เตือนภัย!โรคที่มากับน้ำท่วม ป้องกันตนเองก่อนเจ็บป่วย
ช่วงนี้หลายจังหวัดของประเทศไทยจมอยู่ใต้บาดาลเนื่องจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องกันมาหลายวัน ไม่เพียงแต่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยจะต้องทนทุกข์จากการต้องหาที่อยู่ที่กินในช่วงน้ำท่วมเท่านั้น หากแต่ยังต้องดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคที่มาจากน้ำท่วมด้วย
file:///C:/DOCUME%7E1/CHATNE%7E1/LOCALS%7E1/Temp/msohtml1/01/clip_image001.jpg โรคที่มักจะพบได้ เมื่อเกิดภาวะน้ำท่วม คือ โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อราเป็นโรคที่ มาจากการย่ำอยู่ในน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรค หรือความอับชื้นจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาดไม่แห้งเป็นเวลานานซึ่งอาการในระยะแรกนั้นจะเริ่มต้นที่อาการคันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังจะลอกออกเป็นขลุ่ยมีผื่น ระยะหลังๆ ผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง เท้าเปื่อย และเป็นหนองที่สำคัญอาจเกิดโรคผิวหนังอักเสบแทรกซ้อนได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องหลีกเลี่ยงการย่ำอยู่ในน้ำ แต่ในภาวะที่น้ำท่วมขังถ้าจำเป็นต้องแช่อยู่ในน้ำแล้วละก็ควรใส่รองเท้าบูทกันน้ำ และควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ พยายามเช็ดเท้าให้แห้งสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดไม่เปียกชื้น หากมีบาดแผลควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดแผลแล้วทาด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์ หรือเบตาดีน
โรคปอดบวม
ถือเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงที่สามารถคร่าชีวิตผู้ป่วยได้ภายใน24 ชั่วโมง โรคนี้สามารถเกิดจากเชื้อได้หลายชนิดเช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด ทำให้ปอดอักเสบผู้ประสบภัยน้ำท่วม หากมีการสำลักน้ำ หรือสิ่งสกปรกต่างๆ เข้าไปในปอด ก็มีโอกาสเป็นโรคปอดบวมได้การติดต่อเพียงแค่หายใจเอาเชื้อโรคในอากาศเข้าไป หรือจากการคลุกคลีกับผู้ป่วยเมื่อไอ จามหรือหายใจรดกันหรือในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ อ่อนแอ พิการ มักพบเกิดจากการสำลักเอาเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ปกติในจมูกและลำคอเข้าไปในปอด
อาการทั่วไปนั้น จะมีไข้สูงไอมาก หายใจหอบและเร็ว ถ้าเป็นมากจะหายใจหอบเหนื่อยจนเห็นชายโครงบุ๋มเล็บมือเล็บเท้า ริมฝีปากซีด หรือเขียวคล้ำ กระสับกระส่าย หรือซึม เมื่อมีอาการสงสัยว่าเป็นโรคปอดบวมต้องรีบไปพบแพทย์ทันทีผู้ป่วยควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอ จาม หรือใส่หน้ากากอนามัย หากมีไข้ ให้กินยาลดไข้และใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตัวเพื่อลดไข้กินอาหารที่อ่อนย่อยง่าย กินผักและผลไม้ ดื่มน้ำอุ่นมากๆใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่เปียกชื้น และรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
โรค ฉี่หนูหรือ “เลปโตสไปโรสิส”
โรคที่ติดต่อได้จากสัตว์สู่คนมีหนูเป็นตัวแพร่โรค โดยเชื้อจะออกมากับปัสสาวะสัตว์แล้วปนเปื้อนอยู่ในน้ำท่วมขัง พื้นดินที่ชื้นแฉะหากผู้ที่มีบาดแผล มีรอยขีดข่วน รอยถลอก ย่ำไปโดนก็สามารถติดเชื้อได้ แต่ที่น่ากลัวไปกว่านั้นเชื้อที่ว่านี้สามารถไชเข้าเยื่อบุตาจมูก ปาก หรือผิวหนังที่แช่น้ำนานได้อย่างไม่น่าเชื่อ
การรับประทาน อาหารที่มีหนูมาฉี่รดก็สามารถทำให้ติดโรคนี้ได้เช่นกันเมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วประมาณ 4-10วัน จะมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ และปวดกล้ามเนื้อมากโดยเฉพาะน่องและโคนขา หรือปวดหลัง บางคนมีอาการตาแดง อาจมีอาการเจ็บคอเบื่ออาหาร หรือท้องเดิน
หากมีอาการดังกล่าวหลังจากที่สัมผัสสัตว์ หรือลุยน้ำ ย่ำโคลน ต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือหน่วยแพทย์ในพื้นที่ทันที ถ้าไม่รีบรักษา บางรายอาจมีจุดเลือดออกตาม ผิวหนัง ไอมีเลือดปน หรือ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม สับสนเนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเสียชีวิตได้
ดังนั้น ควรสวมรองเท้าบูทยางกันน้ำ หากต้องลุยน้ำ ย่ำโคลน โดยเฉพาะถ้ามีบาดแผลหลีกเลี่ยงการแช่น้ำย่ำโคลนนานๆ เมื่อขึ้นจากน้ำแล้วต้องรีบอาบชำระร่างกายให้สะอาดโดยเร็วที่สุด รับประทานอาหารที่ปรุงสุกทันทีและเก็บอาหารในภาชนะที่มิดชิดดูแลที่พักให้สะอาด ไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนูเก็บกวาดทิ้งขยะให้มิดชิดไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู....
อหิวาตกโรค
เกิดจากแบคทีเรียติดต่อโดยอยู่ในอุจจาระหรืออาเจียนของผู้ป่วย แพร่กระจายอยู่ในอาหารและน้ำดื่มโดยมีแมลงวันเป็นพาหะนำโรค อาการทั่วไปจะปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำวันละหลายครั้งอาการคล้ายท้องร่วง จะหายเป็นปกติภายใน 1-2วัน ถ้าอาการรุนแรง จะปวดท้องรุนแรง ถ่ายอุจจาระเหลวคล้ายน้ำซาวข้าวมีกลิ่นคาว อาเจียน การถ่ายบ่อยทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเบาลง และเสียชีวิตได้
การป้องกันควรจัดให้มีส้วมใช้ตามหลักสุขาภิบาล ดื่มและใช้น้ำที่สะอาด ล้างมือทุกครั้งก่อนทานอาหารและหลังจากเข้าส้วมทานอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ ห้ามรับประทานอาหารที่มีแมลงวันตอม หลีกเลี่ยงการกินอาหารสดระหว่างที่มีโรคระบาดเก็บภาชนะที่ใส่อาหารให้มิดชิด ไม่ให้แมลงวันไปตอมได้ ทำลายขยะมูลฝอย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคและไม่ให้แมลงวันใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์
โรคตาแดง
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสมักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัว โดยมากมักมีอาการราว 2 สัปดาห์ก็จะหาย อาการที่สำคัญคือคันตาเป็นอาการที่สำคัญของผู้ป่วยตาแดงที่เกิดจากภูมิแพ้ อาการคันอาจจะเป็นมากหรือน้อยนอกจากนั้นอาจจะมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เช่น หอบหืด ผื่นแพ้ ขี้ตาลักษณะของขี้ตาก็ช่วยบอกสาเหตุของโรคตาแดง ขี้ตาใสเหมือนน้ำตา มักจะเกิดจากไวรัสหรือ โรคภูมิแพ้ ขี้ตาเป็นเมือกขาว มักจะเกิดจากภูมิแพ้หรือตาแห้ง ขี้ตาเป็นหนองมักจะร่วมกับมีสะเก็ดปิดตาตอนเช้าทำให้เปิดตาลำบากสาเหตุมักจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
file:///C:/DOCUME%7E1/CHATNE%7E1/LOCALS%7E1/Temp/msohtml1/01/clip_image002.jpg
สำหรับการดูแล เรื่อง “น้ำดื่ม” เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพ จึงต้องทำน้ำให้สะอาดก่อนดื่มวิธีที่สามารถทำได้ง่ายก็คือ การต้มให้เดือดเพื่อทำลายเชื้อโรคในน้ำนั่นเอง ส่วนในกรณีใช้น้ำดื่มบรรจุขวดจะต้องดูตราเครื่องหมาย อย. ก่อนดื่มทุกครั้ง หากเป็นน้ำดื่มในภาชนะควรบรรจุปิดสนิทน้ำต้องใส สะอาด ไม่มีตะกอน และไม่มีสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อน หลังดื่มน้ำหมด แล้วควรทำลายขวด/ภาชนะบรรจุโดยทุบหรือบีบให้เล็กลงก่อนนำไปทิ้งถุงดำ เพื่อสะดวกต่อการนำไปกำจัด ส่วนน้ำใช้ต้องสะอาด หากไม่แน่ใจให้ใช้คลอรีนทำลายเชื้อโรคในน้ำก่อนโดยใช้คลอรีน 100 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทิ้งไว้ 10นาที ก็จะสามารถนำน้ำไปใช้ได้อย่างสบายใจ เรื่อง “การขับถ่าย” ในภาวะน้ำท่วมหากไม่สามารถถ่ายในส้วมได้ห้ามถ่ายลงในน้ำโดยตรงเด็ดขาด... ให้ถ่ายใส่ถุงพลาสติกแล้วใส่ปูนขาวพอสมควร ปิดปากถุงให้แน่นใส่ลงถุงขยะอีกครั้ง แล้วนำไปทิ้งบริเวณที่จัดไว้หรือรวบรวมไว้เพื่อรอการนำไปจัดการอย่างถูกวิธี การระวังสัตว์มี พิษอย่าง งู แมงป่อง ตะขาบที่หนีน้ำท่วมขึ้นมาอยู่บนบ้านเรือน ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูททุกครั้ง นอกจากจะช่วยป้องกันสัตว์มีพิษเหล่านี้แล้ว ยังช่วยป้องกันการเหยียบวัสดุอันตรายเช่น เศษแก้ว เศษกระเบื้อง ตะปู ที่อยู่ใต้น้ำจนได้รับบาดเจ็บที่สำคัญควรถือไม้นำทางตลอดเวลา เพราะอาจพลัดตกหลุมบ่อที่น้ำท่วมจนมองไม่เห็นได้ หลัง เกิดน้ำท่วม เมื่อระดับน้ำลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติแล้วให้เก็บกวาด ทำความสะอาด อีกทั้งจัดเก็บซากสัตว์ที่ตายแล้วด้วยการฝังเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ที่สำคัญ คือ “น้ำใจ” ที่พี่น้องคนไทยควรช่วยเหลือกันในเวลาที่คนในชาติต้องประสบกับภัยธรรมชาติเช่นนี้ เราเชื่อว่า “น้ำใจ” ช่วยแก้ไข“น้ำท่วม” ได้แน่นอน หน่วยงานให้ความช่วยเหลือน้ำท่วม | | ลายละเอียด | เบอร์โทรศัพท์ | | www.tmd.go.th
สายด่วนกรมอุตุ นิยมวิทยา
สถานีวิทยุกระจาย เสียงกรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพมหานคร (AM 1287 KHz)
สถานีวิทยุกระจาย เสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.นครราชสีมา (FM 94.25 MHz)
สถานีวิทยุกระจาย เสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.พิษณุโลก (FM 104.25 MHz)
สถานีวิทยุกระจาย เสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ระยอง (FM 105.25 MHz)
สถานีวิทยุกระจาย เสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ภูเก็ต (FM 107.25 MHz)
สถานีวิทยุกระจาย เสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ชุมพร (FM 94.25 MHz)
|
โทร. 1182
โทร. 02-383-9003-4, 02-399-4394
โทร. 044-255-252
โทร. 055-284-328-9
โทร. 038-655-075, 038-655-477
โทร. 076-216-549
โทร. 077-511-421
| กรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย | เว็บไซต์ www.disaster.go.th
| โทร 02-637-3000 |
|