โสด UID23297
ลงทะเบียน2011-7-29
ออนไลน์2454 ชั่วโมง
วันเกิด1967 ปี 11 เดือน 1 วัน
อายุพิจิก
ที่อยู่ปัจจุบันไทย ตราด
โสด
ศาสตราจารย์เอื้ออาทร
อาจารย์พิเศษ
|
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ประกอบด้วย เกาะใหญ่น้อยอยู่ทางฝั่งทะเลอ่าวไทยกว่า 40 เกาะ วางเรียงตัวเรียงรายเป็นรูปยาวรีคู่ขนานไปกับชายฝั่งทะเลจังหวัดตราด เช่น เกาะช้างน้อย เกาะคลุ้ม เกาะหวาย เกาะเหลายา เกาะไม้ซี้ เกาะรัง และมีเกาะช้างเป็นเกาะที่ขนาดใหญ่ที่สุด (ขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศไทยรองจากเกาะภูเก็ตและเกาะสมุย) อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของแหลมงอบ จังหวัดตราด ห่างประมาณ 8 กิโลเมตร ยาวจากเหนือลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 30 กิโลเมตร กว้างประมาณ 14 กิโลเมตร ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 197 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2525 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 45 ของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ในท้องที่ตำบลเกาะช้าง กิ่งอำเภอเกาะช้าง และตำบลเกาะหมาก กิ่งอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด พื้นที่ประมาณ 650 ตารางกิโลเมตร หรือ 406,250 ไร่
ทิศเหนือ จดทะเล ท้องที่ ต.บางปิด ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด
ทิศใต้ จดทะเล ท้องที่ ต.เกาะหมาก กิ่งอำเภอเกาะกูด จ.ตราด
ทิศตะวันออก จดทะเล ท้องที่ ต.แหลมงอบ อ.แหลมงอบ จ.ตราด
ทิศตะวันตก จดทะเล ท้องที่ ต.เกาะช้าง กิ่งอำเภอเกาะช้าง จ.ตราด
ลักษณะภูมิประเทศ
ในจำนวนกว่า 40 เกาะ ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง มีเกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่ ที่สุดห่างจากแหลมงอบประมาณ 8 กิโลเมตร พื้นที่ทอดยาวจากเหนือลงมาทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 30 กิโลเมตร กว้างประมาณ 14 กิโลเมตร เกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสามประเทศไทยรองจากเกาะภูเก็ตและเกาะสมุย แต่พื้นที่อุทยานแห่งชาติไม่ได้ครอบคลุมเกาะช้างทั้งหมด มีบางส่วนที่เป็นส่วนของกิ่งอำเภอเกาะช้าง มีราษฎรอาศัยอยู่ ส่วนในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ส่วนที่เป็นพื้นดินส่วนใหญ่ของเกาะช้างมีลักษณะภูมิประเทศเป็น ภูเขาเกือบตลอดทั้งเกาะ เช่น เขาล้าน เขาจอมปราสาท เขาคลองมะยม เขาสลักเพชร ยอดเขาใหญ่เป็นยอดเขาที่สูง ที่สุดมีความสูง 743 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
โครงสร้างทางธรณีส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นหินอัคนีในยุคไทรแอสซิกมีช่วงอายุ 195-230 ล้านปีมาแล้ว มีที่ราบตามชายฝั่งทะเลในบริเวณหมู่บ้านสลักเพชร หมู่บ้านสลักคอก หมู่บ้านคลองสน และอ่าวคลอง พร้าว แม่น้ำลำธารในเกาะช้างเป็นคลองสายสั้นๆ ที่น้ำทะเลเข้าถึง ต้นคลองเป็นห้วยน้ำจืดไหลมาจากน้ำตก ซึ่งเป็นสภาพหุบเขาหลังอ่าวต่างๆ ไหลแทรกไปตามบริเวณป่าชายเลนแล้วไหลลงสู่ทะเลรอบๆ คลองที่สำคัญได้แก่ คลองสน คลองมะยม คลองค้างคาว คลองบางเบ้า คลองพร้าว คลองนนทรี เป็นต้น ลำน้ำเหล่านี้ยังก่อให้เกิดน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกธารมะยม น้ำตกคลองพลู น้ำตกคลองนนทรี น้ำตกคีรีเพชร และน้ำตกคลองหนึ่ง นอกจากนี้ชายฝั่งตะวันออกของเกาะ จะมีหาดโคลนและหินเป็นหาดหน้าแคบ ส่วนหาดทางด้านตะวันตก จะเป็นหาดทรายและหิน
ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ได้รับอิทธิพลจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ ในระยะนี้มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมพื้นที่ ทำให้อุณหภูมิลดลงอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคมถึงเดือนเมษายน ในระยะนี้ดวงอาทิตย์กำลังเคลื่อนผ่านเส้นศูนย์สูตรไปทางซีกโลกเหนือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังอ่อนค่อนข้างจะแปรปรวน มีฝนตกน้อยทำให้อากาศร้อนอบอ้าว โดยเฉพาะในเดือนเมษายนมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง มีความหลากหลายของพืชพรรณมาก ส่วนใหญ่เป็น ป่าดงดิบชื้น เป็นป่าที่ค่อนข้างห่างจากชายฝั่ง พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นไม้สกุลพลอง สารภีป่า และไม้ในสกุลหว้า ขึ้นปนอยู่ประปราย พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ยางนา กระบาก ตะเคียนทอง ทะโล้ พญาไม้ เปล้า หลาวชะโอน เต่าร้าง หวาย เตยย่าน กล้วยไม้ ไผ่ เร่ว กระวาน ฯลฯ มีที่ราบตามชายฝั่งทะเลในบริเวณหมู่บ้านสลักเพชร หมู่บ้านสลักคอก หมู่บ้านคลองสน และอ่าวคลองพร้าว พืชพรรณธรรมชาติที่พบเป็น ป่าชายหาด ลักษณะเป็นป่าโปร่งมีพรรณไม้ขึ้นอยู่ไม่กี่ชนิด เช่น หูกวาง สารภีทะเล เมา เสม็ด เตยทะเล เป็นต้น ตามชายฝั่งที่เป็นดินเลนบริเวณอ่าวและปากคลองลำธารต่างๆ จะพบ ป่าชายเลน พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก โปรงขาว แสม พังกาหัวสุม ถั่วดำ แสม ตะบูน ปอทะเล และตีนเป็ดทะเล และ ป่าพรุ เป็นสังคมพืชที่เกิดขึ้นบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปี บริเวณอ่าวสลักคอกและอ่าวสลักเพชร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เหงือกปลาหมอ และกก เป็นต้น
หมู่เกาะช้าง ไม่มีการทับถมของตะกอนโคลนเลนจากแม่น้ำ จึงทำให้หมู่เกาะเหล่านี้มีหาดทรายที่ ขาวสะอาด น้ำทะเลใสสวย และอุดมสมบูรณ์ด้วยสรรพชีวิตใต้ท้องทะเล โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง เช่น ปะการังก้อน ปะการังเขากวาง ปะการังพุ่ม ปะการังแผ่น หอยมือเสือ ดอกไม้ทะเล ปลาสวยงามในแนวปะการัง กัลปังหา สาหร่าย พบได้ในบริเวณเกาะช้างน้อย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะช้าง เกาะหยวก เกาะมันนอก เกาะคลุ้ม เกาะหวาย เกาะเหลายา เกาะง่าม เกาะรัง เกาะกระ และบริเวณเรือรบหลวงชลบุรี และเรือรบหลวงสงขลาที่จมอยู่ใกล้บริเวณอ่าวสลักเพชร
จากการสำรวจประชากรสัตว์ป่า เมื่อปี 2535 พบว่า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างมี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 29 ชนิด ได้แก่ หมูป่า เก้ง ลิงเสน ค่างหงอก ชะมะเช็ด พังพอนธรรมดา ค้างคาว กระรอก และหนู เป็นต้น มี นก ทั้งหมด 74 ชนิด เป็นนกที่มีถิ่นถาวรในประเทศไทยและไม่อพยพย้ายถิ่น 61 ชนิด ได้แก่ นกยางทะเล นกปรอดหน้านวล นกตบยุง นกนางแอ่นแปซิฟิก นกกวัก และนกแก๊ก เป็นต้น เป็นนกอพยพเข้ามาในประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว 8 ชนิดได้แก่ นกยางเขียว นกหัวโตทรายใหญ่ นกนางนวลแกลบดำปีกขาว นกน็อตตี้ นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกกระจี๊ดขาสีเนื้อ นกกระจี๊ดขั้วโลกเหนือ และนกนางแอ่นบ้าน เป็นนกอพยพเพื่อผสมพันธุ์ 2 ชนิด คือ นกแต้วแล้วอกเขียว และนกแต้วแล้วธรรมดา ส่วนนกอพยพผ่านในฤดูกาลอื่นๆ 3 ชนิด คือ นกจับแมลงสีฟ้าท้องขาว นกจับแมลงคอสีน้ำเงินเข้ม และนกกระจี๊ดหัวมงกุฎ นอกจากนี้ยังมี สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน 42 ชนิด ได้แก่ ตะพาบน้ำ ตะกวด -เอี้ย- งูเหลือม งูสิง งูจงอาง และกบเกาะช้าง (เป็นสัตว์ประจำถิ่นใน ป่าดงดิบชื้นบริเวณเกาะช้างและเกาะใกล้เคียง)
|
| | โรงแรม - รีสอร์ท ที่ตั้งอยู่โดยรอบอุทยานฯ | | # | ชื่อโรงแรม/รีสอร์ท | ราคา/ห้อง/คืน | ดูรายละเอียด | 1. | Panviman Koh Chang Resort | BHT 5,800.00 | | | 2. | [url=http://www.tourismmart.net/storefront/Accom/Style2/home.asp?memid=4024]Aiyapura Resort and Spa | BHT 4,400.00 6,700.00 | | | 3. | Banpu Koh Chang Hotel | BHT 2,000.00 | | | 4. | Koh Chang Cliff Beach | USD 91.00 | | | 5. | สลักเพชรรีสอร์ท | BHT 2,100.00 | | | 6. | เกาะกูด อ่าวพร้าว บีช รีสอร์ท | BHT 5,500.00 | | | 7. | เกาะกูด รีสอร์ท | BHT 2,700.00 | | | 8. | Banpu Resort | BHT 2,300.00 | | | 9. | T.K. Hut Resort | BHT 1,400.00 | | | 10. | Koh Mak Resort | BHT 1,600.00 2,300.00 | | | 11. | Koh Chang Tropicana Resort & Spa | BHT 2,950.00 | | | 12. | คลองพร้าวรีสอร์ท | BHT 2,200.00 | | | 13. | Barali Beach Resort | BHT 4,300.00 6,300.00 | | | 14. | Sea View Resort & Spa Koh Chang | BHT 3,210.00 4,708.00 | | | 15. | Chang Buri Resort and Spa | BHT 1,400.00 2,300.00 | | | 16. | Magic Resort | BHT 1,900.00 | | | 17. | KohkoodAonoi | BHT 1,400.00 | | | | หมายเหตุ : | ThaiForestBooking.com ยินดีเปิดรับโรงแรมและรีสอร์ทที่ตั้งอยู่โดยรอบพื้นที่อุทยานฯ หรือบริษัททัวร์ที่ให้บริการนำเที่ยว เข้าร่วมขายบริการผ่านเว็บไซต์นี้ได้โดยการลงทะเบียน "ฟรี" ได้ที่เว็บไซต์ www.eComBotTravel.com ซึ่งระบบจะสร้างเว็บไซต์และระบบจอง online พร้อมทั้งเชื่อมลิงค์มายังเว็บไซต์แห่งนี้และ/หรืออุทยานฯ ที่ท่านระบุในหมวด Location ว่าอยู่ใกล้โดยอัตโนมัติ | |
|
บ้านพักทางการที่ตั้งในอุทยานฯ | | | โปรดคลิกที่ชื่อที่พัก เพื่อดูรูปภาพและรายละเอียดของที่พักแต่ละหลัง | | | | | Zone | Accommodation | Bedrooms | Bathrooms | Guests/
Unit | Price
/Night/
Unit ((Baht) | Facilities | Booking | โซนที่ 1 | เกาะช้าง 105 (คชบดี) | 3 | 2 | 6 | 1,800 | เครื่องนอน, เครื่องปรับอากาศ, โทรทัศน์, ตู้เย็น, กระติกน้ำร้อน, ผ้าเช็ดตัว, แก้วน้ำ,น้ำดื่ม | | โซนที่ 1 | เกาะช้าง 106 (คชลักษณ์) | 3 | 2 | 6 | 1,800 | เครื่องนอน, เครื่องปรับอากาศ, โทรทัศน์, ตู้เย็น, กระติกน้ำร้อน, ผ้าเช็ดตัว, แก้วน้ำ,น้ำดื่ม | | | | | | Note : | | โซนที่ 1 | : | เกาะช้าง 101-106 | | โซนที่ 1 | : | เกาะช้าง 011 - ห้องประชุมเอราวัณ | |
แผนผังแสดงตำแหน่งบ้านพักภายในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง
click ที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย |
|
|
สถานที่ติดต่อและการเดินทาง | | สถานที่ติดต่อ | | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง
23/7 ม.3 ต.เกาะช้าง,อ. กิ่งอำเภอเกาะช้าง จ. ตราด 23170 | | การเดินทาง | รถยนต์ | | ใช้เส้นทางถนนสายบางนา-ตราด (ทางหลวงหมายเลข 3) ระยะทางประมาณ 312 กิโลเมตร ถึงตัวเมือง จังหวัดตราด แล้วเดินทางต่อไปที่ท่าเรือแหลมงอบ ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร เพื่อเดินทางต่อโดยเรือที่ท่าเรือเฟอร์รี่ ซึ่งมีให้บริการอยู่หลายท่าด้วยกัน เช่น ท่าเรือเซ็นเตอร์พ้อยต์และท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวธรรมชาติ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที ก็ถึงเกาะช้าง จากนั้นเดินทางต่อโดยรถโดยสาร เพื่อไปยังจุดหมายที่ต้องการ
|
|
| บริการเพื่ออำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ซึ่งการเช่านี้เป็นการเช่ารถพร้อมคนขับโดยไม่รวมค่าน้ำมัน และค่าธรรมเนียมผ่านทางต่างๆ | | | บริการให้เช่าเรือแก่ผู้เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน และสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล | | | บริการรับ-ส่ง ให้แก่ผู้ที่จะเดินทางไป-กลับระหว่างสนามบิน/สถานีขนส่ง/ท่าเรือ/สถานที่พักกับอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน และ/หรือ สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ | | | บริการจองตั๋วโดยสารเพื่อเดินทางไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน และ/หรือ สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ทั้งทางเครื่องบิน รถโดยสาร รถไฟ และเรือ | |
ค่าธรรมเนียมการเข้าอุทยานแห่งชาติ | | - ผู้ใหญ่ คนละ 20-80 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ)
- เด็ก คนละ 10-40 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ)
- กรณีเป็นเด็กอายุต้องต่ำกว่า 14 ปี แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 3 ปี จักไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม
- กรณีเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้เก็บค่าธรรมเนียมในอัตราสำหรับเด็ก
|
แผนที่ที่ตั้งและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง |
แผนที่การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง
click ที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย |
City Map of Trat |
Province Map of Trat | |
|
แผนที่ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติของภาคกลาง/ตะวันออก/ตะวันตก ทั้งหมด
click ที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย |
จังหวัดตราด เป็นจังหวัดชายแดนเล็ก ๆ สุดด้านชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย ต่อจากจังหวัดจันทบุรี สันนิษฐานกันว่า "ตราด"เพี้ยนมาจากคำว่า "กราด" ซึ่งเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาด และรอบเมืองตราดในสมัยก่อนนั้นก็มีต้น "กราด" ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระนเรศวรมหาราช "ตราด" มีชื่อในขณะนั้นว่า "บ้านบางพระ" ใน ร.ศ. 112 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสยอมยก ดินแดนจังหวัดตราดและเกาะช้างทั้งหมดตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรี ต่อมาในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ได้ยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณรวมทั้งเมือง ปัจจันตคีรีเขตรให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกเอาเมืองตราด เกาะต่างๆ ตั้งแต่แหลงสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด กับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคืนมา โดยฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้น เป็นพระยาศรีเทพตำแหน่งปลัดทูลฉลอง กระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทย ฝ่ายฝรั่งเศสมีมองซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็น หัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศส ได้กระทำพิธีส่งและรับ มอบกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไป เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 ชาวจังหวัดตราดได้ถือเอาวันที่ 23 ของทุกปีเป็นวัน "ตราดรำลึก" ปัจจุบันจังหวัดตราด มีจุดบูมด้านการท่องเที่ยวโดยเฉพาะที่เกาะช้าง จนมีชื่อเสียงที่ติดหูและได้รับความนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยละชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก นอกจากนี้สถานที่ท่องเทียวและเกาะแก่งต่างๆดูเหมือนเริ่มจะขยายตัวด้านการท่องเที่ยวตามไปด้วย และจุดเด่นอีกด้านหนึ่งของจังหวัดตราด คือ ความเป็นเมืองค้าชายแดนกับประเทศกัมพูชา ทำให้มีเส้นทางเชื่อมโยงไปสู่กรุงพนมเปญและประเทศเวียดนาม
จังหวัดตราดอยู่ห่างจากกรุงเทพฯเพียง 315 กิโลเมตรเท่านั้น โดยมีพื้นที่ประมาณ 2,819 ตารางกิโลเมตร นับเป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อ.เมือง , อ.เขาสมิง , อ.แหลมงอบ , อ.คลองใหญ่ , อ.บ่อไร่ , อ.เกาะกูด และอ.เกาะช้าง
เมืองตราด สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ที่เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาด ต้นไม้ชนิดนี้มีขึ้นอยู่รอบเมืองตราด ซึ่งในสมัยนั้นมีต้นกราดอยู่เป็นจำนวนมาก แต่พอถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองตราดมีชื่อในขณะนั้นว่า “บ้านบางพระ” จังหวัดตราด หรือเมืองทุ่งใหญ่ปรากฏชื่อในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๘) ว่าเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดฝ่ายการต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเล ที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือ เพื่อขนถ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เติมเสบียงอาหาร น้ำจืดบริเวณอ่าวเมืองตราด จึงเป็นแหล่งที่ตั้งชุมชนพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาค้าขาย
ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด
เมื่อครั้งสงครามกู้เอกราชสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเลือกตราดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารก่อนเคลื่อนกองทัพเรือออกจากจันทบุรี ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมืองตราดยังเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันท์ซึ่งต่อมาหันไปสวามิภักดิ์กับญวน ไทยกับญวนผิดใจกันจนต้องทำสงครามกันในปี พ.ศ. ๒๓๗๑ ตราดเป็นแหล่งกำลังพล และเสบียงอาหารมีการตั้งป้อมค่ายอยู่ที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตราด
สมัยรัชกาลที่ ๕ ฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดจันทบุรี ปี ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) และคืนให้ไทยในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ โดยแลกกับเมืองตราดตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ต่อมารัฐบาลไทยเห็นว่าตราดมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคนไทย ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสัญญายกเมืองตราดกับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง (เมื่อหันหน้าไปทางปากแม่น้ำ) คืนให้กับไทยโดยแลกเปลี่ยนกับพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ โดยฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทย ฝ่ายฝรั่งเศสมีเมอซิเออร์รูซโซ เรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสได้กระทำพิธีส่ง และรับมอบกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไปเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๐
ในช่วงสงครามอินโดจีน (พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๔) ฝรั่งเศสพยายามเข้ายึดเมืองตราดอีกเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ กองทัพเรือไทยได้เข้าต่อสู้ขัดขวางกองทัพเรือฝรั่งเศสที่ล่วงล้ำน่านน้ำไทยอย่างกล้าหาญ รักษาเมืองยุทธศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ได้
ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เกิดสงครามสู้รบในกัมพูชา ชาวเขมรนับแสนหนีตายทะลักเข้ามาในเขตไทยทางเทือกเขาบรรทัด เขตพรมแดนด้านตะวันออก เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๑๘ จากตัวเมืองตราดเลียบขนานเทือกเขาบรรทัด และชายฝั่งทะเลสู่อำเภอคลองใหญ่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ เมื่อสงครามสงบลงในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เส้นทางสายนี้ได้แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณตลาดหาดเล็ก สุดเขตชายแดนไทย และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางต่อไปยังเกาะกง
• การขุดพบ “พลอยแดง” หรือ “ทับทิมสยาม” ในเขตอำเภอบ่อไร่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ก่อกระแสการตื่นพลอย ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ามาแสวงโชคที่นี่ความเจริญทุกด้านมุ่งสู่บ่อไร่จนกลายเป็นเมืองใหญ่คู่กับตัวเมืองตราด พื้นที่ที่เคยเป็นป่าทึบกลายเป็นหลุมบ่อ เมื่อทรัพย์สินในดินเริ่มหมดไป ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ บ่อไร่กลายเป็นเมืองร้าง เหลือไว้เพียงอาคารร้านค้าซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ
จังหวัดตราด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ๓๑๕ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๒,๘๑๙ ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น ๕ อำเภอ กับ ๒ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ กิ่งอำเภอเกาะกูด และกิ่งอำเภอเกาะช้าง
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรี และราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีทิวเขาบรรทัดเป็นเส้นกั้นเขตแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรี มีแม่น้ำเวฬุเป็นเส้นกั้นเขตแดน
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางได้ ๓ สาย คือ
๑. บางนา-ตราด (เส้นทางหลวงหมายเลข ๓) ผ่านชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทางประมาณ ๓๘๕ กิโลเมตร
๒. บางนา-ชลบุรี-แกลง-จันทบุรี-ตราด (เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๔๔) ระยะทางประมาณ ๓๑๘ กิโลเมตร
๓. ทางหลวงพิเศษ (motor way) เริ่ม กิโลเมตรที่ ๐ ที่แยกถนนศรีนครินทร์ตัดถนนรามคำแหง และมาออกที่เส้นทางบ้านบึง-แกลง-จันทบุรี-ตราด
• รถโดยสารประจำทาง มีทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศออกจาก สถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท
รถโดยสารปรับอากาศ มีรถปรับอากาศ ชั้น ๑ (ปอ.๑) ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๕ ชั่วโมง
นอกจากนั้นยังมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๒๓๗, ๐ ๒๓๙๑ ๔๑๖๔ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๐๖๒, โชคอนุกูล ทัวร์ โทร. ๐ ๒๓๙๒ ๗๖๘๐ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๕๘๗ และ ศุภรัตน์ ทัวร์ บริการรถ V.I.P. โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๓๓๑ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๔๘๑
• รถโดยสารธรรมดา ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประชาสัมพันธ์สถานีขนส่งเอกมัย โทร. ๐ ๒๓๙๑ ๒๕๐๔, ๐ ๒๓๙๑ ๔๑๖๔
จาก สถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร ๒ มีบริการรถปรับอากาศชั้น ๑ ไปจังหวัดตราดทุกวัน (วิ่งเส้นมอเตอร์เวย์ ) สอบถามที่รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๕๓๗ ๘๐๕๕, ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒–๖
นอกจากนั้นยังมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท ศุภรัตน์ ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๓๓๘๘ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๔๘๑ บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๐๑๙๙ สาขาตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๐๖๒
• เครื่องบิน บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-ตราด (อยู่ในเขตอำเภอเขาสมิง) ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และอาทิตย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๒๖๕ ๕๕๕๕, ๐ ๒๒๖๕ ๕๖๗๘ สำนักงานตราด โทร. ๐ ๓๙๕๒ ๕๗๖๗-๘, ๐ ๓๙๕๒ ๕๒๙๙ www.bangkokair.com (มีบริการรถรับ-ส่งนักท่องเที่ยวจากสนามบินไปท่าเรือเฟอร์รี่ ที่จะข้ามไปเกาะช้าง)
• การเดินทางไปจังหวัดใกล้เคียง
ตราด-จันทบุรี จากหน้าตลาดในตัวเมืองมีรถโดยสารประจำทางวิ่งบริการไปจังหวัดจันทบุรีทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๕.๓๐ น. ออกทุกครึ่งชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที ค่าโดยสารประมาณ ๔๐ บาท
นอกจากนั้นยังมีรถแท็กซี่วิ่งไป-กลับจันทบุรี-ตราดทุกวัน โดยมีรถออกจากจันทบุรีบริเวณวงเวียนน้ำพุ และออกจากตราดข้างโรงแรมเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๗.๐๐ น. ใช้เวลาในเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมง ๒๐ นาที ค่าโดยสารคนละ ๖๐ บาท (๕-๖ คน/๑ คัน)
บ่อไร่-จันทบุรี เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. ออกทุกครึ่งชั่วโมง เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที ค่าโดยสาร ๕๐ บาท
บ่อไร่-แม่สอด จังหวัดตาก มีรถสองเที่ยว เวลา ๐๗.๓๐ และ ๐๘.๓๐ น. ใช้เวลาเดินทาง ๑๕ ชั่วโมง ค่าโดยสาร ๒๐๐ บาท
• การเดินทางภายในจังหวัด
ตราด-คลองใหญ่ (รถสองแถว) ระยะทาง ๗๕ กิโลเมตร รถออกจากหลังตลาดเทศบาล ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๘๐ บาท (จากคลองใหญ่ต่อรถไปบ้านหาดเล็ก ๒๐ บาท)
ตราด-บ้านหาดเล็ก (รถตู้) ระยะทาง ๙๐ กิโลเมตร รถออกจากหน้าโรงหนังสีตราดดราม่า ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๑๑๐ บาท
ตราด-แหลมงอบ (รถสองแถว) ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร รถออกจากตลาดสดเทศบาลเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๒๐ บาท
ตราด-แหลมศอก (รถสองแถว) ระยะทาง ๒๘ กิโลเมตร รถออกจากตลาดสดเทศบาลเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๓.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๓๕ บาท
ตราด-เขาสมิง-บ่อไร่ ระยะทาง ๕๓ กิโลเมตร รถออกบริเวณตลาดสดเทศบาลเมืองตราด ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๒.๐๐ น. ค่าโดยสาร ๕๐ บาท
ตราด-เขาสมิง-แสนตุ้ง-ท่าจอด ระยะทาง ๒๘ กิโลเมตร รถออกตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๑๗.๓๐ น. ค่าโดยสาร ๒๕ บาท
โดยทั่วไปการเดินทางจากตัวเมืองตราดไปอำเภอต่าง ๆ มีรถออกจากตัวเมือง โดยจะมีรถสองแถวจอดที่บริเวณหลังตลาดเทศบาล และข้างธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกวัน และหลังจากเวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. นักท่องเที่ยวจะต้องเช่าเหมา ราคาแล้วแต่จะตกลงกันตามความเหมาะสม
• ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอเขาสมิง ๑๖ กิโลเมตร
อำเภอแหลมงอบ ๑๗ กิโลเมตร
อำเภอบ่อไร่ ๕๙กิโลเมตร
อำเภอคลองใหญ่ ๗๔ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเกาะช้าง ๒๗ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเกาะกูด ๘๒ กิโลเมตร
• ระยะทางจากจังหวัดตราดไปจังหวัดใกล้เคียง
จันทบุรี ๗๐ กิโลเมตร
ระยอง ๑๗๙ กิโลเมตร
ชลบุรี ๒๓๔ กิโลเมตร หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
สำนักงานจังหวัดตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๒๘๒
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๙๘๖
สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๒๓๙
สถานีตำรวจภูธร อำเภอคลองใหญ่ โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๑๑๑๕
สถานีตำรวจภูธร อำเภอแหลมงอบ โทร. ๐ ๓๙๕๙ ๗๐๓๓
สถานีตำรวจภูธร กิ่งอำเภอเกาะช้าง โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๖๑๙๑, ๐ ๓๙๕๘ ๖๒๕๐
โรงพยาบาลตราด โทร. ๐ ๓๙๕๑ ๑๐๔๐-๑
โรงพยาบาลคลองใหญ่ โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๑๐๔๔
โรงพยาบาลแหลมงอบ โทร. ๐ ๓๙๕๙ ๗๐๔๐
โรงพยาบาลกรุงเทพฯ-ตราด โทร. ๐๓๙๕๓ ๒๗๓๕
โรงพยาบาลกิ่งอำเภอเกาะช้าง โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๖๑๓๐
เกาะช้างอินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก โทร. ๐ ๓๙๕๕ ๑๑๕๑-๒
ด่านตรวจคนเข้าเมืองแหลมงอบ โทร. ๐ ๓๙๕๙ ๗๒๖๑
ด่านตรวจคนเข้าเมืองคลองใหญ่ โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๘๑๐๘
จุดตรวจด่านชายแดนบ้านหาดเล็ก โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๘๐๘๔
สถานีตรวจอากาศ อำเภอคลองใหญ่ โทร. ๐ ๓๙๕๘ ๑๒๗๖
ข้อมูลรายละเอียดในเอกสารนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
ใช้บริการบริษัทนำเที่ยวที่มีใบอนุญาต ท่านจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย |
| แผนที่จังหวัดตราด | | แผนที่ตัวเมืองตราด | |
เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา
| |
เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา
เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา
| [/url] |
|