ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
ดู: 365|ตอบกลับ: 0

เถ้าแก่เอสเอ็มอีงัดสารพัดทีเด็ด สู้ค่าแรง300บาทดิ้นรนหนีตาย

[คัดลอกลิงก์]

นิสิตสัมพันธ์

กระทู้
261
พลังน้ำใจ
21430
Zenny
24868
ออนไลน์
3649 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับตรีเพชร

                                                                                                                                                                                                    เถ้าแก่เอสเอ็มอีงัดสารพัดทีเด็ด สู้ค่าแรง300บาทดิ้นรนหนีตาย                                                                                
                                                
                                                                                                                            
                                                                              
          
                                                                                                                                                                            
            
     
          
   
                        
หลังจากรัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศเท่ากันทั้งหมดได้สร้างความปั่นป่วนแก่บรรดาเถ้าแก่ตามโรงงานภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก เนื่องจากเป็นการปรับขึ้นในอัตราที่ก้าวกระโดดในลักษณะที่สูงสุดของโลก
เมื่อนโยบายดังกล่าวมีผลบังคับใช้  3 เดือน ’ทีมข่าวเศรษฐกิจเดลินิวส์“  ได้สอบถามผลกระทบผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และวิธีรับมือกับต้นทุนที่พุ่งกระฉูดอย่างไร
ภาคเหนือขาดสภาพคล่อง
เริ่มจาก “ภาคเหนือ” ที่พบว่าธุรกิจเอสเอ็มอีจะได้รับผลกระทบเรื่องของค่าจ้าง 300 บาทต่อวันมากเป็นลำดับที่สองรองจากอีสาน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มแก้วและเซรามิก, เฟอร์นิเจอร์, อาหาร, เกษตรแปรรูป สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ที่ทยอยปิดกิจการบ้างในไตรมาสแรก แต่คงไม่มากนัก ทั้งหมดคงชัดเจนได้ในต้นปีหน้า
จากการสอบถาม “วีระยุทธ สุขวัฑตโก”  รองประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พบว่า เอสเอ็มอีภาคเหนือประสบปัญหาความเดือดร้อนจากค่าจ้างอย่างมาก แต่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องต่อสู้แม้ว่าจะเริ่มขาดแคลนสภาพคล่องมากขึ้น  ซึ่งในช่วง 3 เดือนแรกในการขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ผู้ประกอบการก็มีการประหยัดค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่ขวางหน้าทั้งต้นทุนการผลิต การประหยัดพลังงาน รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในทุกขั้นตอน
อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถหาเงินมาเสริมสภาพคล่องได้ ขั้นต่อไปโรงงานต่าง ๆ ก็คงมีการลดพนักงานลง 20-30%  หากยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะปิดตัวสูง
ภาคกลางรอโชคช่วย
ขณะที่ธุรกิจ“ภาคกลาง” ต้องบอกว่าผู้ประกอบการระดับไซซ์เอส อยู่ในอาการที่หนักหนาสาหัสเอามาก โดยเฉพาะกลุ่มรับจ้างการผลิต ที่มีต้นทุนด้านแรงงานเป็นหลัก ต้องมีีต้นทุนเพิ่มถึง 30%
“สิงห์ ตั้งเจริญชัยชนะ” ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคกลาง  ยอมรับว่าตอนนี้ผู้ประกอบการรายเล็กอยู่ในอาการใกล้โคม่าหากประคองตัวไม่ได้ก็คงต้องนับถอยหลังรอวันปิดกิจการอย่างเดียว ส่วนขนาดกลางตอนนี้เริ่มมีปัญหาขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และรายใหญ่ก็อยู่ในช่วงการประคองตัวเพื่อให้รอดพ้นจากช่วงนี้ไปก่อน
        เท่าที่มีการสอบถามสมาชิกในภาคกลางพบว่า เอสเอ็มอีต่างงัดกลยุทธ์ต่าง ๆ นานา ในการประคองธุรกิจให้อยู่รอด ในลักษณะดิ้นรนหนีตายกันเป็นแถว โดยเน้นประหยัดทุกอย่างและลดการผลิตสินค้าเพื่อให้ขาดทุนน้อยที่สุด หากรายใดอยู่ได้นานที่สุดเพื่อหาโอกาสใหม่และรอโชคช่วย ก็มีโอกาสที่จะอยู่รอดได้
ทั้งนี้เมื่อเอสเอ็มอีประคองกิจการในปีนี้ได้ต่อไปอาจมีปาฏิหาริย์อื่นมาช่วยชดเชยก็ได้ เช่น ค่าเงินบาทอาจจะอ่อนตัวลง, เศรษฐกิจดีขึ้น, ลูกค้าให้ปรับราคาสินค้าตามต้นทุนที่สูงขึ้น และวัตถุดิบอื่น ๆปรับตัวลดลง
ดังนั้นผู้ประกอบการจำนวนมากถือคติที่ว่าการทำธุรกิจนอกจากจะใช้ความสามารถการบริหารจัดการแล้ว ยังต้องอาศัยดวงดีเข้าช่วยด้วย จึงจะทำให้ผู้ประกอบการนั้น ๆ สามารถประสบความสำเร็จได้
รายใหญ่ไล่เทครายเล็ก
ส่วน “ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” นั้นเท่าที่มีการตรวจสอบพบว่าโรงงานที่เป็นกิจการของคนไทยแท้ ๆ และเป็นเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ค่อนข้างได้รับผลกระทบจากค่าแรง 300 บาทอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม ผู้รับเหมาก่อสร้าง อาหาร เครื่องใช้ และเกษตรแปรรูป เป็นต้น หากเป็นกิจการที่มาจากนายทุนต่างชาติหรือผู้ประกอบการคนไทยที่เป็นรายใหญ่คงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เช่น ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์,พลังงาน เพราะให้ค่าจ้างที่สูงอยู่แล้ว และที่สำคัญบริษัทกลุ่มดังกล่าวมีเงินทุนหมุนเวียนที่มาก แถมยังมีการใช้เทคโนโลยีที่สูงด้วยและได้อานิสงส์การลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23 และ 20%
        สุดท้ายก็เกิดปรากฏการณ์ปลาใหญ่กินปลาเล็กในหลาย ๆกิจการ ทั้งรับเหมาก่อสร้าง โรงสี ยานยนต์ที่มีความเข้มแข็ง เข้าไปทยอยเข้ามาเทคโอเวอร์รายเล็กกันแล้ว
“ธวัชชัย เฮงประเสริฐ” ประธานฯภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มองว่า  เอสเอ็มอีในภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากค่าจ้าง 300 บาทต่อวันมากที่สุด โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบยอมรับว่าหลายกิจการก็เริ่มมีการทยอยปิดไปบ้าง  แต่ในระยะนี้คงไม่เห็นความชัดเจนมากนัก เนื่องจากหลายรายไม่กล้าที่จะไปแจ้งต่อภาครัฐในการปิดกิจการเพราะต้องเสียเวลาทั้งเรื่องของการมีขั้นตอนในการตรวจสอบภาษีจากกรมสรรพากรย้อนหลังจนเกิดความวุ่นวายมาก
เมื่อมีการประเมินกันคร่าว ๆ คาดว่าหลังช่วงมิ.ย. นี้ก็คงจะเริ่มเห็นผลที่ชัดเจนขึ้นว่าธุรกิจเอสเอ็มอีในภาคอีสานมีแนวโน้มจะอยู่รอดหรือไม่ ซึ่งตอนนี้ทุกโรงงานต่างก็ต่อสู้กับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างเต็มที่รวมถึงเรื่องของปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าด้วย  อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานเข้มข้นและพอมีกำลังก็ทยอยในการย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านกันมากขึ้น ขณะที่บางรายไม่มีเงินพอก็มีการเจรจากับแรงงานในการขอจ่ายค่าจ้างเพียง 250 บาทต่อวันก่อนหากวันใดบริษัทประคองตัวอยู่รอดก็จะปรับค่าจ้าง 300 บาทต่อวันตามกฎหมาย ซึ่งก็มีลูกจ้างจำนวนไม่น้อยก็พร้อมที่จะช่วยเหลือนายจ้าง
สาเหตุหลัก ๆ นอกจากจะเห็นใจนายจ้างแล้ว แรงงานก็คงไม่อยากย้ายไปทำงานที่อื่นเพราะจะมีค่าครองชีพที่สูง จึงจำเป็นต้องอยู่ร่วมหัวจมท้ายกับผู้ประกอบการ เพราะหากโรงงานปิดแรงงานก็ลำบากเช่นกัน
ขายทองเพิ่มสภาพคล่อง
ด้าน “ภาคตะวันออก” หากมองในภาพรวมคงไม่ได้รับผลกระทบจากค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทมากนัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมรายใหญ่ทั้งปิโตรเคมี, พลังงาน, รถยนต์และชิ้นส่วน, เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, เหล็ก  เป็นต้น ที่สำคัญผู้ประกอบการที่อยู่ในละแวกนี้ส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้นกลุ่มต่างชาติไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น, จีน, อินเดีย, อเมริกา, ยุโรป และผู้ประกอบการระดับบิ๊ก ๆ ของคนไทยอยู่กันจำนวนมาก ซึ่งให้ค่าจ้างที่เกิน 300 บาทต่อวันอยู่แล้ว
“เอกพร โฆษะครรชิต”  ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก มองว่าแม้อุตสาหกรรมภาพรวมไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากค่าแรง 300 บาทต่อวันมากนัก แต่ยอมรับว่าในภาคตะวันออกก็ยังมีกิจการเอสเอ็มอีที่เป็นคนไทยอีกจำนวนมากทั้งกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม ผู้ผลิตชิ้นส่วน และวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ ซึ่งตอนนี้ทุกรายกำลังต่อสู้กับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
โดยบางรายจำเป็นต้องมีการนำทรัพย์สินที่มีอยู่ในครอบครัว เช่น ทองคำ โฉนดที่ดิน บ้าน อาคาร ไปขาย หรือจำนำและจำนอง เพื่อนำเงินมาเสริมสภาพคล่อง เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้คือเอสเอ็มอีเริ่มขาดแคลนสภาพคล่องหากหาได้ก็จะช่วยประคองธุรกิจให้อยู่รอดได้ แต่หากไม่มีรับรองว่าธุรกิจมีสิทธิถึงเจ๊งแน่นอน ดังนั้นสิ่งที่เอสเอ็มอีในภาคตะวันออกต้องการให้รัฐบาลช่วยคงหนีไม่พ้นเรื่องของการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้ง่ายขึ้น เพราะหากไม่มีหลักทรัพย์มาค้ำสถาบันการเงินก็คงไม่ปล่อยกู้ให้ เนื่องจากสถาบันการเงินก็ต้องรอบคอบในการปล่อยกู้เช่นกัน
ดิ้นหนีตายไม่ยอมเจ๊ง
สุดท้ายธุรกิจใน “ภาคใต้” ที่พบว่าในไตรมาสแรกของปี เอสเอ็มอีส่วนใหญ่ยังสู้ได้อยู่เนื่องจากผู้ประกอบการคงไม่ยอมให้เกิดการปิดกิจการง่าย ๆ เพราะโรงงานบางแห่งก็ทำมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่ คุณย่า และตกทอดมาหลายรุ่นแล้ว ดังนั้นทุกรายจึงดิ้นรนหนีตายโดยไม่มีรายใดที่ยอมให้กิจการมาล้มในรุ่นของตนเอง
ทั้งนี้ในเบื้องต้น “สุทิน พรชัยสุรีย์” ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ มองว่า แม้ว่าตอนนี้หลายโรงงานยังสามารถบริหารจัดการด้านต้นทุนได้อยู่และยังสามารถประคองกิจการไม่ให้ล้มลง แต่พบว่าหลายโรงงานเริ่มประสบปัญหาในการขาดแคลนสภาพคล่องแล้ว เพราะว่าค่าแรงที่เพิ่มขึ้นทำให้นายจ้างมีต้นทุนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5-10%  ซึ่งเงินกำไรในปีก่อน ๆ ที่เก็บไว้ก็จะมีการนำมาจ่ายค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นหมดแล้ว
ดังนั้นเอสเอ็มอีในภาคใต้มองว่าหากรัฐบาลไม่ช่วยเหลือเรื่องของการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ก็จะยิ่งทำให้กิจการเริ่มมีปัญหาเร็วขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการมองว่ารัฐบาลมีการโฆษณาว่าจะช่วยเรื่องของเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำจำนวนมหาศาล เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ได้รับจากผลกระทบค่าแรง
สุดท้ายเมื่อเอาเข้าจริง  กลับไม่เป็นอย่างที่โฆษณา เพราะเอสเอ็มอีที่เริ่มมีปัญหาจากนโยบายค่าแรงกลับไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินได้มากนัก เนื่องจากมีปัญหาเรื่องหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือไม่ก็สถาบันการเงินเข้มงวดในการพิจารณาเหมือนเดิม ซึ่งผู้ที่ได้รับเงินกู้ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ก็เป็นลูกค้าของธนาคารอยู่แล้วและที่สำคัญหลายรายก็ไม่ได้รับความเดือดร้อนมากนัก
อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าโรงงานอุตสาหกรรมภาคใต้อาจจะประสบปัญหาเรื่องของ 300 บาทต่อวันน้อยกว่าภาคเหนือ ภาคอีสาน ที่มีโรงงานเซรามิกและเครื่องนุ่งห่มจำนวนมาก  เพราะหลายกิจการยังมีความโชคดีในตัว เช่น ไม้ยางแปรรูป หรือเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ไม้ยางแปรรูปได้รับอานิสงส์จากราคายางพาราถูกจากเดิมที่เคยอยู่ระดับ 180 บาทต่อ กก. มาอยู่ในระดับ 70-80 บาทต่อ กก. ซึ่งส่งผลให้ราคาไม้ยางพาราปรับตัวลดลงตามด้วย ซึ่งจะช่วยชดเชยค่าแรงที่เพิ่มขึ้นได้ระดับหนึ่ง
รอความชัดเจนอีก 3 เดือน
ดังนั้นเมื่อพิจารณาในรายละเอียดของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากค่าจ้าง 300 บาทต่อวันทั่วประเทศพบว่ารายใหญ่ไม่ค่อยประสบปัญหามากนักเพราะมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอที่จะประคองธุรกิจให้อยู่รอด และที่สำคัญรายใหญ่ก็มีกำลังเงินเพียงพอที่จะซื้อเครื่องจักรมาทดแทนแรงงาน
       
        ต่างจากธุรกิจเอสเอ็มอีส่วนใหญ่จะประสบปัญหาเรื่องของสภาพคล่อง เพราะผู้ประกอบการจะต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องค่าจ้างเพิ่มเฉลี่ย 2,000 บาทต่อเดือนต่อแรงงาน 1 คน หากมีแรงงาน 100 คนต้นทุนก็เพิ่มขึ้น 200,000 บาทต่อเดือน ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่เยอะพอสมควร
ทั้งนี้ในภาพรวมผลกระทบในช่วง 3 เดือนของการขึ้นค่าจ้างโรงงานส่วนใหญ่ยังไม่มีการปิดกิจการ แต่ทั้งหมดต้องรออีก  3 เดือน หรือไม่ก็สิ้นปี 56 ก็จะเห็นสัญญาณที่ชัดเจนขึ้น หากธุรกิจยังประคองได้ก็น่าจะเอาตัวรอดจากวิกฤติครั้งนี้ไปได้
ลูกจ้างถูกกดดันแห่ลาออก
อย่างไรก็ตามหากหันมาดูฝั่งของลูกจ้างกันบ้างแน่นอนว่าจำนวนมากคงจะแฮปปี้กับรายได้ที่เพิ่มขึ้น จนหลายรายมีเงินเก็บ เงินเที่ยว และเงินชอปปิงอย่างสบายใจ ขณะที่หลายรายก็ต้องประสบปัญหาความตึงเครียดกับชีวิตการทำงานมากกว่าเดิม เนื่องจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดนั้นบรรดาเถ้าแก่ก็คงไม่ยอมเสียเปรียบแน่ ดังนั้นเงินที่จ่ายไปแล้วนายจ้างก็ต้องนั่งจับเครื่องคิดเลขมาบวก ลบ คูณ หารทุกวันเพื่อให้เงินที่จ่ายไปเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด โดยเฉพาะการเร่งรัดพัฒนาศักยภาพของแรงงาน รวมถึงเพิ่มความกดดันการทำงานมากขึ้น และการลดสวัสดิการอื่น ๆ ที่เคยให้
       
        ดังนั้นก็ไม่แปลกผลสำรวจพบว่าช่วงนี้มีอัตราการย้ายเข้า และการย้ายออกของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเฉลี่ยที่ 20.33% ของปริมาณแรงงานทั้งหมด โดยมีเหตุผลหลัก ๆ มาจากการกดดันของนายจ้าง, การไปอยู่ในที่สบายใจและต้องการรับรายได้ที่สูงกว่า
คงต้องรอลุ้นกันอีก 3-6 เดือนว่าเอสเอ็มอีไทยจะฮึดสู้ได้หรือไม่ หากเอาตัวรอดได้ถือว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของผู้ประกอบการที่จะฝ่าฟันวิกฤตินี้ไปได้ก่อนที่จะรับมือกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 58 กันอีกรอบ.
มนัส แวววันจิตร

เครดิต  http://www.dailynews.co.th/businesss/197715



ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม

ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2025-1-23 07:09 , Processed in 0.082749 second(s), 26 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้