ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
ดู: 421|ตอบกลับ: 1

นักวิจัยไทยไทยคว้ารางวัลระดับโลก

[คัดลอกลิงก์]

นิสิตสัมพันธ์

กระทู้
261
พลังน้ำใจ
21430
Zenny
24868
ออนไลน์
3649 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลินสมาชิกระดับมรกตสมาชิกระดับเพชรสมาชิกระดับเพชรบริหารสมาชิกระดับเพชรคู่สมาชิกระดับตรีเพชร

                                                                                                                                                                                                    นักวิจัยไทยไทยคว้ารางวัลระดับโลก                                                                                
                                                
                                                                                                               
          
               
     นักประดิษฐ์ไทยยกคณะนับสิบโชว์ผลงานวิจัยในงานแสดงระดับอินเตอร์ ที่สวิส  กวาดรางวัลระดับซูเปอร์โกลด์  ทั้งเหรียญทอง และรางวัลเกียรติยศ ถึง 3 ผลงาน เหรียญทองอีก 11   
     
วันนี้ ( 19 เม.ย.) ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแหงชาติ แถลงว่า ได้นำนักประดิษฐ์และผลงานร่วมแสดงในงาน นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ เจนีวาครั้งที่ 41 หรือ 41 st  International Exibition of Inventions Geneva  ที่จัดขึ้นร ะหว่างวันที่ 10 - 14 เมย.ที่กรุงเจนีวา ประเทศสมาพันธ์รัฐสวิส โดยมีนักประดิษฐ์จากภาครัฐ เอกชน และสภาบันการศึกษาทั่วโลกร่วประกวด มากกว่า 1,000 ชิ้น โดยผลงานของนักประดิษฐ์จากไทย จาก 14 หน่วยงาน 37ผลงาน ที่ส่งเข้าประกวด ใน 11 กลุ่ม ได้รางวัล เหรียญทองเกียรติยศ  3 ผลงาน  รางวัลเหรียญทอง 11 ผลงาน เหรียญเงิน 12 ผลงาน เหรียญทองแดง 9 ผลงาน และยังได้รางวัล สเปเชียล ไพรซ์ จากประเทศต่างๆ เช่น ไต้หวัน 4 ผลงาน สาธารณรัฐเกาหลี 3 ผลงาน สาธารณ รัฐอิสลามอิหร่าน 3 ผลงาน ประเทศมาเลเซีย 1 ผลงาน และ  2 รางวัลจาก สถาบันนักประดิษฐ์นานาชาติ
รางวัลเหรียญทองเกียติยศ  3 ผลงาน ได้แก่ 1อุปกรณ์ช่วยพ่นยาชนิดทำได้ด้วยตนเอง ของ รศ.พญ.อรวรรณ โพชนุกูล และ นายปริญญา จันทร์หุณีย์  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) 2.หุ่นยนต์เสริมการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กออทิสติกส์ ของ ผศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ และ น.ส.อรวรรณ คำดี  ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ซึ่งได้รางวัล สเปเชียล ไพรซ์ จากไต้หวัน อีกด้วย 3. ลูกหมุนระบายอากาศผลิตกระแสไฟฟ้าและมอเตอร์ ของนายระพี บุญบุตร และดร.เอกกมล บุญยะผลานันท์ หจก.อาทิตย์ เวนติเลเตอร์  ซึ่งได้รางวัลพิเศษ สเปเชียลไพรซ์ จากประเทศสาธารณรัฐเกาหลี อีกด้วย
ส่วนรางวัลเหรียญทอง  11 ผลงาน ได้แก่ 1. การใช้ประโยชน์จากไมโครเวฟในการกักเก็บสารสำคัญจากพืช ด้วยเบต้าไซโคลเด็กซ์ตริน ของ ผศ.ดร.พิษณุ ตุ้จินดา และรศ.ดร.ลักขณา หล่อตระกูล  แห่งสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และได้รางวัลพิเศษสเปเชียลไพรซ์ จากประเทศมาเลเซีย 2.ข้าววรางกูร ของ นพ.สิทธิพร บุณยนิตย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นการผลิตวัสดุซับเลือดจากการผ่าตัด้วยข้าวเจ้า 3.ชุดทดสอบ ซาลโมเนลล่า ดีเอ็นเอ เทสต์คิด  ของ รศ.ดร.โกสุม จันทร์ศิริ และคณะจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 4.การพัฒนมระบบรักษาสภาพน้ไยางไร้แอมโมเนียสำหรับผลิตภัณฑ์จากจุกนมยาง ของ ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ จากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 5.การพัฒนาระบบจัดการน้ำยางสกิมและของเสียจากกระบวนการผลิตน้ำยางข้น ของดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ จากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ  
6.ฝาจุกสำหรับภาชนะบรรจุของเหลว ช่วยป้องกันการสำลักระหว่างริน ของ ดร.พัชรี ลาภสุริยกุล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 7.เอนไซม์ฟอกเยื่อกระดาษจากแบคทีเรียในลำไส้ปลวก ของ ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชือ จากห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. 8.อุปกรณ์ช่วยผ่าตัดโรคพังผืดกดรัดสเนประสาทข้อมือ ของ ผศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 9.เครืองเจียระไน รูใน ของนายบุญทัน พุฒลา จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 10.โทรศัพท์สำหรับผู้พิการทางการได้ยินของนายพิเชษฐ์ พานเที่ยง และคณะจากส ถาบันนวัตกรรม บริษัททีโอทีจำกัด(มหาชน) 11.เครื่องกำจัดการสะสมตะกอนน้ำมันดิบ ปตท. ของ ดร.วิชาพันธ์ วีระภาคย์การุณ  จากสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท.บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)
        ศ.นพ.สุทธิพร กล่าวว่า ในการต่อยอด นำงานวิจัยไปใช้เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์กับผู้ประกอบการเอกชนนั้น ขณะนี้หน่วยงานสนับสนุนทางการวิจัยกำลังกำหนดหลักการเพื่อให้นำไปใช้ได้ โดยเฉพาะงานที่มีสิทธิบัตร  จะเปิดให้มาเจรจาและเอื้อให้เอกชนนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) สามารถมาขอดูผลงานวิจัยเพื่อนำไปใช้ได้ โดยเข้าไปดูข้อมูลโดยย่อมได้ที่http://thai-explore.net/

เครดิต http://www.dailynews.co.th/technology/198510



 นักศึกษาภาคพิเศษ (M.D.A)
ปริญญากิตติมศักดิ์
โพสต์ 2013-4-20 22:25:32 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม

ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-11-24 16:40 , Processed in 0.091835 second(s), 26 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้