จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ไร้สังกัด เพราะออกนอกระบบ
ตราสัญลักษณ์ พระเกี้ยว เสื้อครุยพระราชทานจากพระมงกุฎ สีประจำมหาวิทยาลัยสีชมพู "พวกเราน้องพี่สีชมพู" ต้นจามจุรี "จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล"
ค่าใช้จ่ายไม่ทราบแน่ชัด แล้วแต่เอกสาขา แต่ถ้าระดับปริญญาตรีน่าจะอยู่ที่ประมาณ เทอมละ 20000 ขึ้น ถ้าเป็นวิทยาลัยนานาชาติก็เหยียบแสน
คำขวัญเยอะมาก จำไม่ได้ซักกะอัน แต่ที่ติดมากคือ มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของไทย จบมานานแล้วนะอย่าว่ากัน หึหึ
ประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานชัยศรีในพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒ [ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินสากลในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ (ค.ศ. ๑๙๔๐) ดังนั้น พ.ศ. กับ ค.ศ.ก่อนหน้านี้จึงเหลื่อมกันอยู่ ๑ ปี] และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ ทั้งนี้เพื่อผลิตบุคลากรให้รับราชการซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลจากพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๕ ต่อ มาทั้งภาคราชการและเอกชนต้องการบุคลากรทำงานในสาขาวิชาต่างๆ กว้างขวางมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบรมราโช บายในสมเด็จพระบรมชนกาธิราชที่จะ"ให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถาบันอุดม ศึกษาของชาวสยาม"พอที่จะช่วยให้กิจการปกครองท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยดำเนิน ไปได้ดีในระดับหนึ่งแล้วสมควรขยายการจัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของ กระทรวง ทบวง กรมอื่น ๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษา พระราชทานนามว่า "โรงเรียน ข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เมื่อ ๑ มกราคม ๒๔๕๓ ต่อมาทรงเห็นว่าควรขยายกิจการให้กว้างขวางตามพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นพระ บรมราชานุสาวรีย์อันยิ่งใหญ่และถาวรในสมเด็จพระบรมชนกาธิราชพระองค์จึงได้ พระราชทานเงินทุนที่เหลือจากการที่ราษฎรได้เรี่ยไรเพื่อสร้างพระบรมราชานุ สาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าจำนวนเก้าแสนกว่าบาทให้ใช้เพื่อสร้างอาคารเรียนและ เป็นตึกบัญชาการบนที่ดินของพระคลังข้างที่จำนวน ๑,๓๐๙ ไร่ ซึ่งอยู่ที่อำเภอปทุมวัน และเงินที่เหลือจากการสร้างก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เพื่อกิจการ ของโรงเรียนต่อไปทั้งนี้ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินและ ทรงวางศิลาพระฤกษ์ในการสร้างอาคารดังกล่าวเมื่อ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๘ ในครั้งนั้นมีการเปิดสอน ๘ แผนกวิชา ได้แก่ การปกครอง กฎหมาย การฑูต การคลัง การแพทย์การช่าง การเกษตร และวิชาครู จัดการศึกษาใน ๕ โรงเรียน (คณะในปัจจุบัน) คือโรงเรียนรัฏฐประศาสนศาสตร์ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวังโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ตั้งอยู่ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนราชแพทยาลัยตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชโรงเรียนเนติศึกษาตั้งอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา และโรงเรียนยันตรศึกษาตั้งที่วังใหม่หรือวังกลางทุ่ง หรือวังวินเซอร์ (เคยเป็นวังของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกูฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่จะรับผู้ซึ่งประสงค์จะศึกษาขั้นสูงให้เข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรย์เฉลิมพระเกียรติแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ให้เจริญก้าวหน้ากว้างขวางแผ่ไพศาล และมิรู้เสื่อมสูญ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยในช่วงแรกมีการจัดการศึกษาเป็น ๔ คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๙ - ๒๔๖๕ มีการปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาระดับประกาศนียบัตร และการเตรียมการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญา มีการติดต่อกับมูลนิธิร็อกกี้ เฟลเลอร์ เพื่อให้ช่วยเหลือการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ จากนั้นระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๖ - ๒๔๘๐ เริ่มรับผู้สำเร็จหลักสูตรมัธยมบริบูรณ์เข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ขณะเดียว กันก็ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรและรับนักเรียนผู้จบประโยคมัธยมบริบูรณ์เข้า เรียนอีก ๔ คณะ และในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๑ - ๒๔๙๐ เริ่มเน้นการเรียนการสอนอันเป็นพื้นฐานของวิชาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการจัดเตรียมมหาวิทยาลัยคือนักเรียนจะต้องเลือกเรียนตามคณะต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนทำให้มีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยขึ้น หลังจากนั้น ในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๑ - ๒๕๐๓ เป็นระยะเวลาของการขยายการจัดการศึกษาออกไปในศาสตร์และศิลปวิทยาการต่างๆ โดยเน้นระดับปริญญาตรีเป็นหลัก และตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๔ จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาของการขยายการศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้น และ เริ่มพัฒนาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาส่งเสริมการค้นคว้า วิจัย การอนุรักษ์และสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมและการบริการทางวิชาการให้แก่สังคม มีการจัดตั้งสถาบันวิจัยสถาบันบริการ และศูนย์ เพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยและพัฒนาตนเอง ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ทุกวิถีทางให้สมกับเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระปิยมหาราชของพสกนิกรชาวไทยตลอดไป
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง สมเด็จพระเทพ อาจารย์สมศรี ชนาธิป ช้อนขำ อ.เผ่า สุวรรณศักด์ศรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาสถาปัตยกรรมไทย
เครื่องแบบ
คณะ/สถาบัน คณะครุศาสตร์
คณะจิตวิทยา
คณะทันตแพทยศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
คณะแพทยศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์
คณะรัฐศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะศิลปกรรมศาสตร์
คณะเศรษฐศาสตร์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะสหเวชศาสตร์
คณะสัตวแพทยศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์
รางวัลต่างๆ
ติดอันดับ ๑ ใน ๑๐ สถานที่ที่ให้ความสงบใน กทม. ได้รับรางวัล Platinum Award, Trusted Brand 2009 จากผลการสำรวจของนิตยสาร Reader’s Digest ติดต่อกัน 3 ปี ซ้อน คว้าอันดับสูงสุดของไทย 4 ใน 5 สาขาวิชา มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย คะแนนสูงสุดแอดมิชชั่น ๑๐ คณะ เลือกเรียนที่จุฬาฯ
สถิติอื่นๆ
ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกอบด้วยบัณฑิตวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย สำนักวิชา สถาบันวิจัย สถาบันบริการ ศูนย์ สำนัก สถาบันสมทบ รวมถึงคณะ และภาควิชามากมาย โดยมีจำนวนคณะ หน่วยงาน และสำนักต่างๆ รวมทั้งหมด 42 แห่ง นอกจากนี้ นิสิตระดับปริญญาตรีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีจำนวนทั้งสิ้น 24,951 คน นิสิตระดับปริญญาโทจำนวนทั้งสิ้น 10,881 คน นิสิตระดับปริญญาเอกจำนวนทั้งสิ้น 2,510 คน และจำนวนนิสิตทั้งหมดรวมทั้งนิสิตระดับ ประกาศนียบัตรบัณฑิต และประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง มีทั้งสิ้น 39,006 คน สำหรับจำนวนบุคลากรทั้งข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยมีทั้งสิ้น 8,066 คน (ข้อมูล ปี 2554-ภาคต้น)
สถานที่ติดต่อ http://www.chula.ac.th จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม. 10330
โทรศัพท์: +662-215-0871-3
โทรสาร: +662-215-4804ติดต่อสอบถามหมายเลขโทรศัพท์ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Operator)
โทรศัพท์ 02-215-3555, 02-611-7500
|