การแช่งน้ำ พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
จุดมุ่งหมายของการแต่งลิลิตโองการแช่งน้ำในครั้งแรก คงมิได้มุ่งหวังจะให้เป็นวรรณคดีที่ใช้อ่านกันทั่ว ๆ ไป แต่ต้องการจะให้เป็นลงโทษทางใจ ที่พราหมณ์ใช้อ่านในพระราชพิธีศรีสัจปานกาล (พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา[5] หรือน้ำพระพิพัทธสัจจา) ซึ่งเป็นพระราชพิธีสำคัญในสมัยโบราณ มีหลักฐานกล่าวไว้ชัดเจนในกฎมนเทียรบาลตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาว่า[6] “อนึ่ง ลูกขุนผู้ใดขาดถือน้ำพระพิพัท โทษถึงตาย ถ้าบอกป่วย คุ้ม[โทษ] ถ้าลูกขุนผู้ถือน้ำพิพัท ห้ามถือแหวนนากแหวนทองแลกินเข้ากินปลากินน้ำยาแลเข้ายาคูก่อนน้ำพระพิพัท ถ้ากินน้ำพระพิพัทจอกหนึ่ง แลยื่นให้แก่กันกิน กินแล้วมิได้ใส่ผม เหลือนั้นล้างเสีย โทษเท่านี้ในระวางกระบถ”[7]
ครั้นมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็ยังคงมีพระราชพิธีนี้สืบต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ตอนที่กล่าวถึงพระราชพิธีเดือนห้า ว่าด้วยพระราชพิธีศรีสัจปานกาล ว่า การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในกรุงเทพฯ นี้มีอยู่ห้าอย่าง คือ[8] ๑. ถือน้ำเมื่อแรกพระเจ้าแผ่นดินขึ้นเสวยราชสมบัติ ๒. ถือน้ำปรกติสำหรับข้าราชการ ปีละสองครั้ง คือ ในวันขึ้นสามค่ำ เดือนห้า กับวันขึ้นสิบสามค่ำ เดือนสิบ ๓. ถือน้ำสำหรับผู้ซึ่งมาแต่เมืองปัจจามิตรเข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภาร ๔. ถือน้ำทุกเดือนสำหรับทหารซึ่งเป็นผู้ถืออาวุธอยู่เสมอ ๕. ถือน้ำแรกเข้ารับตำแหน่งของผู้ซึ่งเป็นที่ปรึกษาราชการ การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาทั้งห้าอย่างนี้ จะต้องมีการอ่านคำสาบานตลอดทั่วหน้า ไม่ยกเว้น และคำสาบานแช่งน้ำนี้ก็ใช้ต่อ ๆ กันมาโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอันใด คงจะเนื่องมาจากเป็นโองการอันศักดิ์สิทธิ์ที่ถือปฏิบัติในการพระราชพิธี อีกทั้งเนื้อความในโองการแช่งน้ำนี้มีการกล่าวถึงพระนามสมเด็จพระรามาธิบดี ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นพระนามของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา จึงไม่น่าจะมีผู้คิดดัดแปลงแก้ไข ดังพระราชโองการของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อแรกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พ.ศ. ๒๓๙๔ ว่า “...(สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์) ได้กราบทูลพระกรุณาว่า คำแช่งน้ำพระพิพัฒน์ที่พราหมณ์อ่านนั้น ออกพระนามสมเด็จพระรามาธิบดีอยู่ แล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สั่งว่า อย่าให้เปลี่ยนเลย คงไว้ตามเดิม ด้วยคำแช่งนี้เป็นคำของเก่า สำหรับกรุงเทพฯ ให้ยืนอยู่ตามชื่อศรีอยุธยาที่อาลักษณ์อ่านนั้นเป็นของใหม่ ควรจะเปลี่ยนพระนามตามแผ่นดินปัจจุบัน...”
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ (เถลิงสงกรานต์) และพระราชพิธีศรีสัจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเข้าด้วยกัน เรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์ ซึ่งเริ่มจากวันที่ ๒๔ มีนาคม ถึงวันที่ ๓ เมษายน โดยถือเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ และพระองค์มี[10] พระราชวินิจฉัยให้แก้ไขดัดแปลงโองการแช่งน้ำหลายประการ การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยายกเลิกไปเมื่อหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชขึ้นครองราชย์ ก็มิได้มีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา คณะรัฐมนตรีเพียงแต่กล่าวคำปฏิญาณตนที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ รัฐบาลมีนโยบายฟื้นฟูพระราชพิธีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผนวกพระราชพิธีนี้ในพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีแก่ทหารตำรวจผู้ปราบปรามจลาจล ซึ่งจะกระทำทุกสองปีหรือสามปี ส่วนโองการแช่งน้ำที่ใช้ในปัจจุบัน สำนักพระราชวังได้ตัดทอนและดัดแปลงแก้ไขจากของเดิมให้เนื้อความเหมาะสมกับสมัยปัจจุบันยิ่งขึ้น การตรวจสอบชำระวรรณคดีลิลิตโองการแช่งน้ำในครั้งนี้ ต้นฉบับที่นำมาตรวจสอบ เป็นสมุดไทย อักษรไทย จำนวนแปดฉบับ ซึ่งทั้งหมดนี้เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ พิจารณาตามลักษณะตัวอักษรและทะเบียนประวัติสมุดไทยเหล่านี้แล้ว ปรากฏว่า ทั้งหมดเป็นฉบับที่คัดลอกในสมัยรัตนโกสินทร์ เนื้อความถ้อยคำไม่มีที่แตกต่างกันเท่าใดนัก นอกจากอักขรวิธีปลีกย่อยตามความนิยมของอาลักษณ์แต่ละคน ถ้อยคำหรือเนื้อความตอนใดที่แตกต่างกัน ก็ได้พิจารณาตามหลักภาษาไทย และค้นหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีประกอบ แล้วจึงเลือกใช้คำที่น่าเชื่อได้ว่าเป็นคำที่ถูกต้องมาแต่เดิม ถ้อยคำหรือเนื้อความที่ต่างไปจากต้นฉบับที่ใช้ในการตรวจสอบครั้งนี้ จะคงมีเชิงอรรถไว้ และพยายามรักษาอักขรวิธีให้ใกล้เคียงของเดิมในสมุดไทยมากที่สุด คำใดที่ลักลั่นกันหรือแน่ใจว่าเป็นความผิดพลาดเนื่องมาจากการคัดลอก ก็ได้แก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง เช่น คำว่า เจ็ต-เจ็ด กัน-กัลป์ นอกจากนี้ คำที่ใช้อักษร ฃ และ ฅ ได้เปลี่ยนเป็น ข และ ค ทั้งหมด
ตัวอย่างการประพันธ์นะคะ
ผู้ใดเภทจงคด | | พาจกจากซึ่งหน้า | ถือขันสรดใบพลูตานเสียด | | หว้ายชั้นฟ้าคู่แมน |
๑๘ มารเฟียดไททศพลช่วยดู | | ไตรแดนจักอยู่ค้อย[18] | ธรรมมารคปรตเยกช่วยดู | | ห้าร้อยเฑียรแมนเดียว |
๑๙ อเนกถ่องพระสงฆ์ช่วยดู | | เขียวจรรยายิ่งได้ | ขุนหงส์ทองเกล้าสี่ช่วยดู | | ชรอ่ำฟ้าใต้แผ่นหงาย |
๒๐ ฟ้าฟัดพรีใจยังช่วยดู | | ใจตายตนบใกล้ | สี่ปวงผีหาวแห่งช่วยดู | | พื้นใต้ชื่อกามภูมิ |
๒๑ ฟ้าชรแร่งหกคลองช่วยดู | | ครูมคลองแผ่นช้างเผือก | ผีกลางหาวหารแอ่นช่วยดู | | เสียงเงือกงูวางขึ้นลง |
๒๒ ฟ้ากระแฉ่นเรือนผยองช่วยดู | | เอาธงเป็นหมอกหว้าย[19] | เจ้าผาดำสามเส้าช่วยดู | | แสนผีพึงยอมท้าว |
๒๓ เจ้าผาดำผาเผือกช่วยดู | | หันเหย้าวปู่สมิงพราย | เจ้าผาหลวงผากลายช่วยดู | | |
๒๔ ดีร้ายบอกคนจำ | | ผีพรายผีชรหมื่นดำช่วยดู | กำรูคลื่นเป็นเปลว[20] | | บซื่อน้ำตัดคอ |
๒๕ ตัดคอเร็วให้ขาด | | บซื่อมล้างออเอาใส่เล้า | บซื่อน้ำหยาดท้องเป็นรุ้ง | | บซื่อแร้งกาเต้าแตกตา |
๒๖ เจาะเพาะพุงใบแบ่ง | | บซื่อหมาหมีเสือเข่นเขี้ยว | เขี้ยวชาชแวงยายี | | ยมราชเกี้ยวตาตาวช่วยดู |
๒๗ ชื่อทุณพีตัวโตรด | | ลมฝนฉาวทั่วฟ้าช่วยดู | ฟ้าจรโลดลิวขวาน | | ขุนกล้าแกล้วขี่ยูงช่วยดู |
๒๘ เคล้าฟ้าเคลือกเปลวลาม | | สิบหน้าเจ้าอสูรช่วยดู | พระรามพระลักษณชวักอร | | แผนทูลเขาเงือกปล้ำช่วยดู |
เป็นต้น..........................................
|