แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย moo2010 เมื่อ 2012-8-6 21:25
พระจริยวัตรที่งดงามของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
เมื่อครั้งทรงเสด็จเยี่ยมพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 5 พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร
สมเด็จย่าของปวงชนชาวไทยก็ทรงลดพระองค์ต่ำกว่า โดยประทับที่ขั้นบันไดที่ต่ำชั้นกว่า
ด้วยทรงระลึกว่าเสด็จพระองค์วาปีฯเป็นพระราชธิดาใน ร.5
และเป็นพระราชธิดาบุญธรรมในสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ณ ที่บันไดนั้น...มีเรื่องราวอันสมควรจารึกไว้ในความทรงจำ
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ
ทรงเสด็จเยี่ยมพระองค์เจ้าวาปีบุษบากร ภาพที่เห็นช่างพร้อมด้วยจริยะจารีตที่งดงามยิ่ง
ทรงแย้มพระสรวลอย่างอ่อนน้อม
เป็นภาพที่ทำให้น้ำตารื้น
(17 ธค.) เป็นวันคล้ายวันเสด็จสิ้นพระชนม์ (พ.ศ.2498)
ของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ผู้ทรงรับพระองค์เจ้าวาปีบุษบากรเป็นพระธิดาบุญธรรม
โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ได้ทรงรับบุตรบุญธรรมทั้งสิ้น 3 พระองค์ ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าเยาวภาพงษ์สนิท
พระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไล
และพระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษกร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร
ข้อมูล
วันประสูติ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2434
วันสิ้นพระชนม์ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2525
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดา เจ้าจอมมารดาพร้อม
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร (25 มิถุนายน พ.ศ. 2434 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2525) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ เจ้าจอมมารดาพร้อม ประสูติเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2434 ลำดับพระองค์ที่ 68
หลังจากเจ้าจอมมารดาพร้อม ถึงแก่อนิจกรรม สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงทูลขอพระราชทาน พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร มาอภิบาลเป็นพระธิดาบุญธรรม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2525 พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2526 ทรงมีพระชนมายุยืนยาวถึง ๙๑ ปี เป็นพระราชธิดาบุญธรรมพระองค์เดียวที่มีพระชนมชีพอยู่จนได้จัดการพระบรมศพ ของสมเด็จพระราชมารดาเลี้ยง ที่ทรงอภิบาลพระองค์มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์กุลเชษฐ์แห่งพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ในรัชกาลปัจจุบัน ตราบจนเสด็จสิ้นพระชนม์ ( กุลเชษฐ์ คือ เจ้านายฝ่ายในที่ทรงพระชนมายุมากที่สุดในขณะนั้น )
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทาน
มหาจักรีบรมราชวงศ์ ม.จ.ก.
ปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ป.จ.
มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ม.ป.ช.
มหาวชิรมงกุฏ ม.ว.ม.
ราชวัลภาภรณ์ ร.ภ.
เหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร. รัชกาลที่ ๕ ชั้นที่ ๒
เหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร. รัชกาลที่ ๖ ชั้นที่ ๒
เหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร. รัชกาลที่ ๗ ชั้นที่ ๑
เหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร. รัชกาลที่ ๘ ชั้นที่ ๑
เหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร. รัชกาลที่ ๙ ชั้นที่ ๑
วังวาริชเวสม์ ตั้งอยู่ที่ซอยสุโขทัย 6 ถนนสุโขทัย เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2476 (1ปี ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง) เพื่อเป็นที่ประทับของพระองค์เจ้าวาปีบุษบากร พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยมีพระสาโรชรัตนนิมมานก์ สถาปนิกไทยรุ่นบุกเบิกที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศเป็นผู้ออกแบบและควบ คุมการก่อสร้าง
พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร พระองค์ทรงมีพระชนม์มายุยืนยาวถึง 90 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2524 ในสมัยรัชกาลที่ 9 นี้เอง
ปัจจุบัน วังวาริชเวสม์ เป็นอาคารอนุรักษ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และครอบครองการใช้ ประโยชน์โดยบริษัท แม็ทชิ่ง สตูดิโอ จำกัด (มหาชน)
และ "วังวาริชเวสม์" เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บเรื่องราวของพระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร...เป็นการณ์เฉพาะ
พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (ตรงกลาง) ผู้ออกแบบวังวาริชเวสม์
เนื่องด้วยเป็นอาคารหลังแรก ๆ ในช่วงของการเปลี่ยนยุคทางสถาปัตยกรรมจากตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 7 ...ยังติดกับรูปแบบเดิมที่อิงอยู่กับอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบโบราณ สู่ยุคต้นรัชกาลที่ 8 ซึ่งทันสมัยและเป็นสากลมากยิ่งขึ้น
...การก่อสร้างจึงเน้นความประหยัดและเรียบง่าย อันเนื่องด้วยอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบวัสดุก่อสร้างใหม่เพื่อเพิ่มความคงทนถาวรโดยนำ คอนกรีตเสริมเหล็กมาใช้แทนไม้หรือปูนทั้งในส่วนที่เป็นโครงสร้างและองค์ ประกอบตกแต่ง ใช้ลวดลายเรขาคณิตแทน ลวดลายฉลุแบบเดิม (ขนมปังขิง) เดิม นอกจากนี้ ยังเป็นยุคเปลี่ยนสถาปนิกจากที่เคยเป็นเจ้านาย ขุนนาง หรือชาวต่างชาติ มาเป็นสามัญชนธรรมดา แสดงให้เห็นวิวัฒนาการเชิงรูปแบบและโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมในประเทศไทย
รูปทางเข้าวัง..ประตูวังวาริชเวสม์ ..ในอดีต
รูปวังวาริชเวสม์..ด้านหน้า (ทิศตะวันออก) ..ในอดีต
รูปวังวาริชเวสม์..ด้านข้างซ้าย (ทิศเหนือ) ..ในอดีต
รูปวังวาริชเวสม์..ด้านข้างขวา (ทิศตะวันออกเฉียงใต้) ..ก่อนถูกบูรณะฯ
ด้านหลังจะเป็นเรือนไม้หลังคาสังกะสี
ซึ่งเป็นที่พักของเหล่าบริวารที่รับใช้และเรือนโรงรถ ที่มีประตูเปิด-ปิด
รูปวังวาริชเวสม์..ด้านข้างขวา (ทิศตะวันออกเฉียงใต้) ..ในปัจจุบัน
เรือนไม้ได้ถูกแทนที่เป็นอาคารสำนักงานสร้างใหม่ 3 ชั้น
ส่วนโรงรถถูกแทนที่เป็นศาลาเอนกประสงค์ไว้ใช้งาน
|