แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ภูตะวัน เมื่อ 2011-3-21 02:51
มะเร็งช่องปาก ช่องปาก ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้ คือ ริมฝีปากกระพุ้งแก้ม เหงือก ลิ้น และเนื้อเยื่อโดยรอบๆ ลิ้นทั้งด้านข้างสองข้างและด้านหน้าใต้ลิ้น มะเร็งของอวัยวะต่างๆ เหล่านี้ จะมีสาเหตุอาการ อาการแสดงการดำเนินโรค วิธีวินิจฉัย ระยะโรค การรักษาความรุนแรงของโรคเหมือนกัน มะเร็งช่องปากเป็นมะเร็งที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยกลางคนขึ้นไปอายุเฉลี่ยจะประมาณ 60ปี แต่ก็พบในคนอายุ 40 ปี หรืออายุต่ำกว่าได้ประปราย สาเหตุของมะเร็งช่องปาก 1.สูบบุหรี่จัด สูบกล้อง 2.บริโภคเมี่ยง หมาก ยาฉุน ยาเส้นเป็นประจำ 3.ดื่มสุราจัด 4.อาจมีความสัมพันธ์กับการ ติดเชื้อไวรัสชนิด เฮทพีวี (HPV) 5.มีความสัมพันธ์กับการ อักเสบเรื้อรังชนิดไม่ติดเชื้อของเยื่อบุช่องปาก ซึ่งจะทำให้เยื่อบุช่องปากมีลักษณะเป็นฝ้าขาวหรือเป็นปื้นสีแดง อาการและอาการแสดง อาการที่พบได้บ่อยคือเกิดเป็นก้อนเนื้อขึ้นตามตำแหน่งต่างๆ ของอวัยวะส่วนนั้น อาจลุกลามเป็นแผลหรือไม่ก็ได้แผลอาจมีลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ หรืออาจเป็นแผลลึกเรื้อรัง แผลจะโตขึ้นเรื่อยๆไม่หายด้วยการใส่ยาต่างๆ หรือการรักษาวิธีทั่วๆไป อาจมีเลือดออกได้ง่ายและถ้ามีการติดเชื้อด้วยก็จะมีกลิ่นเหม็น นอกจากนั้นถ้าเป็นโรคในระยะลุกลามจะคลำต่อมน้ำเหลืองที่คอได้ร่วมด้วย เป็นต่อมน้ำเหลืองที่โตโดยไม่เจ็บและมักอยู่ด้านเดียวกันกับก้อนเนื้อ การตรวจและระยะของโรคเมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์แพทย์จะให้การตรวจดังนี้ 1.ซักประวัติและตรวจร่าง กาย โดยเฉพาะของช่องปาก 2.ตัดชิ้นเนื้อเพื่อไป พิสูจน์ทางพยาธิวิทยา เมื่อวินิจฉัยได้แล้วว่าเป็นมะเร็งแพทย์จะตรวจเพิ่มเติมดังนี้ - ตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการดูการทำงานของไขกระดูก ตับ ไตและเบาหวาน
- ตรวจปัสสาวะเพื่อดูโรคร่วมอื่นๆของโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ
3.เอกซเรย์ปอดเพื่อดูการ แพร่กระจายของโรคที่ปอด 4.อาจมีการตรวจเพิ่มเติม ตามข้อบ่งชี้ เช่น การตรวจอัลตราซาวด์ตับเพื่อดูการกระจายของโรคตับ หรือการตรวจเพิ่มเติมทางเอ๊กซเรคอมพิวเตอร์การตรวจเพิ่มเติมเหล่านี้ แพทย์จะทำตามข้อบ่งชี้ ไม่เหมือนกันในผู้ป่วยแต่ละราย ระยะโรคมะเร็งช่องปากแบ่งเป็น 4 ระยะคือ ระยะ ที่ 1 มะเร็งมี ขนาดก้อนเล็ก ยังไม่ลุกลาม ระยะ ที่ 2 มะเร็ง ลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง ระยะที่ 3ก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้นและลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง มากขึ้นและมีการลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองที่คอ ระยะ ที่ 4 มะเร็ง ลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียงมากขึ้น ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองมากขึ้นปากอ้าไม่ได้ ต่อมน้ำเหลืองที่คอมีขนาด โตมาก หรืออาจมีโรคแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ หรือกระดูก เป็นต้น ความรุนแรงของโรคความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยที่สำคัญได้แก่ 1.ระยะของโรค ระยะสูงขึ้นความรุนแรงของโรคก็สูงขึ้น 2.สุขภาพทั่วๆ ไป ถ้าแข็งแรงการรักษาจะได้ผลดีกว่า 3.โรคร่วมต่างๆ เช่น เบาหวาน โรคไต เป็นต้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรค์ ต่อการรักษา 4.อายุ ในผู้ป่วยสูงอายุมักทนการรักษาต่างๆ ได้ไม่ค่อยดี วิธีการรักษา มะเร็งช่องปากมีวิธีการรักษา หลัก3 วิธีคือ การผ่าตัด รังสีรักษา และเคมีบำบัด - การผ่าตัดมักใช้รักษาโรคระยะที่ 1ระยะที่ 2 หรือเริ่มๆ ระยะที่3 ที่ต่อมน้ำเหลืองยังมีขนาดเล็ก หลังการผ่าตัดแพทย์จะตรวจเนื้อที่ผ่าตัดออกไปทางพยาธิ ถ้ามีข้อบ่งชี้ก็จะให้การรักษาต่อเนื่องด้วยรังสีรักษาและอาจร่วมกับเคมี บำบัดด้วย
- รังสีรักษาอาจเป็นวิธีการรักษาโดยใช้รังสี อย่างเดียว หรือรังสีร่วมกับการผ่าตัดหรือรังสีร่วมเคมีบำบัด หรือรังสี ผ่าตัดและเคมีบำบัด ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้เป็นรายๆ แตกต่างกันไป ถ้ามีการฉายรังสีมักใช้ระยะเวลาประมาณ 6-7 สัปดาห์ ฉายรังสีวันละ1 ครั้ง ติดต่อกัน5 วันตามวันทำการ อาจมีการรักษาทางรังสีโดยการใส่แร่ ซึ่งจะมีข้อบ่งชี้เฉพาะเจาะจงรักษาได้เฉพาะผู้ป่วยบางรายเท่านั้นซึ่งแพทย์จะประเมินจากข้อบ่งชี้เช่นกัน
- เคมีบำบัดเป็นการรักษาที่มักใช้ร่วมกับการผ่าตัดและรังสี แต่ในผู้ป่วยบางรายที่ผ่าตัดและทำรังสีรักษาไม่ได้ ก็อาจใช้เคมีบำบัดเพียงวิธีการอย่างเดียวซึ่งมักเป็นกรณีการรักษาเพื่อประคับประคองและเช่นเดียวกับวิธีการรักษาอื่นๆ การใช้เคมีบำบัดก็ต้องมีข้อบ่งชี้แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละรายไม่เหมือนกัน
การตรวจรักษาเพื่อติดตามผลการรักษา ภายหลังรักษาครบแล้ว แพทย์จะยังนัดตรวจรักษาผู้ป่วยต่อเนื่องเป็นระยะๆไป โดยในปีแรกหลังครบการรักษาแพทย์มักจะนัดทุก 1-2 เดือน ในปีที่ 2-3 อาจนัดทุก 2-3 เดือน ปีที่ 3-ปีที่5 อาจนัดทุก 3-6 เดือน และภายหลัง 5ปีไปแล้ว มักนัดทุก 6-12 เดือนในการมาพบแพทย์ทุกครั้งแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกายและอาจมีการตรวจอื่นๆ ตามข้อบ่งชี้แตกต่างในผู้ป่วยแต่ละรายไม่เหมือนกันผู้ป่วยควรพบแพทย์พร้อมญาติสายตรงหรือผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อร่วมกันพูดคุยปรึกษากับแพทย์เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม |