ลืมรหัสผ่าน
 สมัครเข้าเรียน
ค้นหา
ดู: 658|ตอบกลับ: 0

ระบบเกล็ดเลือด (PLATELET)

[คัดลอกลิงก์]

นิสิตสัมพันธ์

กระทู้
82
พลังน้ำใจ
18868
Zenny
274882
ออนไลน์
822 ชั่วโมง

สมาชิกจีโฟกาย 100%สมาชิกระดับแพลตตินั่มสมาชิกระดับทับทิมสมาชิกระดับไพลิน

ระบบเกล็ดเลือด (PLATELET)

เกล็ดเลือดที่อยู่ในระบบไหลเวียนเลือดของร่างกาย มีรูปร่างกลม ขนาด 1.5-3 นาโนเมตร เป็นเซลล์ที่ไม่มีนิวเคลียส สร้างมาจากซัยโตพลาสซึมของเซลล์เมกะคาริโอซัยท์ มีอายุประมาณ 9-10 วัน ในระบบไหลเวียนเลือด ในคนปกติจะมีประมาณ 150-400 พันล้านตัวต่อเลือด 1 ลิตร ประมาณหนึ่งในสามของเกล็ดเลือดจะอยู่ในม้าม ในภาวะปกติเกล็ดเลือดจะลอยอยู่ในกระแสเลือด ไม่เกาะกันเอง หรือกับเซลล์เม็ดเลือดอื่นๆ และไม่เกาะติดกับผนังของหลอดเลือด โครงสร้างของเกล็ดเลือดจะแบ่งออกเป็นสามส่วน ได้แก่ ส่วนนอก ส่วนสารเจล และส่วนอวัยวะชิ้นย่อย

ส่วนนอกประกอบด้วยเยื่อหุ้มเกล็ดเลือด ประกอบด้วยเยื่อบุชั้นนอกที่มีกลัยโคโปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ และประกอบเป็นโปรตีนตัวรับเกล็ดเลือดชนิดต่างๆ โปรตีนเหล่านี้ทำให้เกล็ดเลือดมีประจุลบ ซึ่งเป็นแรงผลัก ทำให้เกล็ดเลือดไม่เกาะกันเอง และไม่เกาะกับเยื่อบุหลอดเลือดที่ไม่ฉีกขาด ส่วนเยื่อบุที่อยู่ใต้ชั้นนอกประกอบไปด้วยสารไขมันฟอสโฟไลปิด มีความสำคัญโดยเป็นพื้นผิวสำหรับปฏิกิริยาของขบวนการแข็งเป็นลิ่มของเลือด สำหรับส่วนสารเจลเป็นส่วนของซัยโตพลาสซึมของเกล็ดเลือด ประกอบไปด้วยเส้นใยต่างๆ และทำให้เกล็ดเลือดคงรูปร่างอยู่ได้ ที่สำคัญได้แก่ ไมโครทูบุลและไมโครฟิลาเมนท์ รวมทั้งระบบท่อเล็กที่มีสาร ADP และแคลเซียมประกอบอยู่ โปรตีนที่ทำหน้าที่ในการยืดหดตัวคือ thrombosthenin มีลักษณะคล้ายกับโปรตีน actomyosin ส่วนสารเจลประกอบด้วยโปรตีนร้อยละ 30-50 ของโปรตีนในเกล็ดเลือดทั้งหมด ทำหน้าที่สำคัญในการเกิดรูปร่างเฉพาะ ส่วนขาเทียม และกระบวนการหลั่งสารของเกล็ดเลือด

ส่วนอวัยวะชิ้นย่อยประกอบไปด้วยแกรนูลชนิด dense granules ไมโตคอนเดรีย ลัยโซโซม เพอรอกซิโซม และออร์แกนเนลอื่นๆ ทั้งยังเป็นแหล่งเก็บสารและเอนไซม์ต่างๆ รวมทั้งเป็นแหล่งที่มีเมตะบอลิสมของสารต่างๆ แกรนูลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 300-500 นาโนเมตร ประกอบไปด้วยโปรตีนและกลัยโคโปรตีนหลายชนิด เกล็ดเลือดมีหน้าที่ช่วยในการห้ามเลือด โดยเสริมความแข็งแรงของหลอดเลือด ทำให้เม็ดเลือดไม่สามารถลอดแทรกผนังหลอดเลือดออกมาภายนอกหลอดเลือดได้ และเมื่อหลอดเลือดได้รับอันตราย เกล็ดเลือดจะรวมตัวกันสร้างชิ้นส่วนมาอุดตรงบริเวณหลอดเลือดที่มีการฉีกขาด ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในสองอันแรกของร่างกายที่จะทำให้เลือดหยุดไหล


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.bangkokhealth.com/index.php/Hematology/3689-coagulation-system.html







ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครเข้าเรียน

รายละเอียดเครดิต

A Touch of Friendship: สังคมจะน่าอยู่ เมื่อมีผู้ให้แบ่งปัน ฝากไวเป็นข้อคิดด้วยนะคะชาวจีโฟกายทุกท่าน
!!!!!โปรดหยุด!!!!! : พฤติกรรมการโพสมั่วๆ / โพสแต่อีโมโดยไม่มีข้อความประกอบการโพส / โพสลากอักษรยาว เช่น ครับบบบบบบบบ, ชอบบบบบบบบ, thxxxxxxxx, และอื่นๆที่ดูแล้วน่ารำคาญสายตา เพราะถ้าท่านไม่หยุดทีมงานจะหยุดท่านเอง
ขอความร่วมมือสมาชิกทุกท่านโปรดโพสตอบอย่างอื่นนอกเหนือจากคำว่า ขอบคุณ, thanks, thank you, หรืออื่นๆที่สื่อความหมายว่าขอบคุณเพียงอย่างเดียวด้วยนะคะ เพื่อสื่อถึงความจริงใจในการโพสตอบกระทู้ และไม่ดูเป็นโพสขยะ
กระทู้ไหนที่ไม่ใช่กระทู้ในลักษณะที่ต้องโพสตอบโดยใช้คำว่าขอบคุณ เช่นกระทู้โพล, กระทู้ถามความเห็น, หรืออื่นๆที่ทีมงานอ่านแล้วเข้าข่ายว่า โพสขอบคุณไร้สาระ ทีมงานขอดำเนินการตัดคะแนน และ/หรือให้ใบเตือนสมาชิกที่โพสขอบคุณทันทีที่เจอนะคะ

รูปแบบข้อความล้วน|โทรศัพท์มือถือ|ติดต่อลงโฆษณา|จีโฟกายดอทคอม

ข้อความที่ท่านได้อ่านในเว็บจีโฟกายดอทคอมนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ หากท่านพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย และศิลธรรม ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ ท่านสามารถแจ้งลบข้อความได้ที่ Link “แจ้งลบโพสนี้” ที่มีอยู่ใต้ข้อความทุกข้อความ หรือ ลืมพาสเวิดล๊อกอิน/ลืมชื่อที่ใช้สมัคร หรือข้อสงสัยใดๆแจ้งมาที่ G4GuysTeam[at]yahoo.com ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือ

กรณีที่ข้อความ/รูปภาพในกระทู้นี้จัดสร้างโดยผู้ลงข้อมูลเอง ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้ลงข้อมูลโดยตรง หากจะทำการคัดลอก/เผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ลงข้อมูลก่อนนะคะ หรือลงที่มาไว้ด้วยค่ะ

©ขอสงวนสิทธิ์คอนเซ็ปต์,คำอธิบาย,หัวข้อ/หมวดหมู่เว็บ ห้ามลอกเลียนแบบ คิดเอาเองนะคะอย่าเอาแต่ลอก

GMT+7, 2024-11-21 18:52 , Processed in 0.095133 second(s), 26 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้