เมือง อเล็คแซนเดรีย (Alexandria) ประเทศ อียิปต์
นอกชายฝั่งของ Alexandria, เมืองอเล็กซานเด Great, ตั้งอยู่ในสิ่งที่เชื่อว่าเป็นสถานที่ปรักหักพังของที่ราชของคลีโอพัตรา
ทีมงานของนักโบราณคดีทางทะเลที่นำโดยฝรั่งเศส Franck Goddio ทำให้การขุดค้นที่เมืองโบราณนี้จากที่คลีโอพัตรา, ควีนสุดท้ายของ Ptolemies, ปกครองอียิปต์ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเมืองนี้ถูกน้ำท่วมจากการเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นน้ำขึ้นน้ำลงมากกว่า 1,600 ปีที่ผ่านมา
การขุดค้นเข้มข้นในเกาะใต้น้ำของ Antirhodus คลีโอพัตรา กล่าวจะมีพระราชวังมีการค้นพบอื่น ๆ รวมถึงการพบเรือแตกที่เก็บรักษาไว้อย่างดี
และแนวหินแกรนิตสีแดงที่มีจารึกภาษากรีก สองรูปปั้นนี้ได้พบและถูกยกออกจากท่าเรือ หนึ่งในนั้นคือเทพธิดา Isis ; อื่น ๆ ที่มีใบหน้าลึกลับ
มีการกล่าวถึงเป็นตัวแทนของคลีโอพัตราพ่อพระทอเลที่ XII
แต่สิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับกลับไปของพวกเขาเงียบเพราะรัฐบาลอียิปต์กล่าวว่าต้องการที่จะสร้างพิพิธภัณฑ์ใต้น้ำ
กว๊านพะเยา ประเทศไทย
เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อปลายปี 2549 ที่ผ่านมามีการสำรวจกว๊านพะเยาก็พบว่ามีวัดโบราณกว่า 20 แห่ง โดยมีวัดหลักคือวัดติโลกอาราม
จมอยู่ใต้น้ำในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยาก็มีแนวคิดการกกู้วัดทั้งหมดขึ้นมาเพื่อเปิดให้นักท่องเที่ยวทั่วไปเช่าเรือพายชมวัดเก่าโบราณดังกล่าว
พร้อมชมวิถีชีวิตประมงพื้นบ้านรอบกว๊าน ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ได้
มีวัดซี่งเก่าแก่ขนาด 500 ปีซี่งจมอยู่ใต้ทะเลสาปพระเยาที่จงใจสร้างขี้นเมื่อ 70 ปีก่อน และทางการกำลังจะทำการบูรณะขี้นมาใหม่
วัดติโลกอาราม ซึ่งจมอยู่กลางกว๊านพะเยามาเป็นเวลายาวนานกว่า 70 ปีครับ จากข้อความที่ปรากฏอยู่ในหลักศิลาจารึกที่ถูกค้นพบได้ในวัดร้างกลางกว๊านพะเยา ทำให้ทราบว่าวัดติโลกอารามมีอายุเก่าแก่กว่า 500 ปี ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองพะเยาอย่างมาก เพราะเป็นวัดที่เจ้าผู้ครองเมืองพะเยาได้สร้างถวายเพื่อเทิดพระเกียรติแก่พระเจ้าติโลกราชในฐานะที่ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรล้านนา
หลักฐานที่เคยพบและเกี่ยวข้องโดยตรงกับวัดติโลกอาราม คือ 'จารึกวัดติโลกอาราม' พบที่เนินสันธาตุในกว๊านพะเยา ใกล้กับท้ายหมู่บ้านร่องไฮ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2550 บริเวณเนินที่เป็นวิหารนี้จะปรากฏชัดเวลาน้ำแห้งในฤดูแล้ง เดิมชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่า 'วัดสี่แจ่ง' โดยเรียกตามลักษณะของพื้นที่ที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม บ้างก็เรียก 'วัดสันธาตุ' แต่ชื่อเรียกที่ปรากฏในจารึกคือวัดติโลกอาราม
ลักษณะของจารึกคล้ายใบเสมา ท่อนบนและท่อนล่างหักหายไป เป็นหินทรายสีเทา กว้าง 36 เซนติเมตร (ซม.) สูง 30 ซม. หนา 7 ซม. จารึกอักษรฝักขาม ภาษาไทย เลขธรรม มีการจารึกทั้งสองด้าน เนื้อความโดยย่อกล่าวถึง ความเป็นมาในการสร้างวัดติโลกอารามที่บริเวณหนองเต่า ในสมัยพระเจ้าติโลกราช
(กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ ราว พ.ศ.2019-2030) มีการผูกพัทธสีมาและบวชพระภิกษุจำนวน 5 รูป
พระเจ้าติโลกราชได้ถวายพระพุทธรูป 1 องค์ ที่ดิน (นาจังหัน) เงิน 10,000,000 เบี้ย และข้าวัด 5 ครอบครัว
(เสาหินทรายหกเหลี่ยมที่พบ 6 ต้น บริเวณโบราณสถานหมายเลย 2 สันนิษฐานว่าเป็นเสาเสมาของโบสถ์)
พื้นอิฐใต้น้ำ
การเข้าชมวัดติโลกอารามนี้ต้องนั่งเรือหางยาวไปกลางกว๊านพะเยาครับ ค่าบริการคนละ 20 บาท หมูหินว่ามันเป็นราคาที่ถูกมากสำหรับการได้เห็นโบราณสถานเก่าแก่ที่มีอายุราว 500 ปีครั้งหนึ่งในชีวิต ถูกยิ่งกว่าก๋วยเตี๋ยวชามหนึ่งเสียอีก เพราะฉนั้นอย่ารอช้ารีบ ๆ มาชมกันนะครับ หลังจากที่ซื้อบัตรเรียบร้อยแล้ว ก็มาลงเรือที่สำนักงานโครงการกู้วัดติโลกอาราม สำนักงานที่ว่านี้ก็คือศาลาไม้สักหลังใหญ่ที่ทำไว้เป็นท่าเรือเพื่อลงเรือไปชมวัดครับ ที่นี่ยังมีคุณตา คุณยายมานั่งเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานคอยให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย