"บุก” พืชป่าล้มลุกที่พบทั่วไปในทุกภาคของ ประเทศไทย แม้จะเกิดขึ้นได้ในทุกสภาพดิน แต่บุกจะเจริญเติบโตได้ดีและให้หัวขนาดใหญ่ในดินที่ร่วนซุย น้ำไม่ขังและดินที่มีอินทรียวัตถุสูง ...
ทั่วโลกมีบุกมากกว่า 45-50 ชนิด แต่ที่นำมาใช้จริง ๆ มีเพียงไม่กี่ชนิด กระนั้น ปริมาณความต้องการบุกก็มีสูงถึง 12,000 ตันต่อปี ขณะที่ประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก ผลิตได้เพียง 5,000 ตันต่อปีเท่านั้น อย่างไรก็ดี ผลผลิตบุกที่ได้ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90-95 ถูกส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะช่วยนำเข้าเงินตราต่างประเทศนับพันล้านบาทแล้ว ยังมีส่วนสำคัญที่ช่วยลดการนำเข้าสินค้าประเภทเส้นใยจากต่างประเทศอีกเป็นจำนวนมาก
คุณสมบัติของบุก นั้นมีสารสำคัญที่เรียกว่า “กลูโคแมนแนน” ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นน้ำตาล “กลูโคส” และ “แมนโนส” เมื่อสกัดแยกออกมาจะได้เป็น “ผงแห้ง” หากนำผงแห้งที่ว่านี้ไปละลายน้ำจะได้ “วุ้นใยอาหารธรรมชาติ” หรือที่รู้จักกันในนาม “วุ้นบุก” ซึ่งสามารถพองตัวและดูดน้ำได้มากถึง 200 เท่าที่อุณหภูมิปกติและเพราะวุ้นบุกให้พลังงานต่ำ หรือไม่ให้พลังงานหากเป็นสารสกัดที่บริสุทธิ์ จึงเหมาะสำหรับเป็นอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยบางประเภท
วุ้นบุกยังมีคุณสมบัติที่คงทนต่อ น้ำย่อยในกระเพาะ จึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มมีอาการของโรคกระเพาะ ซึ่งมักจะเกิดปัญหาเมื่อรับประทานอาหารผิดเวลา อีกทั้งหากรับประทานวุ้นบุกก่อนเวลาอาหารปกติประมาณครึ่งชั่วโมง การพองตัวของมันจะช่วยให้การรับประทานอาหารได้น้อยลง แต่อิ่มได้นาน ขึ้น จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นอาหารสำหรับ ลดความอ้วนนอกจากนี้ วุ้นบุกยังช่วยดูดซับไขมันและ น้ำตาลส่วนเกินจากอาหาร ควบคู่ไปกับเคลือบผนังกระเพาะหรือลำไส้ ลดการดูดซับไขมันและน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันสูง เบาหวาน น้ำตาลและไขมันในเลือดสูง เมื่อรับประทานพร้อมดื่มน้ำตาม 1-2 แก้ว ยังช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น เพราะเมือกวุ้นจะเข้าไปห่อหุ้มกากอาหาร ทำให้เกิดการขับถ่ายของเสีย หรือสารพิษที่ตกค้างในระบบทางเดินอาหารออกจากร่างกายได้ดีขึ้นนอกจากประโยชน์ข้างต้นแล้ว
บุกยังจัดเป็นไม้ประดับที่สวยงาม โดยนักจัดสวนมักนิยมนำมาประดับตามใต้ร่มเงาของไม้ยืนต้นหรือนำมาลงกระถางเป็นไม้ประดับโดยเฉพาะบุกชนิดที่มีหัวเล็ก ใบกว้าง และมีจุดแบบไข่ปลาด้านบน ซึ่งนักนิยมว่านมักเรียกบุกชนิดนี้ว่า “บุกเงินบุกทอง” เพราะมีทั้งต้น สีเขียวและสีแดง ดังนั้นหากเกษตรกรจะหันมาปลูกบุกชนิดนี้ สำหรับขายให้นักนิยมว่าน หรือพวกที่ชอบตกแต่งสวนก็อาจสร้างรายได้ให้อย่างน่าพอใจ อย่างไรก็ดี เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรจะหันมาศึกษาเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มกับตัวบุกให้มากขึ้น โดยเฉพาะการนำไปแปรรูปในอุตสาหกรรมอาหาร ยา และอาหารเสริมสุขภาพ เพื่อการจำหน่ายในประเทศและ ส่งออกไปขายต่างประเทศให้มากขึ้น เนื่องจากกระแสของโลกในปัจจุบันยังต้องการผลิตภัณฑ์ที่ได้จากบุกเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ...จึงอาจกล่าวได้ว่า ยุคนี้ถือเป็น “ยุคทอง” ของ “บุก” จากประเทศไทยเลยทีเดียว....
วันนี้ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะหันมาดูของดีในบ้านเรา หลายสิ่งหลายอย่างที่เราหลงทางไปนิยมชมชอบกับต่างชาติ ยังไม่สายเกินไปที่เราจะหันมาใช้ประโยชน์จาก "บุก" ที่ปลูกง่ายโตไว ทนทานต่อโรค มีประโยชน์หลากหลาย สามรถปลูกไว้เป็นพืชเศรษฐกิจที่จะทำรายได้ให้กับเรา
|