วิธีคิดภาษีรถยนต์นำเข้า
ไปเจอมาเลยนำมาฝากครับ ไม่ทราบว่าถูกต้องทั้งหมดหรืออย่างไร ลองอ่านดูครับ
วิธีคิดตามนี้ครับ
1. ราคา CIF (ราคาสินค้า + ค่าขนส่ง +ค่าประกันภัย )
2. ภาษีอากรขาเข้า 80% ของ ราคา CIF
3. ภาษีสรรพสามิตร = ( C.I.F. + อากรขาเข้า + ภาษีค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม ) x อัตราภาษี / 1 - ( 1.1 x อัตราภาษี )
* อัตราภาษี 2500 cc-3000cc = 40% , >3000cc = 50%
4. ภาษีกระทรวงมหาดไท = 10% ของภาษีสรรพสามิตร
5. VAT 7% ของ ราคา CIF + ภาษีอากรขาเข้า + ภาษีสรรพสามิตร + ภาษีกระทรวงมหาดไท
* รถเก่า ก็จะมี % ลดหย่อนลงไป โดยหักจากราคาขายตอนเป็นรถใหม่ ( > 10 ปีประเมินตามสภาพ, 9ปี10เดือน - 10 ปี ลด 70%)
แต่รถเก่า จะนำเข้ามาได้ต้องเป็นเจ้าของมาก่อน 1 ปี 6 เดือน
ตัวอย่าง
ดังนั้นหาก รถราคา 4 แสน สมมุติบวกค่าส่ง 50,000 (อันนี้มั่วเอานะ)
1. ราคา CIF เป็น 450.000
2. อากรขาเข้า 80% = 360,000
3. ภาษีสรรสามิตร = (450,000+360,000) x 50% / 1-(1.1x50%)
= 900,000
4. ภาษีมหาดไท 10% = 90,000
รวม 1,800,000 บาท
5. VAT 7% = 126,000
ดังนั้นราคารถ = 1,926,000 บาท
สรุป รถเกิน 3000 cc ภาษีทั้งหมด 328% ของราคา CIF
2501 cc - 3000 cc ภาษีทั้งหมด 243.94% ของราคา CIF
2001 cc - 2500 cc ภาษีทั้งหมด 213.171% ของราคา CIF
ไม่เกิน 2000cc ภาษึทั้งหมด 187.47% ของราคา CIF
ส่วนที่นำเข้ามาอีกอย่างคือแบบ Invoice
รถ Invoice ส่วนมากจะนำเข้ามาในรูปแบบ อะไหล่ชิ้นส่วน เสียภาษีศุลกากร ประเภทอะไหล่ แต่ไม่ได้ เสียภาษีสรรพสามิต ในรูปแบบรถทั้งคัน อย่างน้อย ถ้าเสียภาษีสรรพสามิต แล้วว่าเป็นรถ ทั้งคันประกอบเสร็จ ก็อาจ นำใบที่กรมสรรพสามิต ออกยืนยัน ตัวรถ ไปลองจดทะเบียนที่ กรมการขนส่งได้ นะ อาจจะทำทะเบียนได้ในราคาถูกเหมือนรถทั่วไปก็ได้นะลักษณะที่พี่น้องชาว Supercar ใช้กันอยู่ คือ
1) ชิ้นส่วนอะไหล่ --> เสียภาษีศุลกากรขาเข้ารูปแบบอะไหล่ใช้แล้ว -->อะไหล่มาประกอบเป็นรถเต็มคันสามารถวิ่งได้ --> รถเถื่อน
2) ชิ้นส่วนอะไหล่ --> เสียภาษีศุลกากรขาเข้ารูปแบบอะไหล่ใช้แล้ว --> ทำอะไหล่ประกอบเป็นรถเต็มคันสามารถวิ่งได้ -->เสียภาษีสรรพสามิต ประเภทยานยนต์พาหนะ --> รถเต็มคันที่ถูกต้องตาม กม. --> เป็นรถไม่มีทะเบียนยังไม่สามารถใช้วิ่งตามท้องถนนได้
3) ชิ้นส่วนอะไหล่ --> เสียภาษีศุลกากรขาเข้ารูปแบบอะไหล่ใช้แล้ว --> ทำอะไหล่ประกอบเป็นรถเต็มคันสามารถวิ่งได้ -->เสียภาษีสรรพสามิต ประเภทยานยนต์พาหนะ --> รถเต็มคันที่ถูกต้องตาม กม. --> นำไปตรวจสภาพ จดทะเบียนที่ขนส่ง --> เป็นรถถูกต้องตามกม. สามารถนำมาวิ่งได้ตามปกติ.
ตาม หัวข้อที่ 1 เสียแค่ภาษีศุลกากรขาเข้าในรูปแบบชิ้นส่วนอะไหล่ ได้ Invoice แต่นำรถมาประกอบเป็นคันใช้สอย ผิดจุดประสงค์ ถูกจับ เจ้าพนักงานมีสิทธิ์ สังปรับนำรถไม่เสียภาษีป้ายมาวิ่งในทาง ยึดไว้ตรวจสอบว่าเป็นรถจารกรรมมาหรือไม่ เพราะเป็นรถที่ประกอบเองจากชิ้นส่วนอะไหล่ ไม่สามารถชี้ชัดหรือยืนยันแน่ชัดของที่มาในชิ้นส่วนได้ยกเว้นแค่ โครงรถ,และเครื่องยนต์ เท่านั้นที่มีเอกสารทางศุลกากรออกกำกับให้ ทางเจ้าพนักงานมีสิทธิ์ ยึดไว้ตรวจสอบและส่งให้ทางสรรพสามิต เทียบปรับปรับอีกครั้ง.
ตาม หัวข้อที่ 2 ตามหัวข้อที่ 1 เสียแค่ภาษีศุลกากรขาเข้าในรูปแบบชิ้นส่วนอะไหล่ ได้ Invoice นำรถมาประกอบเป็นคัน แล้ว ยืนเรื่อง ให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบประเมินราคาและเสียภาษี เมื่อผ่านมีหนังสือยืนยัน เทียบเท่าได้กับรถที่ประกอบ สมบรูณ์เป็นรถหนึ่งคันสามารถวิ่งได้ แต่ไม่สามารถใช้ในทางหลวงได้ ถ้าถูกจับโดย ตร. จะเทียบได้กับ รถจักรยานยนต์ เล็ก ที่ไม่มีป้าย หรืออยู่ในระหว่างรอป้าย เจ้าพนักงานจะแจ้งข้อหาเทียบปรับ นำรถที่ไม่เสียภาษีป้ายมาวิ่งในทาง ส่วนเรื่องยึดรถไว้เพื่อตรวจสอบจารกรรมนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจขอเจ้าพนักงานเท่านั้น ส่วนจะยึดเพื่อส่งต่อให้ทางสรรพสามิตนั้น คงตกไป เพราะได้ผ่านการตรวจสอบและเสียภาษีแล้ว ถ้าเจ้าของรถมีเอกสารยืนยัน การมีตัวตนของเจ้าของและการเสียภาษีสรรพสามิตที่ถูกต้อง ก็พ้นจากการยึดรถไว้ตรวจสอบ แต่จะต้องถูกปรับ ในข้อหานำรถที่ไม่เสียภาษีป้ายมาใช้ในทาง.
ตามหัว ข้อที่ 3 รถคันนี้ได้เสีย ภาษีศุลกากรขาเข้า,ภาษีสรรพสามิตรูปแบบ ยานยนต์,นำรถไปตรวจสภาพและจดทะเบียนป้าย เมื่อผ่านทางกรมการขนส่งทางบก ออกป้ายมาแล้วให้ถือว่าสิ้นสุด รถคันนั้น ได้เป็นรถที่ถูกต้องตาม กม. ที่ได้รับอนุญาตใช้วิ่งในทางได้** เจ้าพนักงานมีสิทธิ์ จับและเทียบปรับได้ในข้อหา วิ่งขวา,ผ่านไฟแดง,ขับโดยประมาท,ดัดแปลงชิ้นส่วน,อุปกรณ์พื้นฐานไม่ครบ เท่านั้น.
ก่อนอื่นต้องนำรถที่นำเข้ามาจดทะเบียนก่อนนะครับ
เอกสารประกอบคำขอ ดังนี้
1. หลักฐานเกี่ยวกับบุคคลเจ้าของรถ
2. ใบรับรองการนำเข้าจากกรมศุลกากร 3. สำเนาใบขนสินค้าขาเข้าฯ บัญชีแสดงรายการสินค้า (INVOICE) และใบเสร็จรับเงิน ค่าอากรขาเข้า
4. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ
5. หนังสือมอบอำนาจ(กรณีมิได้มาดำเนินการเอง) พร้อมภาพถายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
ที่มา: civicesgroup.com
|