มะเร็งต่อมลูกหมาก Prostate cancer
มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบในผู้ชาย มะเร็งต่อมลูกหมากพบได้ในวัยสูงอายุผู้ป่วยมักจะมีอาการปัสสาวะไม่ออก
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่มีใครทราบแต่เท่าที่วิจัยได้พบว่าความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้แก่ - 1. อายุ มะเร็งต่อมลูกหมากพบในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50ปีขึ้นไป อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 70 ปี
- 2. ประวัติครอบครัว พบว่าชายที่มีพ่อ หรือพี่น้องเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าคน ทั่วไป
- 3. เชื้อชาติ พบไม่บ่อยในชาวเอเชียแต่พบบ่อยในอเมริกา
- 4. อาหาร พบว่าผู้ที่บริโภคมันจากสัตว์มากมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนผู้ที่บริโภคผักและผลไม้จะลดโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากผู้ที่สูบบุหรี่ ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
ยังไม่พบหลักฐานว่าการทำหมันชายทำให้มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมากขึ้นขณะนี้กำลังศึกษาว่า ต่อมลูกหมากโต คนอ้วน การขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่การเจอรังสี การติดเชื้อไวรัสบางชนิดเป็นสาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ เท่าที่มีหลักฐานยังไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากควรตรวจอะไรบ้าง สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรจะปรึกษาแพทย์ว่าเมื่อไรจึงจะตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก แม้ว่าจะไม่มีอาการ จะตรวจอะไรบ้างและตรวจถี่แค่ไหน แพทย์จะแนะนำให้ตรวจดังที่จะแสดงข้าง ล่างแต่การตรวจดังกล่าวเป็นการตรวจว่ามีความผิดปกติที่ต่อมลูกหมากหรือไม่มิใช่ บ่งว่าเป็นมะเร็ง - 1. การตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนักโดยการที่แพทย์ใส่ถุงมือ ใช้ Vaseline หล่อลื่นนิ้วมือ แล้วตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนักเพื่อดูว่ามีก้อน หรือขนาดโตขึ้น
- 2. การ ตรวจหาสาร PSA ซึ่งเป็นสารโปรตีนที่ผลิตโดยต่อมลูกหมาก ค่าจะสูงในโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ค่าปกติจะน้อยกว่า 4 nanogram ค่าอยู่ระหว่าง 4-10 nanogram ค่านี้อยู่ระดับปานกลางถ้าค่ามากกว่า 10 ถือว่าสูงค่ายิ่งสูงโอกาสเป็นมะเร็งก็จะสูง นอกจากนี้ยังพบว่าค่า PSA สูงพบได้ในโรค ต่อมลูกหมากโต การอักเสบของต่อมลูกหมาก ค่ามักจะอยู่ระหว่าง 4-10 nanogram
หากการตรวจดังกล่าวพบว่าผิดปกติก็จะต้องตรวจเพิ่มเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมลูกหมากแรกเริ่มจะไม่มีอาการแต่หากมีอาการจะเกิดอาการเหล่านี้ - 1. ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน
- 2. เวลาเริ่มปัสสาวะจะลำบาก
- 3. ปัสสาวะไม่พุ่ง
- 4. เวลาปัสสาวะจะปวด
- 5. อวัยวะเพศแข็งตัวยาก
- 6. เวลาหลั่งเมื่อถึงจุดสุดยอดจะปวด
- 7. มีเลือดในน้ำเชื้อหรือปัสสาวะ
- 8. ปวดหลังปวดข้อ
อาการต่างๆเหล่านี้อาจจะเกิดในผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโตหรือ ต่อมลูกหมากอักเสบ การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
เมื่อผู้ป่วยที่การตรวจเบื้องต้น สงสัยว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมากแพทย์ทั่วไปจะปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อการวินิจฉัยต่อไปโดยทั่วไปนิยมตรวจ - 1. Transrectal ultrasonography การทำ ultrasound ต่อมลูกหมากทางทวารหนัก
- 2. Intravenous pyelography คือการฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำเพื่อให้สีขับออกทางไต ไปกระเพาะปัสสาวะ
- 3. Cyst scope แพทย์จะส่องกล้องเข้าทางท่อปัสสาวะ
เมื่อสงสัยเป็นมะเร็งแพทย์จะใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อ ต่อมลูกหมากไปตรวจทางพยาธิถ้าเป็นต่อมลูกหมากโตก็จะรักษา ตามขั้นตอน ระยะของโรค การวางแผนการรักษาจะต้องรู้ว่ามะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายหรือยังหรือยังอยู่เฉพาะที่ต่อมลูกหมาก โดยจะต้องมีการตรวจเพิ่มเช่นการตัดชิ้นเนื้อจากทวารหนัก การx-ray พิเศษ ที่นิยมแบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่ 1-4 หรือ A-D - 1. Stage 1 หรือ A ระยะนี้ผู้ป่วยไม่มีอาการไม่สามารถตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากทาง ทวารทราบว่าเป็นโดยการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตระยะนี้มะเร็งอยู่เฉพาะในต่อมลูก หมาก
- 2. Stage 2หรือ B สามารถตรวจได้จาการตรวจต่อมลูกหมากโดยการใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก เนื่องจากค่า PSA สูงมะเร็งยังอยู่ในต่อมลูกหมากไม่แพร่กระจาย
- 3. Stage 3หรือC มะเร็งแพร่กระจายไปเนื้อเยื่ออยู่ใกล้ต่อมลูกหมาก
- 4. Stage 4 หรือDมะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่น
- 5. Recurrent หมายถึงภาวะที่มะเร็งกลับเป็นใหม่หลังจากรักษาไปแล้ว
การรักษา แพทย์จะเลือกวิธีรักษาโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆดังนี้ - 1. ระยะของโรคว่าแพร่กระจายหรือยัง
- 2. ชนิดของมะเร็ง
- 3. ประโยชน์ที่ได้จากการรักษา
- 4. ผลข้างเคียงของการรักษาและการป้องกัน
- 5. การรักษานี้มีผลต่อความรู้สึกทางเพศหรือไม่ มีผลต่อการปัสสาวะหรือไม่ หลังรักษามีปัญหาถ่ายเหลวหรือไม่
- 6. คุณภาพชีวิตหลังรักษา
วิธีการรักษา - 1. การเฝ้ารอดูอาการ เหมาะสำหรับมะเร็งที่เริ่มเป็นและผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคประจำตัวที่เสี่ยง ต่อภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
- 2. การผ่าตัด Prostatectomy เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้นซึ่งมีวิธีการทำผ่าตัด ได้ 3 วิธี
- 2.1 radical retro pubic prostatectomy แพทย์จะผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องโดยตัดเอาต่อมลูกหมากและต่อมน้ำเหลือง
- 2.2 radical perinea prostatectomy แพทย์ผ่าตัดผ่านทางผิวหนังบริเวณอัณฑะและทวารหนักโดยตัดต่อมลูกหมาก ส่วน ต่อมน้ำเหลืองต้องตัดออกโดยผ่านทางหน้าท้อง
- 2.3 transurethral resection of the prostate (TURP)เป็นการตักต่อมลูกหมากโดยการส่องกล้องผ่านอวัยวะเพศเป็นการตัดชิ้น เนื้อเพื่อให้ปัสสาวะไหลคล่อง
ถ้าผลชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองมีเชื้อมะเร็งแสดงว่ามะเร็งนั้นแพร่กระจายแล้ว - 3. Radiation therapy การให้รังสีรักษาเป็นการให้ในกรณีที่มะเร็งนั้นก้อนขนาดเล็กหรือให้หลังจาก ผ่าตัดต่อมลูกหมากไปแล้วการให้รังสีรักษา อาจจะให้โดยการฉายแสงจากภายนอกหรือการฝังวัตถุอาบรังสีไว้ใกล้เนื้องอก implant radiationหรือ Brach therapy
- 4. Hormonal therapy เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากต้องใช้ฮอร์โมนในการเจริญเติบโตการให้ฮอร์โมนจะ ใช้ในกรณีที่มะเร็งได้แพร่กระจายแล้ว หรือเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำหลังการรักษาซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้
- 4.1 การตัดลูกอัณฑะซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศชาย
- 4.2 การใช้ยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน testosterone เช่น leuprolide, grosgrain, และ buserelin.
- 4.3 ยาที่ป้องกันการออกฤทธิ์ของ androgen เช่น flu amide และ bicalutamide.
- 4.4 ยาที่ป้องกันต่อมหมวกไตไม่ให้สร้างฮอร์โมน Androgen เช่น ketoconazole and aminoglutethimide.
- 5. Chemotherapy การให้เคมีบำบัดเป็นการฆ่าเซลล์มะเร็งโดยการให้สารเคมีซึ่งการรักษายังไม่ดี พบใช้ในกรณีที่โรคแพร่กระจายแล้ว
- 6. ใช้สารที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิ หรือภูมิที่สร้างจากภายนอกเพื่อให้ภูมิ ต่อสู่กับเชื้อโรค
- 7. cry therapy เป็นการรักษาใหม่โดยใช้เข็มสอดเข้าในต่อมลูกหมากแล้วฉีดสาร liquid nitrogen เพื่อแช่แข็งมะเร็งต่อมลูกหมาก ใช้ในกรณีที่ไม่เหมาะในการผ่าตัดผลการรักษายังไม่ยืนยันว่าได้ผลดี
ผลข้างเคียงของการรักษา - 1. การเฝ้ารอสังเกตอาการผลเสียคือ ทำให้เสียโอกาสในการรักษามะเร็งในระยะเริ่ม แรก
- 2. การผ่าตัด จะทำให้เจ็บปวดในระยะแรก และผู้ป่วยต้องคาสายสวนปัสสาวะ10วัน-3 สัปดาห์ การผ่าตัดอาจจะทำให้กลั้นปัสสาวะและอุจาระไม่ได้ และอาจจะเกิดกามตายด้าน นอกจากนี้จะไม่มีน้ำเชื้อเมื่อถึงจุดสุดยอด
- 3. การฉายรังสีจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย การผักผ่อนเป็นเรื่องที่สำคัญแต่ ก็ควรออกกำลังเท่าที่จะทำได้ การฉายรังสีอาจจะทำให้ผมร่วง และอาจจะทำให้เกิดกามตายด้าน
- 4. การให้ฮอร์โมนจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหมือนชายวัยทองคือ มีอาการกามตายด้าน ร้อนตามตัว
การป้องกัน - 1. อาหารป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก
- 2. มีการศึกษาว่า วิตามินอี selenium และน้ำมะเขือเทศสามารถลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้
- 3. การลดอาหารไขมันและเพิ่มถั่ว ผัก ผลไม้สามารถป้องกันมะเร็งได้
|