วิธีแก้ไข คือต้องหัดสังเกตจากบทเรียน หรือจากธรรมชาติใกล้ตัว และทดลองฝึกเขียนให้มาก ก็จะทำให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น
[แก้ไข] ขั้นตอนการเขียนหางไหล1.) ให้วาดสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มีขนาดเดียวกับบทเรียนที่ ๕ และ ๖ ผิดกันแต่ ไม่ต้องวาดสามเหลี่ยมด้านเท่าเล็กๆ แต่ให้แบ่งกึ่งกลางขนาด ๑ นิ้วแทน เพื่อลากเส้นประนำ แบ่งกึ่งกลางของรูปสามเหลี่ยม
2.)วาดเส้นโค้งจากโคนลาย เลื้อยมาเรื่อยๆ จนถึงยอดลาย และลากให้เลื้อยกลับ ให้สังเกตการโค้งของเส้น จะไปเล็กที่สุดคือส่วนยอดลาย เหมือนหางงู
3.) ลากเส้นกึ่งกลางหนึ่งเส้น ให้คดโค้งไปตามรูปจนถึงยอดลาย
[แก้ไข] 8. การเขียนกระหนกเปลว
เมื่อเรานำหางไหลมาประกอบกับกระหนก เราจะเรียกกระหนกนั้นว่า "กระหนกเปลว" เนื่องจากมีรูปทรงเหมือนเปลวไฟ ที่สะบัดเลื้อย พริ้วไหวไปมา โดยรูปทรงของกระหนกเปลวนี้ มีโครงของตัวหางไหลอยู่ แต่ถ้าหากคุณวาด โดยไม่มีโครงของหางไหล กระหนกที่ได้จะแข็ง ไม่สะบัดพริ้วเท่าที่ควร ช่างไทยที่ฝีมือดี ล้วนผ่านการวาดกระหนกชนิดนี้มาอย่างหนักทั้งสิ้น หัวใจของศิลปะไทยคือ ความอดทน ช่างสังเกตและขยันหมั่นฝึกฝนนั่นเอง
[แก้ไข] ขั้นตอนการเขียนกระหนกเปลว1.) ให้วาดสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มีขนาดและการแบ่งพื้นที่ เช่นเดียวกับบทเรียนที่ ๕ และ ๖
2.) วาดเส้นโค้งในส่วนของกาบใบ (กาบเล็กๆ ที่เป็นส่วนของการงอกออก ของตัวลายกระหนกเปลว) ในพื้นที่สามเหลี่ยมเล็กๆ มุมซ้ายมือ
3.) วาดเส้นโค้งจากโคนลาย ลากตวัดเป็นส่วนหัวของตัวกระหนก และลากเส้นลายมาเรื่อยๆ สะบัดเส้นให้เลื้อยเป็นเปลว จนถึงยอดลาย และลากให้เลื้อยกลับ โดยพยายามสังเกตทิศทางของเส้น ให้วาดเลื้อยไป เหมือนกับหางของงู และจบลงด้วยการตวัดเส้นโค้งกลับ มาที่กาบใบ
4.) ลากเส้นกึ่งกลางหนึ่งเส้น ให้คดโค้งไปตามรูปจนถึงยอดลาย
[แก้ไข] 9.การสอดไส้และบากลายกระหนกเปลว
เมื่อคุณสามารถฝึกวาดกระหนกเปลว จนชำนาญดีแล้ว ต่อไปคือการสอดไส้และบากลาย ให้กับตัวกระหนกเปลว ซึ่งกระหนกเปลวส่วนใหญ่ จะใช้ลายบากตัวละประมาณ ๖-๗ ตำแหน่ง (โดยสามารถเพิ่มหรือลด ตำแหน่งของรอยบากได้อีก ตามความเหมาะสม หรือตามขนาด ของตัวกระหนก) เมื่อมีการบากลายแล้ว ตัวกระหนกจะดูสวยงามมากขึ้น และเพิ่มพลังความพริ้วไหว ดุจเปลวเพลิง สมดังชื่อที่ตั้งอย่างแท้จริง
[แก้ไข] ขั้นตอนการสอดไส้และบากลายหระหนกเปลว1. ให้วาดสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มีขนาดและการแบ่งพื้นที่ เช่นเดียวกับบทเรียนที่ ๕ และ ๖
2. วาดเส้นโค้งในส่วนของกาบใบ (กาบเล็กๆ ที่เป็นส่วนของการงอกออก ของตัวลายกระหนกเปลว) ในพื้นที่สามเหลี่ยมเล็กๆ มุมซ้ายมือ พร้อมกับบากลายเข้าตามรูป
3. วาดเส้นโค้งจากโคนลาย ลากตวัดเป็นส่วนหัวของตัวกระหนก และลากเส้นลายมาเรื่อยๆ (ถ้าคุณยังไม่ชำนาญ ควรร่างโครงของกระหนกเปลว ด้วยเส้นเบาๆ ก่อน) แล้วจึงสะบัดเส้นขึ้น และบากลายเข้าและออก ตามจังหวะของตัวลาย บากไปเรื่อยๆให้เลื้อยเป็นเปลว จนถึงยอดลาย และลากเส้นให้เลื้อยกลับ พร้อมกับบากลายตามภาพ โดยพยายามสังเกตทิศทางของเส้น ระหว่างการบากลาย ให้อยู่ในทรงของกระหนกเปลว ที่สะบัดยอดเป็นหางไหลด้วย
4. สำเร็จเป็นรูปทรง กระหนกเปลว ที่สอดไส้และบากลาย เรียบร้อยแล้ว จึงสอดไส้ลายที่ตัวกระหนก และกาบใบ ด้วยเส้นที่อ่อนกว่าดังภาพ
5. วาดกระหนกเปลว สอดใส้และบากลาย ที่พลิกกลับ ทางด้านซ้าย เช่นเดียวกับบทเรียนที่ผ่านมา วิธีการวาด ใช้เช่นเดียวกับการวาดด้านขวา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
-ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร
-มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
-www.jitdrathanee.com
-www.jitdrathanee.com/thai/studio
   

คะแนน

จำนวนผู้เข้าร่วม 4พลังน้ำใจ +56 Zenny +482 ย่อ เหตุผล
gujack + 5 + 30 กระทู้นี้ยอดเยี่ยม!
lonlymale + 5 + 62 ชอบคนโพส
Medmayom + 30 + 350 ของดีของไทย
thefriday + 16 + 40 ขอบคุณครับ

ดูบันทึกคะแนน

ชีวิตมีขึ้นลง      อีกหน่อยปลงดับสังขาร ความสุขในวันวาน    อีกไม่นานก็จางไป วันก่อนเคยสนุก      วันนี้ทุกข์กลับพลักไส เพื่อนฝูงเคยอำไพ    บัดนี้ไร้แม้คนมอง

นิสิตสัมพันธ์

กระทู้
101
พลังน้ำใจ
42558
Zenny
103853
ออนไลน์
6955 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกต

โพสต์ 2012-7-21 01:24:31 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย thefriday เมื่อ 2012-7-21 01:24

ก๊อปมาจากวิกิพีเดียกันเลยทีเดียว อิอิ ^^

ขอบคุณคร้าบ ชอบๆ
ลายไทย..งดงาม วิจิตร และมีเอกลักษณ์มากๆคร้าบ ยากที่จะเลียนแบบได้ หากไม่มีฝีมือ

สัตว์ในหิมพานต์ ถึงแม้ตำนานดั้งเดิม จะไม่ใช่ของไืทย
แต่ไทยเราก็ยังสามารถนำมาประยุกต์ ผสมผสานความเป็นไทยลงไปในศิลปะ
ทำให้มีรูปแบบเฉพาะ และกลายเป็นเอกลักษณ์ของไทยได้อย่างน่าชื่นชม ^^

แสดงความคิดเห็น

รูปหล่อ แถมยังชอบความเป็นไทยอีก น่ารักจริงๆ  โพสต์ 2012-7-21 09:26
ชื่อ Saint ฮะ~ ถ้าเรียกชื่อไม่ถนัด งั้นเรียกที่รักก็ได้ครับ 5555

นิสิตสัมพันธ์

อยากมีเพื่อนคุยกินเที่ยวกัน

กระทู้
594
พลังน้ำใจ
30581
Zenny
218329
ออนไลน์
3227 ชั่วโมง

สมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

โพสต์ 2012-7-21 02:24:16 | ดูโพสต์ทั้งหมด
สิ่งเหล่านี้ประกอบกันเป็นคุณค่าของชนชาติ ไทย

แสดงความคิดเห็น

ครับผมบรรพบุรุษสร้างไว้ให้ลูกหลาน  โพสต์ 2012-7-21 09:27
"ความรัก!เกิดจากความเข้าใจของคนสองคนและมักจบลงด้วยค ...

นิสิตสัมพันธ์

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
12000
Zenny
57366
ออนไลน์
377 ชั่วโมง
โพสต์ 2012-7-22 17:03:43 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ลายไทยสวยงามมาก ขอบคุณจริงจริง

แสดงความคิดเห็น

ครับผม  โพสต์ 2012-7-22 17:13

มหาลัยซีเนียร์

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
1997
Zenny
15481
ออนไลน์
241 ชั่วโมง
โพสต์ 2013-3-24 21:26:58 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณครับ

พี่ว้ากตัวร้าย

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
540
Zenny
3966
ออนไลน์
84 ชั่วโมง
โพสต์ 2013-4-17 13:38:53 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ชอบมากครับ

พี่ว้ากตัวร้าย

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
495
Zenny
3715
ออนไลน์
207 ชั่วโมง
โพสต์ 2013-4-29 23:41:54 | ดูโพสต์ทั้งหมด

นักศึกษาหน้าใหม่

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
45
Zenny
445
ออนไลน์
6 ชั่วโมง
โพสต์ 2013-10-8 02:12:15 | ดูโพสต์ทั้งหมด

นักศึกษาหน้าใหม่

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
45
Zenny
445
ออนไลน์
6 ชั่วโมง
โพสต์ 2013-10-8 02:13:04 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณมากครับ

แสดงความคิดเห็น

ครับผม  โพสต์ 2020-1-7 07:12

นักศึกษาหน้าใหม่

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
45
Zenny
445
ออนไลน์
6 ชั่วโมง
โพสต์ 2013-10-8 02:14:10 | ดูโพสต์ทั้งหมด

นักศึกษาหน้าใหม่

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
45
Zenny
445
ออนไลน์
6 ชั่วโมง
โพสต์ 2013-10-8 02:14:45 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณมากครับ

นักศึกษาหน้าใหม่

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
45
Zenny
445
ออนไลน์
6 ชั่วโมง
โพสต์ 2013-10-8 02:15:08 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณมากครับ

พี่ว้ากตัวร้าย

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
408
Zenny
411
ออนไลน์
175 ชั่วโมง
โพสต์ 2016-10-19 21:48:41 | ดูโพสต์ทั้งหมด

มหาลัยซีเนียร์

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
2164
Zenny
1290
ออนไลน์
138 ชั่วโมง
โพสต์ 2019-10-27 13:29:02 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ผมเคยเรียนวาดตอนมอต้นแบบง่าย แต่มันก็ยากสำหรับผมอยู่ดี ขอบคุณมากคับ

มาเฟียนักศึกษา

กระทู้
1
พลังน้ำใจ
4380
Zenny
3654
ออนไลน์
189 ชั่วโมง
โพสต์ 2019-11-23 01:07:11 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณครับ

มหาลัยซีเนียร์

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
1860
Zenny
672
ออนไลน์
125 ชั่วโมง
โพสต์ 2020-4-6 05:58:48 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณคับ

มาเฟียนักศึกษา

กระทู้
21
พลังน้ำใจ
6957
Zenny
22737
ออนไลน์
527 ชั่วโมง
โพสต์ 2020-4-18 03:36:35 | ดูโพสต์ทั้งหมด
สวยดีครับ

มาเฟียนักศึกษา

กระทู้
1
พลังน้ำใจ
4519
Zenny
6121
ออนไลน์
315 ชั่วโมง
โพสต์ 2020-6-15 09:41:19 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณครับ

รุ่นน้องจูเนียร์

กระทู้
0
พลังน้ำใจ
215
Zenny
-139
ออนไลน์
53 ชั่วโมง
โพสต์ 2021-5-19 09:32:36 | ดูโพสต์ทั้งหมด

ประธานนักศึกษา

กระทู้
3
พลังน้ำใจ
73081
Zenny
77206
ออนไลน์
12294 ชั่วโมง
โพสต์ 2021-7-7 21:57:12 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม

ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-11-21 15:55 , Processed in 0.122605 second(s), 27 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้