ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
ดู: 347|ตอบกลับ: 1

อาวุธ เคมี-ชีวะ ในสงครามโลกครั้งที่ 1

[คัดลอกลิงก์]

นายกสโมสร

ตะเองอย่าหลอกให้เค้าฟันน่ะ!

กระทู้
1434
พลังน้ำใจ
135731
Zenny
1466034
ออนไลน์
9828 ชั่วโมง

สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับตรีเพชรสมาชิกระดับมงกุฎ

อาวุธ เคมี-ชีวะ นั้นจัดเป็นหนึ่งในอาวุธทำลายล้างสูง สามารถสร้างความเสียหายได้เป็นวงกว้าง โดยเรียกได้ว่าเทียบเท่าอาวุธนิวเคลียร์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่จะใช้  โดยความแตกต่างของระบบอาวุธ เคมี-ชีวะ กับระเบิดแรงสูงทั่วไปนั้นแตกต่างกันที่ อำนาจการทำลายต่ออาคาร พื้นที่ เช่น แรงอัด แรงกระแทก นั้นเอง  โดยอำนาจการทำลายของ อาวุธ เคมี-ชีวะ มุ่งเน้นสังหารผู้คน ไม่ว่าจะทหาร หรือ พลเรือน โดยการสัมผัส หายใจเข้าไป ในจำนวนมากๆในการใช้ครั้งเดียวเรียกได้ว่าเป็น มินินิวเคลียร์ หรือ นิวเคลียร์คนจน ทำให้ คณะมนตรีความมั่นคงของ สหประชาชาติ มุ่งเน้น ควบคุมหรือทำลายในการมีไว้ครอบครองของประเทศมหาอำนาจต่างๆจนถึงเฝ้าระวังการมีไว้ของผู้ก่อการร้าย
ความแตกต่างหลายๆอย่างที่ทำให้น่ากลัวกว่า อาวุธนิวเคลียร์คือ ขนาดที่เล็กกว่า ตรวจพบได้ยากและสามารถผลิตได้ง่าย สามารถพัฒนาได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีขั้นสูง แต่นำไปใช้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพสูงมาก มีการตกคา้งของเคมีที่นานและรักษาได้ยากแพร่กระจ่ายจากคนถึงคนได้ง่าย(ติดเชื้อ) สามารถปล่อยตามลม ตามน้ำได้
ทหารแคนาดาที่ถูกรมด้วยแก๊สมัสตาร์ดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เดิมทีนั้นอาวุธ เคมี-ชีวะ ถูกนำมาใช้แรกๆในสงครามโลกครั้งที่1 โดยฝ่ายเยอรมัน ในการมุ่งเน้นสังหารทหารฝ่ายตรงข้ามที่อยู่ตามสนามเพลาะ โดยการใช้ก๊าซคลอรีน ที่เมือง อีพร์ ประเทศ เบลเยี่ยม  เมื่อ พ.ศ.2458 ใช้ คลอรีนไปประมาณ6000 หลอด วันแรกการรุกที่ตั้งทหารฝรั่งเศส วันที่สองการรุกที่ตั้งทหารแคนาดา  สองวันที่ใช้นั้นทหารฝ่ายตรงข้ามตายไป 5000 คน บาดเจ็บไปอีกราวๆ 1 หมื่น   หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2459 ฝรั่งเศสเองก็พัฒนาอาวุธเคมี ขึ้นมาใช้บ้าง แต่หลักๆแล้วพัฒนาระบบส่งอาวุธเคมีถึงแนวหลัง โดยใช้กระสุนปืนใหญ่ แต่ก็นับว่ามีผลน้อยเนื่องจาก กระสุนปืนใหญ่พาสารเคมีไปได้น้อย แต่ก็นับว่าดีเพราะไม่ต้องพึ่งพา สภาพอากาศ
   
กลางเดือนตุลาคม พ.ศ.2561 อังกฤษโจมตีที่ตั้งทหารเยอรมันใน หมู่บ้านเวอร์ริค ในเบลเยี่ยมทำให้ทหารเยอรมันได้รับบาดเจ็บ รวมถึงทหารเยอรมันที่ชื่อ สิบโทอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ด้วย ทำให้เขามีการอาการบาดเจ็บคือแสบตา ตามัวมองไม่เห็น แผลไหม้  ซึ่ีงตรงนี้อาจจะเป็นไปได้ว่า ฮิตเลอร์ รู้จักความน่ากลัวถึงอาวุธเคมี-ชีวะ และขีดความสามารถในการทำสงครามอาวุธ เคมี ของ พันธมิตร ดีเขาจึงไม่กล้านำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่หลังจากนั้นก็ยังมีใช้ในอิรัก สงครามเวียดนาม อีก
ทหารอังกฤษโดนอาวุธเคมีครั้งสงครามโลกครั้้งที่ 1
ประเภทสารเคมีหลักๆที่ใช้ในทางทหาร
1.สารสำลัก  กล่าวโดยรวมๆเป็นสารเคมีทางการเกษตร  เป็นของเหลวสีข้น แต่มักไม่มีความคงทนในระยะเวลานาน ระเหยง่าย สารกลุ่มที่สำคัญ คลอรีน ฟอสจีน ไดฟอสจี  คลอโรพิครีน และ เอธิลไดคลอโรอาซีน  จัดเป็นสารเคมี แรกรเิ่มที่นำมาใช้ในสงครามโลกครั้งแีรก โดยยังเป็นที่นิยมของผู้ก่อการร้าย ในการใช้ทำลาย สังหารผู้คน ส่งผลอย่างมากได้รับบาดเจ็บสาหัส อาจจะถึงตายหากไม่ได้ีรับการรักษา โดยขึ้นอยู่กับการผสมเคมี ซึ่งหาได้ง่ายเพราะเป็นเคมีอุตสาหกรรม
ผลที่เกิดจากการรับได้รับ สารสำลัก
มีอาการไอ ปวดหัว  อาเจียน เกิดอาการเจ็บหน้าอก  ไอรุนแรง สำลักและตายในที่สุดในระยะ 2-6 ช.ม.
2.สารโลหิต  เรียกได้อีกอย่างว่า ไซยาไนต์ มีพิษร้ายแรงมาก โดยมีการใช้ในจำนวนมากในโลหะกรรม ชุบเคลือบ หากเป็นสารที่ใช้ในการทหารจะมีลักษณะเป็นของเหลวระเหยง่าย ไอเบากว่าอากาศ หากสูดดมเข้าร่างกายจะแพร่ได้รวดเร็ว ร่างกายไม่สามารถรับอ๊อกซิเจนได้จนร่างการขาดอากาศจนตาย  โดยสารที่นำมาใช้เป็นอาวุธเคมี เรียกว่า  ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ( เอซี) ไซยาโนเจนคลอไรด์ ( ซีเค)เป็นของเหลว ซึ่งมีข้อเสียคือระเหยเร็ว ทางทหารจึงไม่นิยมใช้ในการสังหารเป้าหมายจำนวนมาก เน้นเป้าหมายบุคคล
ผลที่ได้รับ สารโลหิต
มีความรู้สึกร้อนไปทั่วตัว ไม่มีแรง คลื่นไส้ ปวดหัวมึนงง หายใจติดขัด หมดสติและชัก จนตายในที่สุด ซึ่งมาจากการขาดอ๊อกซิเจน
และนี่คือตัวอย่างของการใช้อาวุธเคมี-ชีวภาพ ในการทำลายร้างสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1  ปัจจุบันถึงแม้จะมีสนธิสัญญาการห้ามใช้อาวุธเคมีก็จริง แต่ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา รัสเซีย เกาหลีเหนือ และอีกหลายประเทศ ต่างก็รู้กันดีว่ามีอาวุธเคมีมหาศาลสะสมอยู่  ก็ไม่รู้ว่ามันจะกลับมาอีกในอนาคตอันใกล้นี้หรือเปล่า ก็นำมาฝากให้ได้คิดกันครับ...

คะแนน

จำนวนผู้เข้าร่วม 1พลังน้ำใจ +3 Zenny +16 ย่อ เหตุผล
speed + 3 + 16 ขอบคุณครับ

ดูบันทึกคะแนน

มหาลัยซีเนียร์

กระทู้
1
พลังน้ำใจ
2846
Zenny
13063
ออนไลน์
238 ชั่วโมง
โพสต์ 2013-4-17 01:36:41 | ดูโพสต์ทั้งหมด
อาวุธชีวภาพเคมีอะไรเงี่ยน่ากลัว
เพราะมันมีผลต่อรางกายเยอะที่สุด
ขอบคุณมากนะครับ

แสดงความคิดเห็น

น่ากลัวมากเลยครับถ้าสงคราเกาหลีเกิดขึ้นเป็นไงเนี่ย  โพสต์ 2013-4-17 21:49

คะแนน

จำนวนผู้เข้าร่วม 1พลังน้ำใจ +18 Zenny +102 ย่อ เหตุผล
nokky + 18 + 102 ขอบคุณครับ

ดูบันทึกคะแนน

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม

ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2025-1-23 06:58 , Processed in 0.120543 second(s), 31 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้